เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Innovative enough?8dashslash
หมอกจาง ๆ และควันคล้ายกันจนบางทีไม่อาจรู้
  •             หลายปีมาแล้วที่การประมวลผลแบบคลาวด์หรือ cloud computing (อย่าเพิ่งเลิกอ่านเพราะศัพท์ที่ดูมีสาระพวกนี้นะเฮ่ย!) เข้ามามีส่วนในชีวิตพวกเรามากขึ้น    จริง ๆ ไม่ใช่แค่มากขึ้นแต่ตอนนี้จะเรียกว่ามีส่วนมาก ๆ ก็ยังได้ ถ้าคุณใช้มือถือสมาร์ทโฟน รับรองว่าต้องมีแอพใดแอพหนึ่งที่คุณใช้ใช้การประมวลผลแบบคลาวด์ (จริง ๆ อย่างยูทูบก็ใช่นะ) ..ว่าแต่การประมวลผลแบบคลาวด์คืออะไรฟะ

                  คีย์ของคลาวด์คืออินเทอร์เน็ต เมื่อก่อนการจัดเก็บหรือจัดการข้อมูลของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ของพวกเราจะถูกจำกัดไว้ที่หน่วยความจำหรือความสามารถของเครื่องเพียงเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่แค่นั้นอย่างเดียวแล้วไง จุ๊ ๆ     ถึงเครื่องพี่ไม่เทพ แต่ก็มีโอกาสไปถึงฝั่งฝันเหมือนคนอื่น ๆ ได้เหมือนกัน
    ในคลาวด์ข้อมูลของพวกเราจะถูกอัพโหลดขึ้นไปบนเซิฟเวอร์เพื่อแบ่งเบาภาระของหน่วยความจำบนเครื่องบ้าง หรือแอพในเครื่องต้องการส่งข้อมูลไปประมวลผลที่ตัวเซิฟเวอร์ของแอพเองบ้าง ประโยชน์ที่เราชอบสุด ๆ ของคลาวด์ (ความชอบส่วนตัว) คือการที่เราใช้อุปกรณ์ (devices) เครื่องไหนก็ได้แล้วสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันของตัวเองได้ เพราะข้อมูลไปอยู่บนเซิฟเวอร์แล้วไง อุปกรณ์กลายเป็นเพียงแค่สื่อกลางเท่านั้น 
    ยกตัวอย่างง่าย ๆ ตามรูปด้านบน ถ้าเราอยากเข้าถึงข้อมูล (data) สีแดง เราก็เลือกได้เพียงแค่ก้อนกลม ๆ สีแดงเท่านั้นจะเลือกก้อนอื่นไม่ได้ มันเข้าไม่ถึ๊งงงงงง    แต่คลาวด์มันทำให้ชีวิตง่ายและดีกว่านั้นมาก
    คุณจะเปรียบเหมือนสาวสวยที่มีชายหนุ่มมากหน้าหลายตาให้เลือกตามเสปคที่ชอบเพื่อพาให้คุณไปถึงฝั่งฝันได้เหมือน ๆ กัน 

    "อ๊างงงงง"

                  แต่คลาวด์มันไม่ได้มีแค่ข้อดีอย่างเดียวข้อเสียมันก็ต้องมีเหมือนกันสิ ข้อแรกที่สะเทือนใจที่สุดคือมันอภิมหาเปลืองค่าเน็ตเลยเฟ่ย โดยเฉพาะอัพโหลด/ดาวน์โหลดอะไรที่มีขนาดใหญ่ยิ่งเปลื๊อง ยิ่งเวลามันทำของมันเองโดยอัตโนมัติเวลาออกไปเดินเล่นนอกบ้านไม่มีไวไฟใช้แล้วนี่.. *ปาดน้ำตา*
    และสิ่งที่สำคัญคือไม่ใช่ว่าข้อมูลทุกประเภทเหมาะสมกับการประมวลผลแบบคลาวด์ เราคงไม่รู้สึกอะไรมากหากปริมาณข้อมูลที่พูด ๆ ถึงยังมีขนาดเล็กอยู่ เวลาที่ใช้ในการอัพหรือดาวน์โหลดข้อมูลต่าง ๆ ยังไม่มากนัก แต่ทุกสิ่งเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อเกิดการมาถึงของ IoT

