ก่อนที่จะเข้าไปสู่เรื่องรักเดียวใจเดียว หรือหลายรักหลายใจ อยากจะชวนมาดูคำว่า รัก ที่อยู่ในคำเหล่านี้ก่อน เพื่อเป็นการพาไปสู่ประเด็นอื่น ๆ โดยไม่มีความรู้สึกว่า แต่ความรักมันเร้าอารมณ์ สวยงาม ตั้งคำถามได้ยาก มาเป็นอุปสรรค นอกจากความรู้สึกรัก (ที่ใช้ชีววิทยาอธิบายได้บางในบางขั้นตอน)แล้ว ภาพจำเกี่ยวกับรัก เกินร้อยละ 70 ถูกป้อนเข้าสมองเราโดยภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้
ความรักที่อยู่กับเราทุกวันนี้เป็น แนวคิด (concept) ที่สร้างขึ้นมาใหม่ อาจจะฟังดูไม่เข้าหู แต่ที่จริงนอกจากตัว ‘ความรู้สึกรัก’ แล้ว ก็ไม่ค่อยมีอะไรเกี่ยวกับการรัก หรือ วิธีรักแบบโรแมนติก ที่เรารู้เองโดยไม่ได้เรียนรู้จากสังคมเท่าไหร่
เพื่อให้เห็นภาพความใหม่ของแนวคิดการ ‘รัก’ มากขึ้น จะขอยกตัวอย่างสถาบันที่ดูเหมือนจะผูกอยู่กับความรักอย่างเหนียวแน่นอย่าง สถาบันการแต่งงาน ขึ้นมาลองย้อนประวัติคร่าว ๆ ว่ามันเกี่ยวข้องกับความรักมากน้อยแค่ไหน
ก่อนหน้านี้เราน่าจะคุ้นเคยกับการคลุมถุงชน แต่ง ๆ ไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยเฉพาะเหตุผลทางเศรษฐกิจ
ยกตัวอย่าง ในสมัยที่ยังนิยมระบบครอบครัวใหญ่ แต่งงานหมายความว่าจะได้รวมเหล่าญาติ ๆ ของคู่แต่งงานเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกิจการ การมีลูกยังเป็นเรื่องสำคัญอีกด้วย เพราะคนมากเท่ากับแรงงานที่มากขึ้น
ต่อมาในสมัยที่ครอบครัวเล็กลงแล้ว แต่ผู้หญิงยังเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา ผู้ชายเป็นฝ่ายหาเลี้ยง การแต่งงานของผู้หญิงจึงเป็นข้อยืนยันว่าเธอจะไม่อดตาย (ซึ่งมาพร้อมกับบทบาททางเพศที่เข้มข้นจนทิ้งร่องรอบติดอยู่บนหน้าสังคมมาจนถึงทุกวันนี้ ผู้หญิงอยู่ดูแลบ้าน ผู้ชายหิ้วกระเป๋าทำงานออกนอกบ้าน)
การแต่งงานในสมัยแรก ๆ เป็นการแต่งงานเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม
หลังจากหมดยุคที่คนคือแรงงานและผู้หญิงต้องอยู่บ้านแล้ว ความรัก ถึงได้เข้ามาเป็นเหตุผลในการร่วมหอลงโรงกับใครซักคน การแต่งงานเพิ่งจะมาเป็นเรื่องของความรักเมื่อไม่กี่ศตวรรษ
ความรักคือการเสียสละ ความรักคือการให้ ชอบแล้วให้ของขวัญ การจีบ การคบกันเป็นแฟน และจุดสูงสุดของความรัก--อย่างน้อยก็ในภาพยนตร์หรือละคร-- มักเป็นงานแต่งงาน เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราจำติดมาจากสังคมรอบข้าง
หนึ่งในการเรียนรู้เกี่ยวกับความรักที่ส่งต่อกันมาไม่ต่างจากการแต่งงาน คือการบอกว่า ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน
การเอาเลขสองไปแปะติดไว้กับความรัก ทำให้ความสัมพันธ์ในจำนวนเต็มอื่น ๆ ถูกมองเป็นเรื่องไม่ค่อยปกติ โดยไม่ได้เอะใจว่ามันอาจเป็นเรื่องของค่านิยม และ 'นิยม' ไม่ได้เท่ากับ 'ดีที่สุด' เสมอไป
Monogamy is not the equivalent of love
