เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
MovietrooperNitipoom K.
มองหนังไทยในสายตาคนเขียน "แรกดู Part1"
  •    *ออกตัวไว้ก่อนว่าผู้เขียนไม่ได้มีความรู้ด้านภาพยนตร์ใดๆมากมาย เพียงแต่แสดงทัศนะตามที่ผู้เขียนรู้เท่านั้น พร้อมรับฟังความคิดเห็นต่างๆและศึกษาด้านภาพยนตร์ต่อไปเพื่อพัฒนาวงการภาพยนตร์ไทย


        พูดถึงภาพยนตร์ไทย หลายคนต้องนึกถึง GTH หรือ GDH ในปัจจุบัน บางคนอาจจะนึกถึงคุณพชร์ อานนท์ ที่สร้างภาพยนตร์ตลกหลากหลายแนวที่มีทั้งเสียงตอบรับที่ดีและแย่ในเวลาเดียวกัน บางคนอาจนึกถึงพี่เป็นเอก ,พี่เจ้ย ที่ทำภาพยนตร์ที่ดังไกลไปถึงระดับโลก แต่มีคนไทยเพียงไม่ถึงครึ่งที่รู้จักผลงาน และอีกหลากหลาย 

         มองอะไรเพื่อพัฒนา เราต้องเริ่มมองจากที่รากฐานที่พื้นฐานและทุกคนเข้าถึงง่ายที่สุด ในวงการภาพยนตร์ รากฐานที่ผมมองเห็นคือ "ภาพยนตร์ทีวี" 
        "ภาพยนตร์ทีวี" ในที่นี้ประกอบด้วย ละครทีวีและซีรีส์ (ความจริงละครก็เป็นซีรีส์ได้ แล้วแต่การใช้คำและจริตของผู้สร้าง) 
         ภาพยนตร์ทีวีได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในไทย เพราะสามารถเข้าถึงได้ง่าย ใครๆก็ดูได้ หลังข่าวภาคค่ำก็มาแล้ว มีให้ได้รับชมทุกวัน มีการแข่งขันกันในหลายช่องทีวี ที่สำคัญคือฟรีและเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมป็อปของไทยมานาน 

         อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัย ละครที่ลุงป้าพ่อแม่พี่น้องชาวไทยดูกันทุกคืน เม้าท์กันทุกเช้าที่เจอกัน มันจะเกี่ยวอะไรกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ย้อนกลับขึ้นไปย่อหน้าบนและอ่านประโยคที่ขีดเส้นใต้เน้นไว้อีกครั้งหนึ่ง อ่านแล้วมาอ่านย่อหน้าถัดไปต่อ 

         ด้วยความที่ "ใครๆก็ดูได้" + "มีให้ได้รับชมทุกวัน" ทำให้เด็กๆหลายๆคนก็ได้ดูละครทีวี ซีรีส์ที่พ่อแม่ลุงป้าเปิดดู ซึ่งทำให้ภาพยนตร์เรื่องแรกๆในชีวิตของเด็กไทยหลายๆคนเป็นละครไทย 
         เป็นอย่างนี้ไปหลายๆรุ่น ทำให้ทุกคนในไทย อย่างน้อยต้องเคยผ่านละครไทยจังๆอย่างน้อย 4-5 เรื่อง 
          
          ตอนนี้สองข้อมูลแรกของเราที่มีคือ "คนไทยต้องเคยผ่านละครไทยอย่างน้อย 4-5 เรื่องในชีวิต" และ "คนไทยส่วนใหญ่ดูละครไทย" แล้วยังไงต่อล่ะ?

           พูดถึงละครไทย ผู้อ่านทุกคนนึกถึงอะไรกันบ้างครับ ผมเคยเขียนเล็กๆน้อยๆถึงละครไทยใน ละครไทยไม่แพ้ใครในโลก เมื่อประมาณหนึ่งปีที่แล้วครับ มาถึงตอนนี้จะนึกถึงอะไรได้บ้าง มาไล่นึกกันครับ 