                  เอาจริง ๆ เรื่อง IoT หรือ Internet of Things อาจจะน่าสนใจกว่าหัวข้อหลักในวันนี้อีก ฮ่าฮ่า IoT คือการที่อนุญาตให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์สื่อสารกันได้ (ในระยะทางไกลก็ได้ด้วย) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์พวกนี้ไม่ใช่แค่พวกมือถือ แท็บเล็ต อย่างที่พวกเราหลาย ๆ คนนึกถึงอีกต่อไป แต่เป็นทีวี ตู้เย็น พัดลม รถยนต์ แอร์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ที่เราจะนึกกันออก อย่างเช่นให้ตู้เย็นส่งข้อความมาแจ้งเราทางมือถือว่าไข่หมดแล้วนะ หรือเซนเซอร์ตรวจับความชุ่มชื้นในดินคอยส่งสัญญาณให้เครื่องรดน้ำต้นไม้ทำงานเวลาที่ระดับความชุ่มชื้นต่ำ ..จ้ะ ..ปริมาณข้อมูลที่เราจะเริ่มพูดถึงหลังจากนี้จึงมีจำนวนมหาศาลแน่นอน และอุปสรรคของ IoT ก็คือปริมาณข้อมูลมหาศาลเนี่ยแหละ ทั้งแบนด์วิธที่กว้างไม่พอ (bandwidth, ถ้าเปรียบข้อมูลเป็นรถแบนด์วิธก็เปรียบเหมือนความกว้างของถนน) ทั้งเซิฟเวอร์ที่จะใช้เก็บข้อมูล เอาเป็นว่ายังไม่พอซักอย่างที่จะทำในวงกว้าง ทำให้เริ่มคิดถึงการอัพข้อมูลบางข้อมูลขึ้นคลาวด์ว่านั่นยังจำเป็นอยู่หรือไม่
    ในบทความ "Forget the Cloud - 'The Fog' Is the Next Big Thing" ยกตัวอย่างเรื่องนี้ไว้ว่าถ้าหากเราทำงานอยู่กับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องมอนิเตอร์กังหัน วาล์ว และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากวินาทีต่อวินาที (real time)     การอัพข้อมูลทั้งหมดจากแต่ละอุปกรณ์ขึ้นคลาวด์จะเป็นอะไรที่นานมาก นานเว่ออออร์ และมันจะไม่เรียลไทม์อีกต่อไป แล้วมันจำเป็นตรงไหนที่ต้องอัพขึ้นคลาวด์ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลตรงนี้แชร์หรือใช้ประมวลผลแค่ในเครือข่ายของโรงไฟฟ้ามันก็พอแล้วนี่หว่า    จึงเกิดรูปแบบการประมวลผลแบบใหม่คือการประมวลผลแบบฟ็อกหรือ fog computing ขึ้นในวงเครือข่ายของฟ็อกจะแคบกว่าคลาวด์มากกกกกก ถ้าเทียบกันให้เห็นภาพง่าย ๆ คลาวด์คือก็คืออินเทอร์เน็ตที่เราใช้ ๆ กันเนี่ย โซเชียลเน็ตเวิร์คเอยอะไรเอย ข้อมูลอยู่ข้างบนนั้นหมด ไม่ได้มีอะไรอยู่กับตัวในเครื่องเราเลย แต่ฟ็อกอาจเป็นเครือข่ายหรือเซิฟเว่อร์ของมหาวิทยาลัย (อย่าไปนึกภาพตอนมันล่มเวลาที่เราเข้าไปดูเกรดนะ.. เอาเวลาปกติ) จะมีบางข้อมูลที่เราสามารถเข้าไปดูได้เฉพาะเวลาอยู่ในวงเครือข่ายนี้เท่านั้นอยู่แต่ถ้าเราอยู่วงอื่นไม่ได้ต่อเข้าเน็ตเวิร์คของมหาวิทยาลัยเราก็ไม่สามารถดูได้ มันดีกว่าคลาวด์ตรงที่เราสามารถรู้ปริมาณทราฟฟิกและจัดการมันอย่างเหมาะสมได้นี่แหละรู้ว่าต้องใช้คอนเนคชั่นอะไรอย่างไรให้มันไม่เกิดดีเลย์มากในการรับส่งข้อมูลในกรณีต้องการให้อุปกรณ์ติดต่อกันอย่างเรียลไทม์             




                  แล้วควันล่ะ? เกี่ยวอะไรมั้ย?
                  ....


                  ไม่
                  55555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555
    แค่อยากหาอะไรมาตั้งเป็นชื่อเรื่องเฉย ๆ แล้วเวลาอ่านเรื่องนี้ทีไรจะคิดถึงเพลงนี้ทุกที ..ก็นะ หมอกและควันเมฆ มันคล้ายกันจริง ๆ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ใช่อย่างเดียวกันอยู่ดีและเป็นระบบที่เราเองก็ต้องการมันทั้งสองอย่างด้วย
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in