คาดว่าคนรุ่นใหม่ที่เกิดหลังปี 2530 เป็นต้นมา (หรือใครก็ตามที่เกิดก่อนหน้านี้แต่ยังจำความไม่ได้) คงเคยได้ยินวลีที่ว่า ‘ไทยเป็นเสือตัวที่ห้าของเอเชีย’ มาบ้าง ภาพบรรยากาศที่เศรษฐกิจไทยก้าวกระโดด GDP ของประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่อง และฝันว่าจะสามารถหลุดพ้นจากประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศพัฒนาแล้ว เช่นเดียวกับกับสิงคโปร์ หนึ่งเดียวในอาเซียนที่มีฐานะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ผู้คนมากมายพากันเล่นหุ้นหรือเก็งกำไรจากอสังหาริมทรัพย์ รถหรูอย่าง Mercedes Benz และ BMW วิ่งโลดแล่นอยู่บนท้องถนนเป็นภาพที่เห็นได้ง่ายๆ ใครๆ ก็ถอยรถใหม่ และใครๆ ก็สามารถเป็นเศรษฐีได้เพียงพริบตา แต่ภาพความสวยงาม ความร่ำรวยและความสุขสันต์ต่างๆ ก็มอดไหม้อย่างรวดเร็ว เมื่อพิษเศรษฐกิจถูกฉีดเข้ามาอย่างไม่ทันตั้งตัว จากมหาเศรษฐีร่ำรวยล้นฟ้า กลายเป็นไม่เหลืออะไร ภาพบริษัทนับสิบนับร้อยถูกปิดตัวลงอย่างรวดเร็ว ยอดคนตกงานพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ – หลายคนจำภาพนั้นได้ดี และหลายคนก็ยังไม่ฟื้นตัวจากพิษเศรษฐกิจนี้ แม้จะผ่านมาแล้ว 20 ปีก็ตาม (ที่มา : https://waymagazine.org/20-yrs-tyk-crisis_1/)
ฟังดูมีลางความเลวร้ายเเล้วใช่ไหมละ ... เรามาดู 5 ตัวละครสำคัญของงานนี้กันดีกว่า
เริ่มที่
ทนง พิทยะ
11 วันหลังเข้ามาทำภารกิจ "ช่วยชาติ" ตามการต่อสายส่งเทียบเชิญข้ามประเทศจาก พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี
นายทนง พิทยะ รมว.คลัง(ในขณะนั้น) ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท หรือเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทจากระบบคงที่ เป็นระบบลอยตัวแบบมีการจัดการ เขาระบุว่าที่กล้าตัดสินใจเพราะ "ไม่ใช่นักการเมือง" นั่นคือจุดเริ่มต้นของ "วิกฤตต้มยำกุ้ง" ที่ลามไปทั่วเอเชีย
ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายทนงในฐานะนายธนาคาร เห็นสัญญาณไม่ปกติจากการแห่ถอนเงินออกจากธนาคารทุกสัปดาห์ ทว่าคำยืนยันของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ "สถานการณ์ยังจัดการได้"
หลัง ธปท.ต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินครั้งใหญ่-ครั้งสุดท้ายในเดือน พ.ค. 2540 นายธนาคารทุกคนได้รับเชิญให้ไปรับประทานอาหารร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ รมว.คลัง (ขณะนั้น) และนายเริงชัย มะระกานนท์ ผู้ว่าการ ธปท. ณ โรงแรมแห่งหนึ่ง ฟังคำประกาศจากนายอำนวยที่ว่า "ตอนนี้เราป้องกันค่าเงินบาทได้สำเร็จแล้ว สามารถเอาชนะการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติได้แล้ว"
แต่ในมุมของนายทนง นั่นคือการผลักต่างชาติกับไทยเข้าสู่ภาวะ "เงื่อนตาย" (dead lock) และตอกย้ำว่าเศรษฐกิจไทยถึง "ทางตัน" เมื่อเขามีโอกาสเห็น "ตัวเลขจริง" หลังเข้ารับหน้าที่ขุนคลัง เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2540
