เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ears' blessingspraewphrao
The Wytches: Annabel Dream Reader ความมืดมนแห่งวงการเพลงใต้ดิน
  • สวัสดีค่ะ ก็พบกันใหม่อีกครั้งกับช่วงขายเพลง
    วันนี้เราจะมาเสนอวงโปรดของเรา: The Wytches นั่นเองค่ะ
    L-R: Mark Breed (Keys, guitar), Gianni Honey (Drums), Kristian Bell (Lead vocals, guitar), Dan Rumsey (Backing vocals, bass) 
    ชื่อศิลปิน: The Wytches
    สัญชาติ: Brighton, England
    ปีเข้าวงการ: 2011
    แนวเพลง: Psychedelic rock, garage rock, surf doom
    อัลบั้ม: Annabel Dream Reader (2014), All Your Happy Life (2017)
    EPs: Thunder Lizard's Reprieve (2015), Home Recordings (2016)

            "ราวกับหนังสยองขวัญในห้วงทำนองเพลง" The Wytchesสามารถเล่าเรื่องราวผ่านเสียงเพลงและพาผู้ฟังดำดิ่งลึกลงไปในโลกของพวกเขาได้อย่างสมบูรณ์แบบ

    ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ยิ่งกับsoundดิบๆที่หาที่ไหนไม่ได้ กีต้าร์ที่เน้นการบิดเจ้าwhammy bar
    และเอฟเฟกต์ที่ติดหู
    ความดิบ เถื่อน แต่อ่อนไหวของวงเจ้าอารมณ์จากเกาะอังกฤษอย่างthe wytchesทำให้วงนี้คว้าใจใครไปได้หลายๆคนเลยทีเดียว

    หลังจากอัลบั้มเดบิวต์Annabel Dream Readerที่พึ่งวางแผงไปเมื่อปี2014วงนี้ก็เป็นที่น่าจับตาของ
    ชาวกรั้นจ์อยู่พักใหญ่ๆ ไม่เพียงแต่เนื้อเพลงที่นอกจากจะอ่อนไหว สวยงาม แถมยังมีเนื้อหาที่ส่วนตัว สัมผัสได้ เสียงเพลงและทำนองเองก็เช่นกันที่สามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้อย่างเฉพาะตัวจนน่าขนลุก

            การที่จะนิยามวงวงนี้ได้ถือเป็นเรื่องที่ยากพอควร ไม่ใช่เพราะแนวเปลี่ยนไปเรื่อยๆแต่เพราะมี
    เอกลักษณ์มากเกินไปต่างหาก ความแปลกใหม่ในซาวด์ช่างขัดแย้งกับชื่อวงที่แสนจะธรรมดาอย่าง
    the wytches แต่ใครจะไปนึกถึงว่าซาวด์แบบนี้แหละที่ควรคาดหวังจากวงร็อคชื่อ'พวกแม่มด' 

    "Not goth nor punk but more like a retro horror-movie-themed aggressive garage tune or what a depressed ghastly and isolated zombie would sing along to."


               originally a three-piece

    สำหรับอัลบั้มที่จะมาพูดถึงในวันนี้ เชิญพบกับ
    ชื่ออัลบั้ม: Annabel Dream Reader
    ปีที่ออก: 2014
    คะแนน: 10/10 และหัวใจสิบดวง ❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️

                   A debut which doesn't sound like a debut, ด้วยความรักในเทปอัดเสียง คริส ร่วมมือกับBill Ryder-Jones ทำอัลบั้มนี้ให้ออกมาlo-fi ไม่ทิ้งความดิบของgrunge บวกกับแรงบันดาลใจ
    เหลือล้นจาก Misfits, Cramps, Nirvana's Bleach, Jack White หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Humbug จาก Arctic Monkeys ซึ่งเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่โปรดปรานที่สุดของคริสเตียน ฟรอนท์แมน นั่นเอง

    จุดที่ชอบของอัลบั้มนี้นอกจากเรื่องซาวด์คือเนื้อร้อง ความสวยงามและจริงใจของแต่ละท่อน
    และตัวละครลึกลับอย่างAnnabelที่หยิบมาพูดถึงบ่อยๆก็เป็นจุดที่น่าสนใจเช่นกัน
    เหมือนaudiobookยาวกว่า50นาทีเวอร์ชั่นสเปเชียลฮัลโลวีนที่มีเรื่องราวมากกว่าแค่ตัวหนังสือ

