เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเครื่องดนตรี กีต้าร์ , เบส , กลอง , เปียโน , คีย์บอร์ดshabumusic
4 เรื่องเบสิคที่จะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเปียโน ได้ดียิ่งขึ้น
  • เมื่อพูดถึงเครื่องดนตรีที่มีชื้อว่า “เปียโน” แล้วเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเห็นหรือรู้จักกันอย่างแน่นอน ด้วยรูปทรงที่มีความสวยงามและมีน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก และบทความนี้จะมาทำความรู้จักเบื้องต้นกับเครื่องดนตรีชนิดนี้กันครับ

    ความรู้เบื้องต้นของเปียโน

    เปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงประมาณ ค.ศ. 1700 ที่ประเทศอิตาลี โดยเป็นการผสมผสานกันของเครื่องดนตรี คลาวิคอร์ด ( Clavichord ) และ ฮาร์พซิคอร์ด ( Harpsichord ) โดยเปียโนในช่วงแรกๆนั้นจะถูกเรียกว่า เปียโนฟอร์เต ( Pianoforte ) ซึ่งระบบกลไกการใช้งานยังใช้งานยังไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันและเมื่อเวลาผ่านไปก็มีการพัฒนาตัวเปียโนให้ดีขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน

    เปียโน เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องลิ่มนิ้ว (Keyboard Instruments) โดยลักษณะการทำให้เกิดเสียงโดยการกดลิ่มเพื่อให้กลไกไปขยับค้อนเพื่อไปตีสายเปียโนเพื่อให้เกิดเสียง


    [ เบสิคส่วนที่ 1 ] ประเภทของเปียโน

    ปัจจุบันนี้เปียโนสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1. แกรนด์เปียโน ( Grand Piano )


    แกรนด์เปียโนถือได้ว่าเป็นประเภทเปียโนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เนื่องจากการออกแบบให้ซาวบอร์ดอยู่ในแนวนอนเพื่อให้ได้เสียงที่มีความกังวานรวมไปถึงลักษณะการเคาะสายของค้อนด้วยโดยค้อนจะอยู่ด้านใต้ของสายเวลาเคาะก็จะเป็นการตีขึ้นจากด้านล่าง

    โดยส่วนใหญ่แล้วแกรนด์เปียโนจะใช้ในการแสดงมากกว่าการที่จะมีไว้ที่บ้านเพื่อซ้อมเนื่องจากขนาดที่ใหญ่ทำให้เปลืองเนื้อที่กว่าเปียโนชนิดอื่นๆ

    2. ในอัพไรท์เปียโน ( Upright Piano )


    อัพไรท์เปียโนเป็นเปียโนที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กกว่าแกรนด์เปียโนเพื่อให้เหมาะกับการใช้ในพื้นที่จำกัด โดยมีการปรับตำแหน่งของซาวบอร์ดให้อยู่ในแนวตั้ง

    ด้วยขนาดที่เล็กลงทำให้ตัวเปียโนทำให้สามารถขนย้ายได้ง่าย เหมาะกับการเล่นภายในบ้านได้ไม่เปลืองเนื้อที่ แต่ก็อาจจะแลกมาด้วยความกังวานของเสียงที่อาจจะสู้กับแกรนด์เปียโนไม่ได้

    3. เปียโนไฟฟ้า ( Electric piano )


    ด้วยเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันนี้ทำให้สามารถนำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาแทนในส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนั้นก็คือ ซาวบอร์ด รวมไปถึงส่วนอื่นๆ เหลือเพียงส่วนที่มีความจำเป็นเท่านั้น ทำให้ตัวเปียโนมีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบาพกพาสะดวก ดูแลรักษาง่ายกว่าเปียโนชนิดอื่นๆ แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีระบบไฟฟ้าในการใช้งาน


    [ เบสิคส่วนที่ 2 ] ส่วนประกอบเปียโน

    ส่วนคีย์บอร์ด


    คีย์บอร์ดคือส่วนของลิ่มที่ใช้กดเพื่อทำให้เกิดเสียง เปียโนโดยทั่วไปแล้วจะมีคีย์ทั้งหมด 88 คีย์ โดยมีโน้ตตั้งแต่ โน้ต ลา ออกเทฟที่ 0 ถึง โน้ต โด ออกเทฟที่ 8 แต่ก็อาจจะมีเปียโนบางรุ่นที่มีคีย์มากกว่า 88 ซึ่งอาจจะต้องมีการหาข้อมูลเพิ่มเติมในแต่ละรุ่น และ ตัวลิ่มจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สี คือ สีขาวจะเป็นลิ่มโน้ต โด เร มี ฟา ซอล ลา ที ส่วนสีดำจะเป็นโน้ตที่เป็นโน้ตติดชาร์ป หรือ แฟลช

