เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Time IPABOO
ทฤษฎีของเส้นจำนวน : ที่คนหัวใจศิลป์ก็เก็ทนะ
  • พูดถึงวิชาคณิต
    แน่นอนที่จะต้องมีสองเสียง
    เสียงหนึ่งโคตรชอบ
    อีกเสียงหนึ่งสุดจะขยาด
    เราเป็นเเบบเเรก
    ชอบวิชานี้สุดๆ
    รู้สึกว่ามันมีเหตุมีผล
    มีคำตอบให้เรา ถ้าคำนวณได้
    หรือถ้าหาไม่ได้ ไม่มีคำตอบ
    นั่นก็เป็นอีกรูปแบบนึ่งของคำตอบ
    มานั่งคิดย้อนกลับไปดีดี
    น่าจะชอบอาจารย์ที่สอนวิชานี้
    ทั้งชีวิตตั้งเเต่อนุบาล
    มาจนถึงชีวิตมหาลัย
    ชอบครูสอนคณิตทุกคน
    โดยเฉพาะครูที่เราเรียนพิเศษมาด้วย
    เรียนมาตั้งเเต่ป. 5
    จนถึง ม.3 ได้
    ครูชื่อครูกระรอก
    เป็นผู้ชายร่างเล็ก 
    อะไรหลายๆอย่าง ในตอนนี้
    เราได้ความคิด แนวคิด 
    มาจากผู้ชายตัวเล็กคนนี้เเหละ

  • เกริ่นได้อวยครูมาก
    เเต่ที่จะบอก
    ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับครูเลย
    เเค่ถ้าคิดถึงคณิต
    จะนึกถึงครูมาก่อน
    เหมือนครูกระรอก ได้กลายเป็นภาพจำ
    ภาพจำที่ฝังหัวของวิชานี้
    คงคล้ายๆกับถ้าพูดถึง
    แสงสว่าง นึกถึงดวงอาทิตย์น่ะ
    มาพูดถึงเส้นจำนวนกัน
    คิดว่าคงรู้จักกันใช่มั้ย
    ไอ้เส้นตรงๆยาวๆ 
    ที่ตรงจุดกึ่งกลางกำหนดค่าไว้ที่ 0
    เมื่อไล่ไปทางซ้าย ค่าจะติดลบไปเรื่อยๆ
    กลับกัน เมื่อไล่ไปทางขวา 
    ค่าจะเป็นบวกและมากขึ้นเรื่อยๆ
    ค่าบนเส้นจำนวนต้องเว้นให้เท่ากัน
    มีตัวเลขคลาสสิกอยู่
    เลขที่จะเห็นบ่อยๆบนเส้นจำนวน
    -2 -1 0 1 2
    ถ้ายังนึกไม่ออก 
    ลองไปดูที่ภาพปกดูดิ 
    เช็คให้ที เราเว้นมันเท่ากันรึยัง
  • โดนย้ำและเตือนอยู่เสมอ
    ทุกครั้งที่ทำโจทย์
    ครูจะบอกว่า
    'เครื่องหมาย บวกลบ (+,-) ดูให้ดีๆ'
    อืมมม นึกย้อนวัยเด็ก
    สังเกตกันบ้างมั้ย
    กับอะไรๆ ก็ตาม
    ทั้งที่โดนเตือนบ่อยๆ 
    เเต่กลับผิดซ้ำๆ ซะอย่างนั้น
    ใช่เลย เราผิดเรื่องเครื่องหมายตลอด
    บ่อยจนเริ่มสงสัย
    เเค่  + - เอง ยางลบลบออก
    ก็ถูกต้องแล้ว ไม่เห็นต้องใส่ใจ
    ไม่เคยมีใครให้คำตอบที่เราพอใจ
    ทำไมต้องใส่ใจเรื่องนี้
    จนกระทั่ง ครูกระรอกสอน
    เป็นคำตอบที่เรายอมรับ
    เอามาปรับใช้กับหลายๆเรื่อง
    เพ้อเจ้อ โยงเข้าหาความรัก
    จนถึง การใช้ชีวิตในตอนนี้
    มันเป็นมากกว่าทฤษฎี
    คิดว่าเรื่องนี้จะเข้าใจได้เองเเท้ๆ
    ดันมีครูมาเเนะให้ซะก่อน
    ไหนว่าครูไม่เกี่ยว ไง
    โผล่มาจนได้เลยนะครู
  • ครูบอกเราว่า
    ถึงตัวเลขจะเหมือนกัน
    1, 10,100,...หนึ่งล้าน
    เเต่เเค่เครื่องหมายใส่ผิด
    ค่าของตัวเลขก็เปลี่ยน
    และครูกระรอกก็วาดเส้นจำนวน
    ครูถามเรา
    จากเลข -1 ไปหา 1 ไกลกันไหม?