จากนั้นขุนคลัง-ผู้ว่าแบงก์ชาติได้จับเข่าคุยกันถึง วัน ว. เวลา น. ในการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทได้เร็วที่สุด ข้อเสนอของนายทนงคือวันจันทร์ที่ 30 มิ.ย. แต่นายเริงชัยโต้แย้ง
"ท่าน (นายเริงชัย) ก็บอกว่ามันจะมีปัญหากับธนาคารพาณิชย์ เพราะอัตราการแลกเปลี่ยนจะขยับไปทันที เสร็จแล้วธนาคารจะปิดบัญชีแบบขาดทุน ก็ต้องเกิดปัญหาตามมาอีกเยอะ จะทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์ไม่น่าเชื่อถือ เพราะฉะนั้นท่านอยากให้มีการปิดบัญชีให้เรียบร้อยก่อน ก็คือปิดบัญชีวันที่ 30 มิ.ย. แล้ววันที่ 1 ก.ค. เป็นวันหยุดธนาคารซึ่งเราทำอะไรไม่ได้ เราเลยวางแผนเลือกวันที่ 2 ซึ่งเป็นวันอังคาร แล้วทุกคนก็ไปอยู่ฮ่องกง (มีพิธีส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนให้แก่จีน วันที่ 1 ก.ค.)" นายทนงเผย
บ่ายวันอังคารที่ 1 ก.ค. หลังการประชุม ครม. นายทนงเชิญ พล.อ.ชวลิตมาที่ห้องเล็กๆ ข้างห้องประชุมครม. เพื่อ "จับมือเซ็น" คำสั่งลอยตัวค่าเงินบาท โดยมีนายศิริ ตัวแทนแบงก์ชาติที่ถือแฟ้มเอกสารประวัติศาสตร์มาที่ทำเนียบฯ ร่วมเป็นสักขีพยานในนาทีสำคัญ
นายทนง: ท่านครับ กรุณาเซ็น
พล.อ.ชวลิต: จะเอาจริงหรือน้อง
นายทนง: มันอยู่แบบนี้ไม่ได้แล้วครับ
ว่าแล้ว พล.อ.ชวลิตก็จับปากกาเซ็นเอกสาร ส่วนความรู้สึกของนายทนงก่อนวันที่ 2 ก.ค. 2540 คือ "ผมไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตและครอบครัวเรา" เขาบอกภรรยา เพราะรู้ว่างานนี้ทำให้มีคนได้-คนเสีย
ต่อมามีการพูดกันมากว่านักการเมือง-นักการเงินบางคนรวยเพราะ "อินไซด์" ข้อมูลก่อนถึงวันลอยตัวค่าเงินบาท แต่นายทนงตั้งคำถามกลับว่า "ใครจะยอมโง่ที่จะไปเสียค่าโง่ ทุกคนรู้ว่าเงินบาทจะอยู่ไม่ได้ ใครจะไปสู้" พร้อมย้ำว่าระหว่างวันอาทิตย์-พุธ "ตลาดมันวายไปหมดแล้ว"
นี่เเค่คนเเรกนะ :)
ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
เศรษฐกิจที่ทรุดตัวลงอย่างหนักหลังประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ฉุดสถานะการเมืองของรัฐบาล จน พล.อ.ชวลิตต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ในอีก 4 เดือนต่อมา
สัญญากู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และภาระหนี้ก้อนโต กลายเป็น "มรดกบาป" ที่ตกทอดมาถึงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ผู้เข้ามารับช่วงต่อทางการเมืองในเดือน พ.ย. 2540
ภารกิจสำคัญของนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.คลังคนใหม่ (ในขณะนั้นอยู่ดีนั่นละ) จึงอยู่ที่การปลดล็อคเงื่อนไขมหาโหดของไอเอ็มเอฟ ถึงขั้นต้องบินไป "ล็อบบี้" ผ่านสภาคองเกรสและบิ๊กการเมืองของสหรัฐฯ ว่า "ถ้าเข้มงวดไปหมด แล้วเราจะเอาเงินที่ไหนมาใช้หนี้"
