เห็นเขาชวนไปทราเวลกันมามากแล้ว วันนี้มาเหนือ จะชวนไปไทม์ทราเวล ปะ!
ทวิภพ, โดเรมอน, Time Traveler's Wife, Life is Strange .etc ทำไมนิยาย หนัง เกม การ์ตูนหลายๆ เรื่องถึงชอบใช้ตีมหรือมีเรื่องราวประกอบเป็นการเดินทางข้ามเวลา? แล้วทำไมเราถึงชอบเรื่องสไตล์นี้ล่ะ? ในที่สุดก็ได้เขียนเรื่องนี้ เย่ อันที่จริงมีความคิดอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับไทม์ทราเวลในสื่อหนัง หนังสือ เพลง เกม อะไรแบบกว้างๆ มาสักพักแล้ว แล้วยิ่งโดนจุดประกายตอนได้เล่นเกม Life is Strange เมื่อ 2 เดือนก่อน (จริงๆ obsessed เกมนี้หนักมากก สามารถเขียนเป็นตอนเดียว (หรือหลายตอน) ได้เลย ไว้วันหลังเนอะ) เกมนี้มีอะไรฝากไว้ให้คีสพอสมควรโดยเฉพาะกับเราที่ชอบอะไรเกี่ยวกับไทม์ทราเวลอยู่แล้วมันโดนมาก เลยกลับมานั่งนึก เออ ทำไมเราถึงชอบและหมกมุ่นกับไทม์ทราเวลขนาดนั้นนะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชอบประวัติของสิ่งต่างๆ ล่ะมั้ง เลยอยากรู้ว่าหนัง เรื่องราวแต่ละเรื่องจะตีความมันแบบไหน แต่จะมาบอกเหตุผลแค่นี้แล้วจบบทความก็กระไรอยู่ วันนี้เลยจะมาว่าด้วยความหมกมุ่น (ของตัวเอง) กับเรื่องไทม์ทราเวลในเรื่องแต่งหลายๆ เรื่อง
เหมือนเดิม เรื่องที่มาพูดวันนี้ส่วนใหญ่เป็นความเห็นและการตีความของเราเอง ส่วนตัวไม่คิดว่าการตีความเรื่องทำนองนี้มีผิดหรือถูก ใครที่คิดไม่เหมือนกันก็ปกติเนอะ
เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้คนเราหมกมุ่นกับเรื่องราวการเดินทางข้ามเวลาโดยเฉพาะการย้อนอดีตที่อธิบายได้ง่ายที่สุดคือ เราอยากเดินทางข้ามเวลาเองนี่แหละ มนุษย์อยากทำอะไรที่ตัวเองทำไม่ได้ ไทม์ทราเวลดูเป็นเรื่องที่มนุษย์หมกมุ่นมานานและคาดหวังว่าจะได้เกิดขึ้นจริงๆ ดูอย่างตอนข่าวค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงเมื่อเดือนกุมภาก็กลายเป็นข่าวใหญ่โต ส่วนหนึ่งเพราะการคอนเฟิร์มทฤษฎีสัมพันธภาพของขุ่นพ่อไอน์สไตน์ที่มีอายุกว่าร้อยปี แต่อีกส่วนก็เพราะหลายๆ คนอยากรู้ว่าไอ้เจ้าเวลานี่มีอะไรมากกว่าที่คิดจริงๆ บางทีไทม์ทราเวลอาจจะไม่ไกลเกินเอื้อมก็ได้! แต่ Kip Thorne co-founder ของหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง LIGO (และนักฟิสิกส์ที่ให้คำปรึกษาโนแลนในหนังเรื่อง Interstellar) ตอบคำถามนี้ในงานแถลงข่าวว่าการค้นพบเมื่อเดือนกุมภาก็มิได้นำพาให้เราปิ๊งเรื่องไทม์ทราเวลได้เลยแต่อย่างใด ฮือ :(
และในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ที่ถนัดด้านวิทย์ม๊าก ก็จะขอตัดประเด็นนี้จบอย่างรวดเร็ว 555
พอการทำให้ไทม์ทราเวลเป็นจริงในโลกของวิทยาศาสตร์ โลกความเป็นจริง (ยัง)เป็นไปไม่ได้ ในโลกที่เปิดโอกาสให้ทุกอย่างอย่างโลก fictional เลยเต็มไปด้วยเรื่องทำนองนี้
อันที่จริงก็คงพอๆ กับเรื่องสไตล์สยองขวัญแหละเนอะ คนเราต้องการหาคำตอบให้กับเรื่องราวบางอย่าง โลก fictional เลยมาเป็นส่วนเติมเต็มส่วนนั้น
