เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ช่วงคุยไปเรื่อยRukjang
Wasteless Delivery (ขยะเดลีเวอรี่)
  •  

                 หลังจาก  COVID-19  ระบาดเป็นเวลานานเราเชื่อว่ามันคงส่งผลเสียในหลายๆด้านภายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจการใช้ชีวิตประจำวัน,  สุขภาพจิตของผู้คนในสังคมที่เห็นว่าลำบากมากที่สุด คงเป็นเรื่องปัญหาปากท้องการอยู่การกินในบ้านที่ไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ตามปกติ จึงได้แต่สั่งอาหาร delivery เข้ามาทานภายในบ้าน ซึ่งเจ้าดังที่คนมักเลือกสั่งกัน ตัวอย่างเช่น


    Food panda

     


    Grab food


    ฯลฯ

     

                 เมื่อคนในสังคมต่างคนต่างสั่งอาหาร deliveryเข้ามารับประทาน ซึ่งอาหารเหล่านั้นต่างบรรจุมาในพลาสติก single use ที่ใช้แล้วทิ้งไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้อีกรอบ จึงทำให้เกิดขยะเป็นจำนวนมากในสถานการณ์ COVID-19


             ซึ่งอิงจากสถานการณ์ข่าว พบว่ามีขยะที่มาจากการส่งอาหารออนไลน์ เช่น ถุงพลาสติก กล่องพลาสติกเเละพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นช้อน ส้อม ไม้จิ้ม ฯลฯ เพิ่มขึ้น 15% หรือราว 6,300ตันต่อวัน จากปกติที่ประเทศไทยผลิตขยะพลาสติก 2 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 1,500 ตันต่อวัน




    "จนเราเกิดความคิดขึ้นมาว่า ถ้าสถานการณ์ COVID-19 ยังดำเนินต่อเเบบนี้ประเทศไทยจะเป็นอย่างไร ?"



    จนกระทั่ง

     


    เมื่อวันก่อนขณะหาข้อมูลเราได้เจอโครงการน่าสนใจนึงขึ้นมา


    คุณวราวุธ ศิลปอาชา, รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมได้ริเริ่ม

     

                     โครงการ “ส่งพลาสติกกลับบ้าน”

     มันคือโครงการอะไรกัน ?

         

         จากการที่ได้ทำอ่านรายละเอียดออกมาเเล้ว สรุปได้ว่ามันเป็นโครงการที่ให้ทุกบ้านทุกครัวเรือนสามารถมีส่วนช่วยลดและจัดการปริมาณขยะพลาสติกที่เป็น single use ที่เราเรียกกันว่าพลาสติกที่สามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวที่เพิ่มขึ้นโดยใช้พื้นที่ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เกต เช่น เทสโก้ โลตัส, ห้างสรรพสินค้าอื่นๆ เป็นจุดรับขยะพลาสติกจากผู้บริโภค เพื่อส่งไปยัง “ Waste Hub แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการรีไซเคิล


    " เป็นโครงการที่ให้ทุุกบ้านทุกครัวเรือนมีส่วนช่วยลดเเละจัดการปริมาณขยะพลาสติกที่เป็น single use", 2563



              ซึ่งตัวเราเองคิดว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจมาก ในตอนเเรกนึกว่าประเทศไทยจะต้องประสบปัญหาขยะล้นประเทศ เนื่องมาจากปัญหาพลาสติก กลับกลายเป็นว่าทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมสามารออกโครงการที่ช่วยลดปัญหาขยะได้ นอกจากจะเกิดผลดีในด้านจัดการขยะเเล้วยังช่วยฝึกให้ประชาชนในสังคมสร้างจิตสาธารณะในการรับผิดชอบต่อส่วนรวม เเยกขยะก่อนทิ้ง เเถมพี่พนักงานเก็บไม่เสี่ยงติดเชื้อโรคอีกด้วย