    เรานับ เเละตอบ สองช่อง
    และถ้า เลข -10 กับ 10 ล่ะ?
    เรานับอีก และตอบ ยี่สิบช่อง
    พอยิ่งไกลออกไป 
    ค่าอีกฝั่งก็ยิ่งจะห่าง
    ที่เคยคิดว่า 'เเค่'เครื่องหมาย + -
    กลายเป็นความคิดว่า
    นี่มัน'ตั้ง'เครื่องหมาย + - เลยนะ
    ถ้าจะเขียนเครื่องหมายผิด
    ให้คำนวณตัวเลขผิด
    ยังจะใกล้คำตอบซะมากกว่า
    นึกภาพตามทันเรามั้ย
    งั้นลองเขียนเส้นจำนวนนะ
    ดูซิเลขที่เราคิดไว้
    ห่างไกลกันเเค่ไหนเชียว
  • สุดท้ายก็กลายเป็นคนที่ใส่ใจในเส้นจำนวน
    ทั้งที่ไม่อยากจะสนเท่าไร
    ในบางที ที่เราไปบอกคนอื่น
    มันคงดูจู้จี้ จุกจิก
    เข้าใจความรู้สึกครูเลยทีเดียว
    แต่ทำไงได้เห็นแล้วมันขัดตาจริงๆนะ
    นอกจากใช้ในเรื่องคณิตแล้ว
    เรามองเห็นมันในแง่ของความพอดี
    ความเท่ากันของทั้งสองด้าน
    คงเหมือนสีขาวสีดำ
    ด้านหนึ่งบวกอีกด้านลบ
    เลยทำให้นึกย้อนกลับมาที่ความรู้สึกของเรา
    สมมติมีเรื่องดีๆเกิดขึ้น
    เเทนค่ามันด้วยค่าบวก
    ความรู้สึกนั้นก็จะเอนไปทางขาว
    และกับเรื่องเศร้า
    ถ้าเป็นความเสียใจก็จะเอนไปทางซ้าย
    หลายๆครั้งที่ความรู้สึกดีๆ
    ต้องกลายเป็นความเสียใจ
    คิดง่ายๆ เราถูกหวย
    แต่ดันเป็นของงวดที่แล้วลืมไปเบิกเงินมา
    ความดีใจก็จะเปลี่ยนเป็นเสียใจแทบจะทันที
    ดีใจเท่าไรก็เสียใจเท่านั้น
    เเละตรงนี้แหละ
    จุดเริ่มกลไลของเส้นจำนวน
  • ความสุข ความดีใจที่มากๆ
    ให้คิดเป็นค่าบวกที่เยอะๆ
    และเมื่อเสียใจก็เเค่เดิม เครื่องหมายลบลงไป
    ช่วงห่างระหว่างค่า
    ให้เป็นระยะทำใจ ระยะเจ็บปวด
    เมื่อ 100 กลายเป็น -100
    ช่องว่างคือ สองร้อยช่วง
    เอาเป็นว่าเจ็บหนักกันพอสมควร
    เลยทำให้คิดว่า
    ถ้าค่าจะตอบกลับแบนี้
    ทำไมเราจึงไม่แทนค่าบวกกันน้อยๆ
    เวลาที่เปลี่ยนเป็นค่าลบ
    ช่วงห่างจะได้ไม่มากจนเกินไป
    แต่ก็นั้นแหละ ไม่มีใครไม่ชอบตัวเลขเยอะๆหรอก
    ทุกคนก็ยังฝัน ยังหวัง
    ดำเนินชีวิตต่อไป
    จากกการหวังในเลยหลักเยอะๆ
    จนบางทีลืมนึกไว้
    ว่าถ้าเติมเครื่องหมายลบลงไป
    ช่วงความห่างนั้น มากมายเหลือเกิน
    งั้นมาเริ่มกันใหม่มั้ย
    มาคิดถึงเลยจำนวนน้อยๆกันก่อน
    อาจจะเป็น  1 หรือ 10
    เพราะถึงจะเติมเครื่องหมายลบลงไป
    มันคงไม่ทำให้เราห่างไกลกันกว่าเดิม.
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in