            -  ทำมาจากบทประพันธ์
           ทั้งโลกมีเหมือนกันหมด คือภาพยนตร์ ซีรีส์ที่ทำมาจากบทประพันธ์ เพราะฉะนั้นข้อนี้บินไป
            - ดราม่าก็แร้งแรง 
            เนื้อหาพวกแย่งผัวเมียนี่ยิ่งเป็น Category ที่ฮิตติดลมบนมากๆ คุยกันนิดๆหน่อยๆก็ตบกัน โขกสับทารุณ ผู้ชายในละครแนวนี้จะโง่มากๆ พูดว่ามาร์ธ่าก็ไม่เลิกตบกัน
            - โรแมนติกสัสๆ
             บางทีแค่ล้มทับก็จับข่มขืนกันเป็นโลมา ต้องทะเลาะกันไม่เข้าใจกันก่อน ทารุณใช้งาน ข่มขืนทุกวัน สุดท้ายก็รักกันจนน้ำเน่า ถ้ายิงกันนี่ต้องมีกระโดดบังกระสุนให้กัน ให้เลือดกันข้างๆเตียงกันเลยก็มี ความรักนี่เหนือความเกลียดชัง ความถูกต้องทางการแพทย์และความสมเหตุสมผลใดๆทั้งสิ้นจริงๆ
             - สะท้อนการศึกษาไทย 
             จากหัวข้อดราม่าแร้งแรง ทิ้งท้ายไว้ว่า ผู้ชายในละครแนวนี้จะโง่มากๆ ครับ สะท้อนการศึกษาไทยแท้ๆ ทั้งที่บางทีพระเอกก็ร่ำรวย เรียนจบสูง แต่ทำไมกันถึงคิดไม่มากพอกันล่ะ 
             จะมีตัวเอกอีกหนึ่งจำพวกที่สะท้อนการศึกษาไทยที่เรียนจบสูงเหมือนกัน แต่แยกผู้หญิงปลอมตัวเป็นผู้ชายไม่ออก ทั้งๆที่นมก็ใหญ่เท่าหน้า แต่ถึงนมไม่ใหญ่ (อาจเพราะพันรัดนมไว้หรือไม่ก็นักแสดงนมเล็กกว่าพระเอก) มองหน้าผ่านๆก็รู้แล้วรึเปล่าว่ามันไม่ใช่ผู้ชาย ติดหนวดพูดฮะไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชายทุกคนนะครับ 
             - วิชวลเด่นเป็นสง่า ยิงโดนไม้ตระการตา
             มุมภาพไม่ว่าจะช่องไหนก็จะคล้ายๆกัน แต่โทนภาพคือช่องใครช่องมัน ซึ่งรักไม่ยอมเปลี่ยนโทนมากๆ 10 เรื่องจะมีเปลี่ยนโทนเรื่องหนึ่ง 
             CG นี่งดงามตระการตา ยิ่งกว่าหนังไมเคิล เบย์ กราฟิกเสือลอยออกมาจากจอจริงๆ เหมือนดูระบบ IMAX3D ระเบิดนี่จริงยิ่งกว่าของจริง
             - ปู่ดูโกโบริ หลานก็ดูโกโบริ          
             รีเมคบ่อยมาก ตัวอย่างง่ายๆก็คู่กรรม ที่มีหลายเวอร์ชั่นมากๆ บทก็ไม่ได้พัฒนาใดๆทั้งสิ้น โกโบริก็ตายทุกเวอร์ชั่น ฉากหลบระเบิดกลางทุ่งต้องมี ฉากทางช้างเผือกต้องมา ปู่ได้ดูไม่ต้องเก็บฟิล์มไว้ เดี๋ยวหลานก็ได้ดูเวอร์ชั่นใหม่          
             - เนื้อเรื่องไม่เป็นหลัก เรื่องรักเป็นที่หนึ่ง                ส่วนมากฉากแต่งงานต้องมี อย่างน้อยต้องมีสองคู่ที่รักกัน         
             - คนนี้จองพระ คนนั้นหมอ อีกคนตำรวจ ตอนจบต้องมีพระเทศน์ไม่ก็ตัวร้ายเป็นบ้า ยังไงต้องได้รับผลกรรมแน่นอน

           จะเห็นได้ว่าคนไทยเราคุ้นชินกับละคร ซึ่งส่วนมาก จะมีบทและมิติตัวละครที่ตื้นแท้แบบไม่ต้องหยั่งตีนลงไปตรวจก็รู้ว่าตื้น เดาตอนจบได้ตั้งแต่เริ่มเรื่อง การกระทำของตัวละครที่งี่เง่าเมาไม่ผ่านด่านแบบนี้
           เมื่อคุ้นชินต่อมาอีกเลเวลคือ "เคยชิน" พอถึงเลเวลเคยชินแล้ว เราก็จะเห็นว่าเป็นความ"ปกติ"ของละคร แบบนี้แหละละครไทย พอเห็นอะไรที่แตกต่างไปจากความ"ปกติ"แล้ว เราก็จะต่อต้านอะไรที่ "ผิดปกติ" ซึ่งรวมไปถึงความแปลกใหม่จากเดิม 
           เริ่มเห็นความเชื่อมโยงแล้ว แต่เราคงต้องมาต่อกันในพาร์ทหน้า เนื่องจากความยาวที่มากเกินไปของบล็อก โปรดติดตามพาร์ทต่อไป สวัสดีครับ
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in