“
ฉีผาว 旗袍 หรือกี่เพ้า เป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดของหญิงชาวแปดกองธงในสมัยราชวงศ์ชิงมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ สมัยศตวรรษที่ 17 ประมาณปี 1636 ซึ่งก็เกือบ 400 ปีที่แล้วเป็นเครื่องแต่งกายของหญิงแมนจูในยุคราชวงค์ชิง ชุดกี่เพ้า เป็นเครื่องแต่งกายชั้นสูงสำหรับสตรีในราชสำนักจีนเท่านั้น แต่ภายหลังจากมีการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิงภายใต้การนำของ “
ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แผ่นดินจีนเต็มไปด้วยความอดอยากยากแค้น ทำให้“
ประมาณ ยุค 1980 เกียรติยศศักดิ์ศรีของ “ชุดกี่เพ้า”ได้รับการฟื้นฟูกลับคืนมาอีกครั้ง ภายหลังจากการเปิดประเทศของจีน ก็มีการรื้อฟื้นนำ“ชุดกี่เพ้า” กลับมาสวมใส่ พร้อมเลื่อนสถานะขึ้นเป็น“ชุดประจำชาติ” โดยมีนครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลาง
ดังนั้นแล้ว หากลองพิจารณาตาม Anne Hollander ก็อาจบอกได้ว่าการสวมใส่กี่เพ้าเป็นแฟชั่น เพราะไม่ว่าจะเป็น ลวดลายที่ปัก สีหรือแม้แต่รูปทรงที่อยู่บนชุดกี่เพ้าที่เป็นเครื่องแต่งกายของสาวแดนมังกรไปจนถึงการนิยมชมชอบของกลุ่มผู้สวมใส่การสวมใส่กี่เพ้าจึงนับว่าเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่ง
ทางด้านของ Elisabeth Wilson
ดังนั้นแล้ว หากลองพิจารณาตาม Elisabeth Wilson การสวมใส่กี่เพ้าก็นับว่าเป็นแฟชั่นเพราะในการสวมใส่กี่เพ้าในแต่ละช่วงของทิศทางเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปของจีนกี่เพ้าก็มีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงลักษณะของตัวชุดให้เหมาะสมกับรูปร่างลักษณะที่เป็นที่นิยมในขณะนั้นเช่นเดียวกันเช่น ในปี 1920 กี่เพ้ามีการปรับปรุงรูปทรงให้แนบสรีระมากขึ้น โดยได้มีการเข้ารูปและเน้นทรวดทรงของผู้สวมใส่ให้ต่างไปจากเดิมที่ตัดเย็บเป็นทรงตรงๆ ไม่มีส่วนโค้งเว้า ส่งผลให้กี่เพ้าเองก็มีความทันสมัยมากขึ้นค่ะ
หากลองพิจารณา “กี่เพ้า” ในมุมมองทางปรัชญาแฟชั่นแล้วทำให้เรานึกถึงคำนิยามแฟชั่นของ Roland Barthes ที่กล่าวว่า เสื้อผ้าเป็นสิ่งพื้นฐานทางแฟชั่น คือ เป็นระบบความหมายในทางวัฒนธรรม กล่าวคือเสื้อผ้าเป็นแฟชั่นที่เป็นสิ่งที่ช่วยสื่อสารให้เรามองเห็นถึงวัฒนธรรมของกลุ่มคนหรือสังคมนั้นๆ
อย่างแรกที่ทำให้เรามองเห็นว่า
อย่างที่สองที่ทำให้เรามองเห็นว่า “กี่เพ้า” สะท้อนวัฒนธรรมจีนอีกอย่างนั่นก็คือ การปักลวดลายต่าง ๆ บนชุดกี่เพ้า ที่นอกเหนือจากชุดเข้ารูปที่เผยให้เห็นความเป็นหญิงแล้ว ลวดลายที่แฝงความหมายเฉพาะ และต้องใช้ฝีมือปักเย็บที่ละเอียดแม่นยำของช่างปักเย็บชาวจีน จึงทำให้ชุดกี่เพ้าไม่ต่างจากผลงานศิลปะบนผืนผ้า แถมแต่ละลวดลายบนกี่เพ้ายังสะท้อนคติความเชื่อของชาวจีนที่คัดเลือกเฉพาะลายมงคลมาตัดเย็บไว้บนกี่เพ้า เช่น ลายดอกโบตั๋นที่หมายถึงโชคลาภ ความยุติธรรมขณะที่ดอกเหมยหรือราชินีดอกไม้แห่งฤดูหนาว สื่อถึงอายุที่ยืนยาว มีเพียงบางลายที่สงวนไว้เฉพาะราชสำนักเท่านั้นเช่นลายมังกร 5นิ้ว เครื่องหมายของรัชทายาท และมังกร 9 นิ้ว สื่อถึงจักรพรรดิและจักรพรรดินี อีกทั้ง การปักลายต่าง ๆบนกี่เพ้าก็มีการแพร่หลายไปหลากหลายพื้นที่จนก่อให้เกิดลวดลายที่มีความเฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ในประจีนด้วยเช่นกัน
แน่นอนว่าในปัจจุบันนี้ การสวมใส่ชุดกี่เพ้านั้น ยังเป็นแฟชั่นค่ะเพราะกี่เพ้าคงความเป็นแฟชั่นที่แสดงถึงวัฒนธรรมของสาวแดนมังกรได้อย่างชัดเจนทั้งเรื่องของ สีชุด หรือลวดลายต่าง ๆบนตัวชุดกี่เพ้าที่หากมองมาก็จะรู้ว่าเป็นลายที่มาจากแดนมังกรเป็นแน่ เพราะมีความคงเอกลักษณ์เฉพาะตัวไว้ดังเดิม อีกทั้งในปัจจุบันนี้ยังมีการนำกี่เพ้ามาเป็นชุดยูนิฟอร์มด้วยในบางสายการบินของจีนเอง เช่น สายการบิน
ด้วยเหตุนี้ “กี่เพ้า” จึงเรียกได้ว่าเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติที่เกิดจากการหลอมรวมเป็นหนึ่งของชนชาติต่าง ๆ ของจีน ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนเพราะกี่เพ้านับได้ว่าเป็นสิ่งที่สื่อให้เรามองเห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของจีนตั้งแต่ยุคราชวงศ์ชิงมาจนถึงปัจจุบัน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อีกทั้ง กี่เพ้ายังเป็นงานตัดเย็บที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกันไม่ว่าจะเป็นหัตถกรรมการปักลวดลาย ภาพดอกไม้และนกหรือภาพอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีนอย่างชัดเจน ดังนั้นแล้วหากหลายๆท่านนึกถึงประเทศจีน, วันตรุษจีนวัฒนธรรมจีนต่าง ๆ คงต้องมีการนึกถึงชุดกี่เพ้าแวบขึ้นมาในหัวไม่มากก็น้อยแน่นอนค่ะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in