    *not in order | * = recommended
    เริ่มด้วยแทรคแรก Digsaw

    เพลงนี้ถือว่าเป็นเพลงเปิดที่bad assมากและเยี่ยมมากในฐานะเพลงเปิดถ้าฟัังalbum version(ซึ่งไม่เหมือนในวิดีโอนี้)
    แค่เพลงเปิดนั้นก็สื่ออารมณ์ออกมาแล้วว่าthe wytchesเป็นยังไง สัมผัสได้ถึงความดิบหยาบของเพลง
    (และวิดีโอ) 
    เพลงขึ้นต้นด้วยริฟกีต้าร์ อัดแน่นด้วยความรุนแรงแทรกผ่านเสียงดนตรี
    ไฮไลท์อยู่ที่นาทีสุดท้ายของเพลง โซโลกีต้าร์ที่ลื่นไหล ฟังแล้วสบายหูอย่างน่าประหลาด

    ความก้าวร้าวยังดำเนินต่อไปกับthe wytches
    แค่ชื่อเพลงก็กินใจแล้ว
    เพลงสำหรับเปิดคลอๆafter partyงานวันฮัลโลวีนตอนเมาได้ที่ สติหลุดเหมือนถูกเล่นของ อย่าง Gravedweller และ Burn Out the Bruise หรือ Beehive Queen (**)
    การdriftจังหวะลงมากลางเพลงที่เป็นไฮไลท์ จังหวะที่ปะทะกันอย่างอลหม่าน และไลน์เบสอันหนักหน่วงของGravedweller
    ริฟน่าโยกและความว้ากที่บ้าคลั่งของBurn Out the Bruise
    หรือจะเสียงร้องเหมือนจะขาดใจตายและการจบเพลงที่สะอาดสะอ้านและกระแทกใจผิดกับเพลงอื่นๆอย่างBeehive Queen
    ล้วนแต่ให้ความรู้สึกเหมือนแก๊งคุณผีมาเลี้ยงรุ่นกันที่สุสานก็ไม่เชิง



    การเปลี่ยนอารมณ์กลางเพลงเหมือนจะเป็นเรื่องถนัดของthe wytches
    อย่างแทรคWire Frame Mattress(**) ที่มีการเร่งจังหวะขึ้นกลางเพลงอย่างฉับพลันตามสไตล์psychedelic
    ด้วยท่อนฮิตอย่าง "You sit there and laugh while my dignity collapses"
    ที่เป็นประโยชน์ต่อคนดูอย่างมากในการร้องตามวงแบบนี้ 

    และเพลงบ้าๆสุดท้ายก่อนที่ความเศร้าจะพัดกระห่ำมา
    ขอเสนอ Robe For Juda(***) ซึ่งเป็นเพลงแรกที่ทำให้เราได้มาเจอกับวงนี้
    เพลงนี้รวมความบ้าสารพัดมารวมไว้ด้วยกัน ดูแค่วิดีโอก็รู้แล้ว
    ด้วยการเปลี่ยนจังหวะไปมาช้าไปเร็วบวกกับความเละเทะที่มีแบบฟอร์ม ทำให้เพลงนี้เป็นหนึ่งในเพลงที่เราชอบที่สุดจากthe wytchesเลยทีเดียว

                               จบไปแล้วกับพาร์ทแรกของthe wytchesที่รวบรวมความบ้าคลั่งและเกรี้ยวกราด
    เหมือนเด็กใจแตกหนีแม่มาตั้งวง แต่ความบ้านี้ไม่ใช่อย่างเดียวที่ทำให้วงนี้กลายเป็นวงโปรดของเรา เพราะความอ่อนไหวและความเศร้าจนใจหายภายใต้ดนตรีร็อคที่แม่มดพวกนี้เสกขึ้นมาก็เป็นอีกปัจจัยนึงที่ทำให้คนตกหลุมรักวงนี้ได้ง่ายๆ

