อาหารหวาน เบเกอรี่ ล้วนแต่เป็นอาหารแสนอร่อยที่ดีต่อใจ แต่รู้หรือไม่ ? หากกินของหวานมากเกินไป ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ แม้ฟังแล้วอาจจะดูไม่น่ากลัว แต่ในความจริงแล้ว โรคเบาหวาน น่ากลัวกว่าที่หลายคนคิด เนื่องจากโรคเบาหวานมีด้วยกันหลายระยะ ที่มีอาการรุนแรงแตกต่างกันออกไป ดังนั้น หากเพื่อน ๆ อยากรู้ว่า โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ แล้วแต่ละระยะมีความแตกต่างของโรคอย่างไร ก็ตามมาดูกันเลย
โรคเบาหวาน คืออะไร ?
โรคเบาหวาน หรือ Diabetes คือ โรคที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล หรือระดับน้ำตาลไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย จนส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน และอาการผิดปกติหลายอย่าง
ซึ่งอาการของโรคเบาหวานจะแสดงออกได้อย่างชัดเจน คือ เริ่มแรกจะมีอาการอ่อนเพลีย รู้สึกหิวบ่อย มีความกระหายน้ำ น้ำหนักขึ้นลงไม่คงที่ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางคืน ทั้งยังมีอาการชาปลายมือ และเท้าร่วมด้วย
โรคเบาหวานมีทั้งหมดกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
โรคเบาหวาน เป็นอีกหนึ่งโรคที่ฟังดูแล้วเหมือนจะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่าได้มองข้ามไปโดยเด็ดขาด เพราะว่าอะไร ๆ ก็ไม่แน่นอน รวมทั้งโรคเบาหวานด้วย ที่จะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน คือ
เช็กด่วน สัญญาณเตือน อาการโรคเบาหวาน ระยะแรก
- โรคเบาหวานประเภทที่ 1 : จะพบได้ในเด็ก หรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ซึ่งลักษณะของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 คือ จะมีรูปร่างที่ผอม เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ถ้าขาดอินซูลินจะเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลสูง และกรดคีโตนคั่งในเลือด
- โรคเบาหวานประเภทที่ 2 : จะพบได้มากในผู้เป็นอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป เนื่องจากตับอ่อนยังพอผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่ก็มีภาวะดื้อต่ออินซูลินอยู่ ซึ่งถ้าหากเวลาผ่านไปนาน ๆ ผู้ป่วยบางคนจะมีเบต้าเซลล์เสื่อม ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอาจทำให้ต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ
คลายข้อสงสัย โรคเบาหวาน มีกี่ระยะ
สำหรับโรคเบาหวาน จะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ระยะ ตามประเภทของโรคเบาหวาน ซึ่งแต่ละระยะก็จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1.ระยะโรคเบาหวานชนิดที่ 1
จะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ระยะ ด้วยกัน ได้แก่
- ระยะที่ 1 ภูมิต้านทาน หรือแอนติบอดี (Antibody)ในร่างกายเริ่มทำลายเบต้าเซลล์ในตับอ่อน แต่ระดับน้ำตาลในเลือดจะยังอยู่ในระดับปกติ ซึ่งเป็นระยะที่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากนัก
- ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เบต้าเซลล์ถูกทำลายมากขึ้นกว่าระยะที่ 1 ทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลง ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง จนระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ
- ระยะที่ 3 เป็นระยะที่เบต้าเซลล์ถูกทำลาย จนส่งผลกระทบกับร่างกายมาก จนแสดงอาการของโรคเบาหวานอย่างเห็นได้ชัด
2.ระยะโรคเบาหวานชนิดที่ 2
จะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระยะ ด้วยกัน ได้แก่
- ระยะที่ 1 อินซูลินในร่างกายยังผลิตได้ปกติอยู่ แต่เซลล์ในร่างกายไม่ค่อยตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลทำให้ร่างกายไม่ได้นำน้ำตาลในเลือดไปใช้ น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น
- ระยะที่ 2 เป็นภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) คือ เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลินจนผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงถึงระดับ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จนแสดงอาการของโรคเบาหวานออกมาอย่างชัดเจน
- ระยะที่ 3 ส่วนระยะที่สาม เป็นระยะที่พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงถึง 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือสูงกว่า ซึ่งนั่นจะส่งผลให้เกิดอาการของโรคเบาหวานที่ชัดเจน จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากกว่าระยะที่ 2 และเริ่มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
- ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน และต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายที่อาจส่งผลต่อชีวิตของคุณได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://hillkoff.com/
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in