เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Vantage PointTeepagorn W.
On Disruption
  • กำลังอ่าน (ฟัง) หนังสือเรื่อง Throwing a rock at the Google Bus ซึ่งเป็นปัญหาเรื่อง (เดิม) ที่ว่า Startup มันมา disrupt วงการต่างๆ โดยไม่ค่อยคิดถึงผลดีผลเสียของสังคม (คือเป็น solutionist - มองทุกอย่างเป็นโจทย์ปัญหา โดยที่ไม่ได้คิดตัวแปรอื่นๆ ที่อยู่รายล้อมเข้ามาด้วย) แล้วก็ชวนให้คิดถึงปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่เปิดกันนี่แหละ ว่า Startup อย่าง Google (YouTube) Deezer Apple (iTunes) ก็ทำแบบนี้กับวงการเพลงเหมือนกัน

    เช่นเดียวกับวงการหนังสือ คือมีการตัดทอนตัวกลางออกไป แล้วสวมรอยเข้ามาเป็นตัวกลางแทนโดยที่ให้ผลตอบแทนกับปลายทางน้อยลงมาก การดิ้นเก็บค่าลิขสิทธิ์นั้นดูจะไม่สมเหตุสมผลหากมองในมุมผู้ฟัง แต่ในแง่ความอยู่รอดของค่ายเพลงหรือศิลปินแล้วก็อาจเป็นสิ่งที่เขาต้องเลือกทำ (แม้รู้ว่าจะถูกด่า)

    เราคิดว่าคำว่า Disrupt ของ Startup มักมาพร้อมกับการลดขั้นตอน หรือลดแรงเสียดทานใน transaction ใดๆ เช่น ตั้งโจทย์ว่า "ทำไมหนังสือ จากมือคนเขียนมาสู่มือคนอ่านต้องผ่านขั้นตอนหลายชั้นจัง" (Amazon) "ทำไมเพลงต้องกระจายผ่านสถานีวิทยุ" ฯลฯ โดยมักจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันด่วน ทำให้สายพานของงาน และสายพานของรายได้ มันเปลี่ยนแปลงตามไม่ทัน คนที่เคยมีรายได้ตรงกลางสายพาน (ซึ่ง Startup อาจมองว่า เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากความไม่มีประสิทธิภาพของระบบ) ก็มักจะสูญเสียรายได้จากการ 'optimize' สายพานของ Startup เสมอ ยิ่งงานของคุณ 'ซ้ำซ้อน' 'เป็นส่วนเกิน' 'ทดแทนได้' มากเท่าไหร่ คุณก็จะถูกแทนที่หรือตัดออกจากระบบเร็วเท่านั้น

    จึงทำให้คิดว่า Startup มักฝันถึง 'อนาคตที่ดีกว่า' แต่ไม่ค่อยปูทาง 1 2 3 4 5 เป็นขั้นตอน เป็นสโลปง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนไปถึงอนาคตที่ดีกว่าอย่างพร้อมเพรียงกันเท่าไหร่ พอมันเปลี่ยนอย่างฉับพลันทันด่วน ก็จะมีคนตกขบวน ซึ่งคนที่ตกขบวน ก็มักเป็นคนที่อยู่บนเส้นความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยี (ซึ่งหลายครั้ง มันมาจากความไม่เท่าเทียมแบบคลาสสิก เช่น ทางทุน ทางการศึกษา) เสมอๆ
    หนังสือมันก็ imply ประมาณนี้นะ เราก็คิดเอาเองสองย่อหน้าหลัง แต่เป็นหนังสือที่สนุกเลย ใครชอบอะไรแบบนี้ขอแนะนำ
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in