กลายเป็นที่มาที่ไปของหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent --LOI) ฉบับที่ 3 ตามคำขอให้ไอเอ็มเอฟผ่อนผ่อนคลายทันทีในด้านการใช้จ่ายภาคการคลัง ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ได้ลงทุนได้
"ตอนนั้นผมไป 2-3 รอบ ไปคุยกับ คลินตัน (บิล คลินตัน) อัล กอร์ และนักการเมือง คุยหมด ก็คุยกันรู้เรื่องจึงสามารถหาวิธีการทางออกได้.. แต่ที่สำคัญที่สุดคือความคิดเห็นของกระทรวงการคลังอเมริกา กับธนาคารกลางอเมริกา มีน้ำหนักมากๆ เป็นคนชี้นกชี้ไม้ในบอร์ดไอเอ็มเอฟ" นายธารินทร์เปิดปาก-เปิดใจเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวกับสำนักข่าวไทยพับลิก้าเมื่อปี 2555
อมเรศ ศิลาอ่อน
- นายอมเรศ ศิลาอ่อน อดีตประธานองค์การเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) วัย 83 ปี และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ อดีตเลขาธิการ ปรส. วัย 69 ปี ต้องคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2559 สั่งจำคุก 2 ปี ปรับ 2 หมื่นบาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 3 ปี ในคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เอื้อบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส์ อิงก์ ในการประมูลสินทรัพย์ 56 ไฟแนนซ์ที่ถูกปิดกิจการ เมื่อปี 2541 ทำให้บริษัทดังกล่าวได้ประโยชน์ทางภาษี หรือที่รู้จักในชื่อคดี "ขายหนี้เน่า ปรส.ไม่โปร่งใส"
ภายหลังรับฟังคำพิพากษา นายอมเรศบอกว่า "ยืนยันว่าที่ผ่านมาทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมาตลอด จึงอยากเตือนคนรุ่นหลังหากจะทำอะไรเพื่อส่วนรวมก็ขอให้คิดให้ดี เพราะผลที่ออกมาสุดท้ายก็เป็นเรื่องส่วนตัวอยู่ดี"
เริงชัย มะระกานนท์
- นายเริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการ ธปท. วัย 75 ปี ต่อสู้คดีมากว่า 10 ปี ก่อนศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2559 ให้ "ยกฟ้อง" ในข้อหาละเมิด จากกรณีอนุมัติให้นำเงินทุนสำรองเข้าแทรกแซงในตลาดการเงิน (สวอป) เพื่อรักษาเสถียรภาพเงินบาทในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเรียกค่าเสียหายจากนายเริงชัยเป็นเงินกว่า 1.86 แสนล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
- นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี จำเลยคดีฉ้อโกงและยักยอกทรัพย์ธนาคารบีบีซีมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดและลิ้นหัวใจรั่ว ด้วยวัย 63 ปี (ปี 2555)
การล่มสลายของบีบีซีที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อให้กับนักธุรกิจและนักการเมืองกลุ่ม 16 เพื่อเข้าเทกโอเวอร์บริษัทต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์ โดยมีกำไรจากการซื้อมา-ขายไป จนเกิดหนี้เน่ามหาศาลกับธนาคาร ถูกมองว่าเป็นต้นตอสำคัญของวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นผลให้นายเกริกเกียรติถูกตราหน้าว่าเป็น "โจรใส่สูท" ร่วมกับที่ปรึกษาใหญ่อย่างนายราเกซ สักเสนา เจ้าของฉายา "พ่อมดการเงิน" ที่หนีไปกบดานที่แคนาดาตั้งแต่ปี 2539 ก่อนถูกส่งตัวกลับไทยในวันที่ 31 ต.ค. 2552