รักเดียวไม่เท่ากับรัก รักไม่เท่ากับรักเดียว (เสมอไป)
ในสารคดี Explained มีคำอธิบายสั้นๆที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของเรื่องนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า
Love is a feeling, Monogamy is a rule
(รักเป็นความรู้สึก รักเดียวใจเดียวเป็นกฎ)
มีทฤษฎีหลายอย่างพยายามอธิบายว่าทำไมมนุษย์งถึงวิวัฒมาถึงจุดของสามีเดียวภรรยาเดียวได้ หนึ่งในคำอธิบายง่าย ๆ คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่เกิดมาแล้วไม่สามารถอยู่รอดด้วยตัวเองได้ จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ให้กำเนิด และถ้าหากมีเซ็กส์รอบวงกันไปเรื่อย ๆ ก็จะไม่รู้ว่าเด็กคนนี้มีพ่อเป็นใคร และจะไปบอกให้ผู้ชายที่เป็นพ่อมาช่วยดูแลลูกได้ยังไง
เพราะฉะนั้นจึงต้องผูกสัมพันธ์กันไว้
แต่ในสารคดี explained ได้เล่าถึงชนพื้นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์แบบหลายสามีหลายภรรยา เมื่อชาวยุโรปมองก็ตั้งคำถามว่า แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเด็กคนนี้เป็นลูกใคร คำตอบคือทุกคนในเผ่าเป็นพ่อแม่ให้กับเด็กทุกคน
You French people love only your own children; but we all love all the children of our tribe
(แปลถอดความ) พวกคุณรักแต่ลูกตัวเอง แต่พวกเรารักเด็กทุกคนในเผ่า
จึงเห็นได้ว่าเพียงแค่ต่างวัฒนธรรม กรอบนิยมก็ต่างกันแล้ว ยิ่งเป็นการเสริมว่าจะรักกี่คนนั้น วัฒนธรรมก็มีส่วนร่วมด้วย
ไม่ได้แปลว่าไม่ดี หรือเป็นไปไม่ได้ หรือไม่น่าอภิรมณ์
เราอาจคิดว่าอะไรที่เป็นธรรมมชาติย่อมดี แต่มันไม่จำเป็นเสมอไป และเราวิวัฒตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ในสารคดี explained ได้กล่าวสรุปข้อนี้ไว้ว่าสิ่งที่มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์อื่น คือเรามีการปรับตัว
สุดท้ายแล้วความรักจะเป็นเรื่องของคนสองคน หรือสามสี่ห้าคน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมันเกิดขึ้นโดยที่ทุกคนในความสัมพันธ์ได้คุยกัน รับรู้และยิมยอมอย่างเต็มใจ ลงท้ายที่พอใจกันทุกฝ่าย( โดยต้องเข้าใจนิยามความเต็มใจนี้ให้ดี ถ้าในความสัมพันธ์นั้นทั้งสองฝ่ายมีอำนาจไม่เท่ากัน จะเรียกว่าเต็มใจย่อมไม่ได้ รวมไปถึงใครที่บอกว่ายอมเพราะรัก แต่น้ำตาตกใน นั่นก็ไม่เรียกเต็มใจนะ การยินยอมเพื่อให้อีกคนพอใจ ไม่ถือว่าเต็มใจนะคะ)
เราไม่ได้กำลังจะบอกว่าความสัมพันธ์แบบไหนดีกว่าแบบไหน การที่คุณคุยกับคนที่คุณห่วงใยและใส่ใจมากกว่าที่สำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ มีอะไรที่ต้องการร่วมกัน และอะไรที่รับไม่ได้
(It´s so obvious but in case you miss it, Cheating is NOT polygamy/polyamory. )
การนอกใจไม่ใช่ Polyamor นะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in