    เริ่มจะมองเห็นข้อดีของการแยกขยะแล้วใช่มั้ยคะ

     


    บางคนก็คิดว่ามันยากเกินไปมั้ยสำหรับการแยกขยะในทุกๆวันเรามีอีกแคมเปญที่น่าสนใจมานำเสนอ

     

    Campaign : "งด เลือก ซ้ำ"



    1. การงดใช้พลาสติก single use เช่น ช้อนพลาสติก ส้อมพลาสติก  

            ทุกๆเเอพ Delivery จะมีฟีเจอร์สำหรับการกดรับช้อน-ส้อม หรือถุงพลาสติก ให้คุณกดปุ่มไม่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็ถือว่าสำเร็จไปอีกหนึ่งขั้น

    2. การเลือกสั่งอาหาร delivery  จากร้านที่ใช้ภาชนะเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมเเทนพลาสติก,โฟม


    เราจะเลือกยกตัวอย่างร้านที่นำแนวนี้ภาชนะรักษ์โลกมาใช้


       เช่น

                1) ร้าน Broccoli Revolutio, ถนนสุขุมวิท49 เเขวงคลองตันเหนือ

                                          ( จาก https://www.sanook.com/travel/1415537/ )

                           Broccoli  Revolution คาเฟ่ที่ปฏิวัติร้าน เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วยการเปลี่ยนจากหลอดพลาสติกมาเป็นหลอดที่ทำการก้านผักบุ้งที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ ซึ่งหลอดชนิดนี้ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายเพียงเเค่ 3-5 วันเท่านั้น

      

                 2) ขนมจีบอาเหลียง, จักรวรรดิกรุงเทพมหานคร


                                             (จาก https://www.sanook.com/travel/1415537/)

                         เป็นร้านขนมจีบที่ถือเป็นตำนานของคนเยาวราชกับสตรเเต้จิ๋วที่เปิดมานานกว่า 70 ปี ขนมจีบจะมีทั้งหมด 2 ไส้ คือไส้หมูที่ถือเป็นสูตรต้นตำรับตั้งแต่แรกเริ่มและไส้กุ้งที่เพิ่งคิดค้นเพิ่มเข้ามา ซึ่งขนมจีบทุกลูกที่สั่งจะถูกใส่มาในใบตองหอมกรุ่น ซึ่งใบตองเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องนำไปกลบฝังเช่นพลาสติก  



     

     3. การใช้ซ้ำ


    เราคิดว่าคงมีหลายท่านที่ยังจำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เนื่องจากการทำงานไม่สามารถ work from home อีกทั้งร้านอาหารต่างๆก็ไม่มีนโยบายให้ทานที่ร้าน take away ได้อย่างเดียวเท่านั้น เราจึงเสนอการใช้ซ้ำคือ พกภาชนะส่วนตัวไปร้านอาหารเลย เช่น กล่องสเตนเลสพร้อมฝาปิดมิดชิด, หลอดสเตนเลส,  ขวดน้ำเก็บอุุณหภููมิ เป็นต้น



    ทั้งหมดนี้ก็เป็นแคมเปญง่ายๆที่สามารถเริ่มด้วยตัวของคุณเอง การฝึกสร้างจิตสาธารณะไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ทุกคนภายในสังคมหันมาตระหนักถึงผลกระทบส่วนรวมมากกว่าส่วนตน นอกจากจะสร้างทัศนคติอันดีให้แก่คุณแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบปัญหาด้านการจัดการขยะภายในสถานการณ์COVID-19 ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวันอีกด้วย


                          อย่าลืมนะคะ

     

        งด     เลือก    ซ้ำ

     

    ขอให้ทุกคนที่ผ่านมาอ่านบทความนี้ได้รับสาระดีๆของเรานะคะ:-)



    เเล้วพบกันใหม่  สวัสดีค่ะ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
werapat (@werapat)
เนื้อหาอ่านง่าย ได้ใจความมากเลยครับ