สวัสดีค่ะนักอ่านทุกท่าน
วันนี้จะมารีวิวหนังสือเรื่อง "เลิกเป็นคนดีแล้วจะมีความสุข" เขียนโดย "โกะโด โทคิโอะ"
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่พูดถึงคำว่า "คนดี" แต่แน่นอนคนดีในที่นี้หมายถึงคนที่ทำตัวเองให้เป็นที่นิยมชมชอบเพื่อไม่ให้คนอื่นเกลียด เพราะว่า ทุกคนย่อมต้องการเป็นที่ชื่นชอบและการไม่ถูกใครเกลียดนั่นคือสิ่งที่ทำให้เราสบายใจถึงแม้ว่าหนังสือนี้จะเป็นของญี่ปุ่นแต่ทว่า กลับมีความละหม้ายคล้ายคลึงกับบริบทของสังคมไทยอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณธรรม ศีลธรรม ค่านิยม ความเชื่อ จารีตและลำดับอาวุโส ฯลฯ การบอกเล่าเรื่องของคนดีนั้นล้วนเป็นสิ่งที่สวนกับทางที่สังคมคาดหมายไว้ เพราะใครๆก็ล้วนแล้วแต่อยากเป็นคนดี แต่การที่เราจะเป็นคนดีได้นั้นเรารู็จักตัวเราดีพอรึยัง เราสามารถเป็นคนดีของสังคมได้แต่ภายในใจเรายังอึดอัดใจอยู๋ไหม คำแนะนำในหนังสือที่เด่นๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับชาวไทยเช่นเราๆ ก็อย่างเช่น ให้เราเลิกใช้ชีวิตในสังคมที่ถูกสร้างขึ้น ตัวอย่างของสังคมประเภทนี้ก็คือ สังคมที่โรงเรียน ซึ่งสุ่มเลือกให้เด็กหลายๆ คนมาอยู่ร่วมกัน ไม่จำเป็นเลยที่เราจะต้องเข้ากันได้กับทุกคน เพราะเราไม่ได้เลือกที่จะอยู่ในสังคมแห่งนี้ ดังนั้น เราควรกำหนดคนที่เราควรตัดออกจากชีวิต และคบคนที่ใช้ชีวิตในแนวทางเดียวกันกับเรา คนที่ทำเช่นนี้ได้ก็จะได้ใช้ชีวิตท่ามกลางกลุ่มคนที่เราต้องการ ส่วนคนที่ทำไม่ได้ก็จะหลุดพ้นจากความกดดัน การผูกมัด หรือสายตาของผู้อื่นไม่ได้ นอกจากนี้แล้วหนังสือเล่มนี้ยังยังสนับสนุนให้เราจริงใจกับตนเอง ค้นหาตนเองจนรู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร และเลือกใช้ชีวิตตามความต้องการอย่างแท้จริงของตัวเองแม้ว่าผู้อื่นอาจไม่เห็นด้วย เลิกใส่หน้ากากหรือปั้นยิ้มเสแสร้งเข้าหาผู้อื่นเพียงเพราะความจำเป็นหรืออยากมีเพื่อนเยอะๆ เข้าไว้ เราไม่จำเป็นต้องมีเพื่อนเยอะตามที่สังคมคาดหวังก็ได้ ยิ่งเมื่อเราต้องเข้ากลุ่มสังคมเราก็ยิ่งต้องรักษาระยะห่าง และไม่เข้าไปพัวพันมากเกินจำเป็น เพื่อนที่คุยกันได้อย่างสนิทแนบชิดนั้น มีแค่คนเดียวก็ถือว่าพอแล้ว ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการค้นหาและรู้จักตัวเราในสังคมไทยๆแบบนี้ เมื่อกล้ายืนหยัดความคิดของตัวเอง กล้าที่จะปฎิเสธสิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่ทำไม่ได้ และสิ่งที่ทำไม่ไหว เราก็จะไม่ต้องเสแสร้ง ไม่อึดอัดและไม่ถูกคนอื่นเอาเปรียบอีกต่อไป
ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาอีกเยอะแยะมากมายท่เราสามารถเอามาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่เด็ก วัยเรียนวัยทำงาน จนถึงวัยหลังเกษียณ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in