เขาถูกแบงก์ชาติฟ้องถึง 22 คดี ถูกพิพากษาให้จำคุกรวมกันแต่ละคดีมาแล้วกว่า 100 ปี ถูกคำสั่งให้ชดใช้หนี้ที่เกิดขึ้นมูลค่ารวมกันแล้ว 1.36 หมื่นล้านบาท แต่เขา "ไม่หนี" และย้ำว่า "16 ปีของการต่อสู้ ผมยังคงยืนยันในความบริสุทธิ์ของตัวเอง"
ในวาระสุดท้ายของชีวิต เขาเขียนหนังสือปกดำเพื่อเป็นข้อมูลอีกด้านแก่สังคม
"วันที่ทุกๆ ท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมคงจากไปอย่างสงบ และหวังว่าหนังสือ 'ความจริง…บีบีซี' จะเปิดเผยความจริงที่ทุกๆคนอยากรู้" นายเกริกเกียรติระบุในหนังสือปกดำ
หมายเหตุ : เนื้อหาในส่วนของนายทนง พิทยะ และนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เรียบเรียงจากหนังสือ "15 ปี วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ประเทศไทยอยู่ตรงไหน" (2556) จัดทำโดยสำนักข่าวไทยพับลิก้า
(ที่มา : http://www.bbc.com/thai/thailand-40446319)
พระราชบัญญัตติของแบงก์ชาติเป็นอิสระมากในความหมายหนึ่ง จริงๆ ก็เป็นตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดวิกฤติ การที่เป็นอิสระมากเกินไปก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กระบวนการตัดสินใจมักเกิดข้อผิดพลาด โครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างแบงก์ชาติและนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งหรือรถถัง เป็นปัญหาหมด เพราะทำให้กระบวนการตัดสินใจออกมาเป็นเช่นนั้น
เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทุกธนาคารก็พัง ทุนของภาคธนาคารทุกธนาคารรวมถึงภาคการเงินเสียหายหมด ขาดทุนจนทุนตั้งต้นถูกล้างหมดในทางบัญชี กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ในไทยมันล้มละลายทั้งภาค
เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น สิ่งที่ระบบทุนนิยมต้องทำพื้นฐานเลย หากต้องการให้ระบบธนาคารมันยังอยู่ต่อ เพราะถ้าไม่แก้อะไรเลยก็ปล่อยให้ล่ม ระบบทุนนิยมก็ไม่ทำงาน จะทำให้เดินหน้าต่อไปได้ก็ต้องเติมเงินเข้าไปในระบบ รัฐบาลจึงกลายเป็นเจ้าของธนาคารเหมือนกับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 ไทยก็เช่นกัน ใช้เงินอัดเข้าไปในระบบ กลายเป็นเจ้าของธนาคารอยู่สักระยะหนึ่ง หลังจากนั้นก็ค่อยขายออกไป
อย่างไรก็ตาม ค่าเสียหายที่รัฐบาลเข้าไปอุ้มธนาคารเหล่านั้นให้กลับมาทำงานได้อีกครั้ง ตัวเลขที่ผมมีอยู่ในมือก็คือ 1.4 ล้านล้านบาท ฟังดูน้อยในปัจจุบัน แต่ก็เท่ากับรายได้ประชาชาติ 35 เปอร์เซ็นต์ในตอนนั้น ตอนนี้งบประมาณรัฐบาลไทยมีค่าประมาณ 17-18 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทุกวันนี้ก็ยังจ่ายหนี้ไม่หมด
ทีนี้น้องๆเห็นภาพยัง เอาละพี่มี 1 กระทู้อยากให้อ่านอยู่ด้านล่าง
(https://pantip.com/topic/36030270)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in