    สายเปียโน ( strings )


    สายเปียโนทำจากโลหะ โดยตัวสายจะถูกขึงไวกับโครงเหล็กเรียกว่าเพลท (plate) โดยทั่วไปแล้วแต่ละโน้ตจะมีสายเปียโน 3 เส้น

    ค้อนเคาะสาย ( hammer )


    เป็นส่วนที่ใช้ในการเคาะไปที่สายเปียโนเพื่อให้เกิดเสียง โดยวัสดุในการทำนั้นก็จะมีผลต่อเสียงที่ได้ด้วยเช่นกัน โดยแต่ละรุ่นของเปียโนก็อาจจะมีความแตกต่างกันของเรื่องวัสดุและการติดตั้งด้วยเช่นกัน

    ตัวห้ามสาย ( damper )


    ตัวห้ามสายมีหน้าที่ในการหยุดเสียงที่เราเล่นโดยการที่เมื่อเรากดคีย์กลไกจะทำให้ค้อนไปตีที่สายพร้อมกับยกตัวห้ามสายขึ้นเพื่อให้สายสามารถสั่นทำให้เกิดเสียงและเมื่อเราปล่อยนิ้วออกจากตัวคีย์ตัวห้ามสายก็จะมาอุดสายเพื่อให้เสียงหยุด โดยวัสดุที่ใช้ทำจะเป็นไม้หุ้มด้วยสักหลาด

    ซาวบอร์ด ( Sound Board )


    ซาวบอร์ดเป็นไม้ที่ใช้ในการรับแรงสั่นเพื่อขยายเสียงของตัวเปียโนในดังและกังวานขึ้น โดยตัวซาวบอร์ดนี้ถือได้ว่ามีผลกับเสียงที่ได้ของเปียโนด้วยเช่นกัน

    สะพานสาย ( bridges )


    จะเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่บนซาวบอร์ดทำหน้าที่ในการยกให้สายเปียโนอยู่สูงกว่าซาวบอร์ดรวมไปถึงเป็นตัวส่งการสั่นสะเทือนของสายไปยังตัวซาวบอร์ดเพื่อขยายเสียงอีกด้วยโดยสะพานสายนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

    1. Treble bridge เป็นสะพานสายที่จะใช้ในส่วนที่เป็นสายที่เป็นโน้ตย่านสูง
    2. Bass bridge เป็นสะพานสายที่ใช้กับสายเปียโนที่อยู่ในย่านเสียงต่ำ โดย Bass bridge นั้นจะมีความยาวที่สั้นกว่า Treble bridge

    พินบล็อค ( Pinblock )


    พินบล็อคเป็นส่วนที่ใช้ยึดกับหมุดปรับเสียง โดยตัวพินบล็อคจะทำมาจากไม้เนื้อแข็ง

    เพลท ( plate )


    เพลท เป็นโครงเหล็กที่ใช้ในการยึดตัวสายเปียโน โดยเพลทนั้นจะเป็นส่วนที่จะต้องรับแรงตึงทั้งหมดของสายเพื่อที่จะให้ตัวเปียโนคงสภาพของรูปทรงเอาไว้ ตัวเพลทจะติดตั้งไว้เหนือส่วนของซาวบอร์ด

    คันเหยียบ ( pedal )


    คันเหยียบเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มลูกเล่นในการเล่น โดยทั่วไปแล้วเปียโนจะมีคันเหยียบอยู่ด้วยกัน 3 คันเหยียบและแต่ละคันเหยียบก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน

    คันเหยียบอันซ้าย ( Soft Pedal )

    หน้าที่ของคันเหยียบอันนี้มีไว้เพื่อลดความดังของเสียงเปียโน แต่จะมีความแตกต่างกันระหว่าง แกรนด์เปียโน กับ อัพไรท์เปียโน โดยในส่วน แกรนด์เปียโน จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งค้อนเคาะสายให้ไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อให้ค้อนนั้นเคาะสายน้อยลงจาก 3 สาย อาจจะเหลือเพียง 1 หรือ 2 สาย ทำให้เสียงเบาลง 

    ส่วน อัพไรท์เปียโน จะเป็นการดันตำแหน่งของค้อนเคาะสายให้เข้าใกล้กับตัวสายมากขึ้นทำให้แรงในการเคาะสายน้อยลงทำให้เสียงเบาลง

    คันเหยียบอันกลาง ( Sostenuto Pedal , Muffler Pedal )