    มาด้านอ่อนไหวของthe wytchesกันบ้าง เริ่มด้วยเพลงอย่างWide at Midnight(***)
    ซึ่งเหมือนเพลงในงานพรอมโรงเรียนซอมบี้ หวานขม และโหยหวน การกระแทกเครื่องดนตรีตู้มเดียวปิดท้ายนั้นเป็นไฮไลท์ของเพลงนี้เลย ความทุกข์ที่สุขตีกันไปมาผ่านเครื่องดนตรีสามชิ้น
    และการตัดจบเพลงแบบดิบๆสไตล์the wytches

    ต่อมาด้วยCrying Clown(**)
    Graveyard girl swinging her bag like a pendulum. 
    ด้วยอารมณ์ที่หนักหน่วงของเพลงนี้ คลุ้งไปด้วยความหม่นหมองของคอร์ดกีต้าร์และการสตรัมจาก
    ล่างขึ้นบน ทำให้เพลงนี้เศร้าอย่างประหลาด

    "The Wytches are the band you need if you like to cry-dance."ーBrenna Ehrlich, MTV

    ต่อด้วยสองเพลงโปรดส่วนตัวที่เศร้าที่สุดของอัลบั้ม
    Weights and Ties(*****)

    ล่องลอย แต่สิ้นหวัง
    อินโทรกระตุกต่อมน้ำตา
    เป็นเพลงที่สื่อได้ถึงเจ้าของเพลงอย่างแท้จริง เหมือนเสียงดนตรีที่จับต้องได้
    ราวกับดอกกุหลาบที่โดนเหยียบย้ำแต่ยังคงความแดงสด
    การบิดwhammy barไปมากับvocalเพิ่มเอฟเฟกต์reverbมากกว่าปกติของเพลงนี้ทำให้ซาวด์มี
    เสน่ห์ในตัวของมันเองมาก

    และเพลงโปรดที่สุดแล้วในอัลบั้มนี้ Summer Again (*******ให้กี่ดาวก็ไม่พอ)
    now you're a dream I'm too scared to have
    ความเหงาที่ลงตัว
    รักฤดูร้อนสไตล์the wytches
    เป็นเพลงที่สื่อความหมายผ่านทำนองได้ออกมาทรงพลังมากจริงๆ ความเศร้าทั้งหมดถลาเข้ามาและกระแทกใส่หน้าท่อนกลาง พร้อมกับโซโลและเสียงออร์แกนที่โหยหวนชวนให้ไปต่อยกำแพง
    เป็นเพลงเศร้าที่ช่วยเติมเต็ม เป็นเพลงเศร้าที่ถ้าขาดไปชีวิตจะไม่มีความสุข

    Live version. Fresh music with lonely hearts in a world of a never ending gloomy Summer.
    สุดท้ายปิดอัลบั้มกับแทรคacousticอย่าง Track 13
    ซึ่งก็เป็นธรรมดาของวงร็อคที่จะเอาเพลงเบาๆจบอัลบั้ม แต่เพราะความเป็นthe wytches เลยยังคงความหนักหน่วงเอาไว้ในท่วงทำนอง 
    แทรคนี้พูดถึงAnnabelครั้งสุดท้าย 

    On my birthday I scream
    “Everyday’s a bad dream
    Or a story to sell but stop reading me Annabel"

    เป็นการปิดอัลบั้มที่ทั้งสวยงามและมีความหมายในแบบของthe wytchesจริงๆ

    (ปล. เราเคยทำcoverเพลงนี้ด้วยนะ https://soundcloud.com/praewnicharee/track-13 )
    ?

    โดยรวม: 

    การเรียงแทรคจากหนักไปเบา จากบ้าไปเศร้า เป็นเรื่องธรรมดาของวงร็อคแต่วงนี้ห่างไกลคำว่าธรรมดามากมาย
    ทำนองอันโหดร้ายและโหยหวนราวกับกำลังมาราธอนดูหนังสยองขวัญคืนวันศุกร์ที่13 แต่ก็อ่อนไหวอย่างน่าเหลือเชื่อทั้งกับเนื้อเพลงและเสียงกรีดร้องของกีต้าร์

    เป็นวงที่คุณอาจจะต้องการในชีวิตไม่ลองฟังสักครั้งไม่รู้


    presented to you, The Wytches.

    เจอกันบล็อกหน้าค่ะ 

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in