ดูเผินๆ พอเราใช้เหตุผลว่าการเดินทางข้ามเวลามันช่วยตอบโจทย์ความต้องการคนมันก็ใช่นะ แต่อาจจะกว้างไป ส่วนหนึ่งมันก็เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของผู้เขียนกับผู้อ่านในแต่ละบริบทด้วยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ ประมาณว่าฮีโร่ของเรื่องไปช่วยกอบกู้บางอย่างหรือไปมีส่วนร่วมกับเรื่องที่เราเชื่อว่าเกิดขึ้นจริง พออ่านหรือดูก็รู้สึกตื่นเต้น
เช่นการอ้างเหตุการณ์ที่ชัดเจนเพื่อตอบรับกับเวลาที่เขียน อย่างเรื่องทวิภพ นางเอกก็ไม่ได้ย้อนเวลาไก่กาอาราเล่กลับไปเวลาไหนก็ได้ แต่เธอย้อนไปในช่วงที่ไทยมีปัญหากับฝรั่งเศส (ร.ศ.112) ประจวบเหมาะกับที่นางมีความสามารถด้านภาษาก็เลยได้เข้าไปมีบทบาท คนอ่านก็เกิดอาการอินฟินตามๆ กันไป
นิยายไทยอีกเรื่องที่ป๊อปพอสมควรอย่างเรื่อง บุพเพสันนิวาส ที่ตัวละครเดินทางข้ามเวลาผ่านจิตวิญญาณและภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด ประมาณว่าชาติก่อนเคยเป็นใครทำนองนี้ก็ย้อนเวลาไปในเหตุการณ์ที่ specific อย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้วได้เข้าไปมีบทบาทหรือได้เห็นการตัดสินใจของตัวละครในประวัติศาสตร์บางตัว (เช่นการช่วยท้าวทองกีบม้าตั้งชื่อขนมทองหยิบทองหยอด)
หรือบางเรื่องที่เราจำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร แต่เคยพูดกับใครสักคนมาก่อนว่ามันมีเรื่องทำนองว่า มีคนย้อนเวลาไปฆ่าฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการนาซีประมาณช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อจะได้ไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นกับคนหลายล้านคน โดยเฉพาะชาวยิวที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
การ์ตูนเรื่อง Billy Bat ของ Naoki Urasawa (คนวาด Pluto, 20th Century Boy, Monster) กับ Takashi Nagasaki ก็เล่นไอเดียเรื่องเวลาเยอะมาก สนุกดี หลักๆ ไม่ได้โฟกัสที่ไทม์ทราเวลแต่ไอเดียเรื่องเวลานางยิ่งใหญ่มาก อ่านแล้วงงและดูมีการสมคบคิดเต็มไปหมด
พูดเรื่องไทม์ทราเวลแล้วคงไม่พูดถึงเรื่อง Dr.Who ที่เล่นกับคอนเซปต์เวลาตลอด กระโดดไปเวลานั้นเวลานี้ อันนี้อาจจะไม่ได้มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ แต่นางแหวกมากคือให้ประวัติศาสตร์มีส่วนร่วมกับคนดู ตัวอย่างฉากนี้ที่เราชอบมาก
VIDEO
เป็นฉากที่ด็อกเตอร์พาแวนโก๊ะมาดูงานตัวเองปี 2010 ที่มีคนชื่นชมผลงานเยอะมาก ในขณะที่ในพีเรียดเวลาของแวนโก๊ะเขาไม่ได้รับการสนใจเท่าไหร่ เราชอบที่ฉากนี้คนที่ดูงานส่วนใหญ่จะเห็นเป็นเด็กๆ เหมือนแสดงให้เห็นว่างานของแวนโก๊ะเป็น legacy ที่จะส่งต่อรุ่นสู่รุ่นไปเรื่อยๆ ดูคลิปเดียวก็จะน้ำตาแตกแล้ว แง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in