    แกรนด์เปียโน กับ อัพไรท์เปียโน จะมีหน้าที่ต่างกันดังนี้

    • ในแกรนด์เปียโน ( Sostenuto Pedal ) เมื่อเหยียบจะเป็นการทำให้โน้ตที่ถูเล่นมาก่อนที่จะเหยียบนั้นมีเสียงยาวต่อเนื่องไม่ว่าเราจะปล่อยนิ่วจากคีย์แล้วก็ตามโดยการยกตัวห้ามสายขึ้น
    • ในอัพไรท์เปียโน (Muffler Pedal ) เมื่อเหยียบแล้วจะทำให้เสียงของเปียโนเบาลงโดยจะมีผ้ามากั้นระหว่างสายเปียโนและค้อนเคาะสาย โดยคันเหยียบอันนี้จะมีช่องสำหลับให้คันเหยียบอันนี้ค้างโดยไม่ต้องเหยียบจึงเหมาะกับการใช้ในการซ้อมในพื้นที่ที่ใช้เสียงดังมากไม่ได้

    คันเหยียบอันขวา ( Damper Pedal )

    ถือได้ว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยหน้าที่ของคันเหยียบอันนี้คือการทำให้เสียงที่เราเล่นจะลากเสียงยาวทั้งหมดจนกว่าจะปล่อยเท้า โดยการทำงานมันมันคือการยกตัวห้ามสายทั้งหมดขึ้นนั้นเอง


    [ เบสิคส่วนที่ 3 ] การดูแลรักษาเปียโน

    โดยส่วนประกอบสวนใหญ่ของเปียโนนั้นจะเป็นไม้กับโลหะสภาพแวดล้อมจึงมีผลกับตัวเปียโนเป็นอย่างมาก จึงจะต้องมีการดูแลรักษาเพื่อไม่ให้เปียโนเกิดความเสียหาย โดยสามารถแบ่งเป็นข้อได้ดังนี้

    • ไม่ควรตั้งตัวเปียโนในที่ที่มีความชื้น ความแตกต่างของอุณหภูมิตลอดวันที่มาก และไม่ควรโดนแสงแดดโดยตรง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อการขยายตัวและหดตัวของเนื้อไม้และเหล็ก
    • ควรทำความสะอาดตัวเปียโนอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาด
    • ควรมีผ้านุ่มคลุมในส่วนของคีย์บอร์ด และไม่ควรใช้สารเคมี เช่น แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ในการทำความสะอาด
    • ในส่วนของผิวที่มีการขัดมัน สามารถใช้ขี้ผึ้งซิลิกอนหรือครีมสำหรับทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ทำความสะอาดได้
    • ไม่ควรวางสิ่งของไว้บนตัวเปียโนเพราะอาจจะทำให้เกิดลอยได้
    • ควรจะมีการตั้งสายเปียโนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผู้ที่มีความชำนาญ
    • ควรจะให้ช่างเทคนิคเปียโนมาตรวจสอบการทำงานของกลไกต่างๆของตัวเปียโนว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่ทุกๆ 2-5 ปี
    • ไม่ควรซ่อมเปียโนด้วยตัวเองหรือให้ผู้ที่ไม่ชำนาญซ่อมเนื่องจากตัวเปียโนนั้นมีความซับซ้อนและมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าซ่อมเองอาจจะเกิดความเสียหายได้


    [ เบสิคส่วนที่ 4 ] หลักการเลือกซื้อเปียโนเบื้องต้น

    1. วัตถุประสงค์การใช้งาน

    อาจจะเป็นข้อที่ดูแปลกแต่สำหรับเปียโนแล้วนอกจากการซื้อมาฝึกซ้อมแล้วก็มีหลายคนซื้อไว้เพื่อเป็นเครื่องประดับด้วย เนื่องจากความสวยงามของตัวเปียโน ซึ่งเปียโนแต่ละประเภทก็ตอบโจทย์การใช้งานได้ไม่เหมือนกัน

    2. พื้นที่ตั้งเปียโน

    เนื่องด้วยเปียโนนั้นมีขนาดใหญ่การเคลื่อนย้ายนั้นถือว่าลำบากและการเคลื่อนย้ายเปียโนนั้นก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้จึงควรคิดและว่าแผนดีๆในการเลือกที่วาง

    3. งบประมาณ

    งบประมาณถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเนื่องจากเปียโนนั้นมีด้วยกันหลากหลายราคา ซึ่งการที่เรากำหนดงบประมาณไว้ก่อนก็จะช่วยให้เราตัดรุ่นที่เราไม่ต้องการออกไปได้

    4. คุณภาพเสียงที่ดีและการใช้งานที่ดีและเหมาะสม

    การซื้อเปียโนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆแล้วอีกสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาด้วยคือเสียงที่ได้ว่าถูกใจเราหรือไม่และเราเล่นมันถนัดหรือไม่ เนื่องจากเมื่อเราซื้อเปียโนมาแล้วก็จะต้องเล่มมันถ้าเราเล่นมันแล้วรู้สึกไม่ถนัดหรือไม่ชอบก็อาจจะทำให้เราไม่อยากเล่นมันอีก็ได้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in