สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่านทุกท่าน ไม่เจอกันนานเลยนะคะ ヅ
ถ้าจำไม่ผิด ครั้งสุดท้ายที่ฉันเข้ามาใน minimore น่าจะเป็นปลายๆเดือน 2
ระหว่างที่หายไป ชีวิตของฉันผ่านอะไรมาเยอะมากเลยทีเดียวค่ะ
ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมานั้น ฉันคิดอย่างหนักมากเกี่ยวกับอนาคตของตัวเอง
"ฉันควรจะเลือกเดินเส้นทางไหนดีนะ?"
"จริงๆแล้วฉันเก่งในเรื่องอะไรกันแน่?"
"ตอนที่ฉันเลือกทางเดินใหม่นี้ ฉันคิดดีแน่ๆแล้วหรอ?"
และสุดท้าย (ซึ่งฉันคิดว่า สำคัญมากที่สุด) คือ "ฉันยัง competitive อยู่ไหมนะ?"
อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ฉันจะไปเรียนต่อแล้วค่ะ
แต่ก็ไม่แน่ว่า ในอนาคตอันไกล ฉันอาจจะคัมแบควงการออดิทก็ได้
หลังจากผ่านการคิดและตกผลึกมามากมายหลายตลบ
ฉันก็ยังยืนยันคำเดิมนะคะ
"ฉันไม่ได้เลือกที่ทำงานที่แรกผิด" และ "ฉันไม่เสียใจเลยที่เลือกออดิทเป็นงานแรก"
แล้วอะไร คือ สาเหตุที่ทำให้ฉันคิดแบบนี้กันนะ?
คำตอบ คือ "we're solving significant problem." ค่ะ
หลังจากเริ่มงานใหม่มาได้ 6 เดือน ฉันก็ค้นพบว่า ที่ Big4 เราแก้ปัญหามากมายในแต่ละ
แม้ปัญหาบางอย่างจะไร้สาระเสียเหลือเกิน แต่เราก็แก้มัน เพราะ มัน significant ค่ะ
เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับคุณผู้อ่านที่ไม่ใช่ชาวออดิท
Auditor นั้น จะทำงานอยู่บน mat. (ที่ย่อมาจาก materiality)
ซึ่งหมายความว่า อะไรที่ต่ำกว่า mat. จะถูกจัดว่า ไม่ sig. หรือ significant นั่นแหละค่ะ
ในที่ทำงานใหม่ของฉัน ฉันได้มีโอกาสทำสิ่งที่ฉันคาดหวังไว้มากมาย
แม้จะต้องลงแรง ลงเวลา ลงพลังใจไปอย่างมาก เพื่อให้ได้แต่ละโอกาสมา
แต่ฉันก็รู้สึกว่า มันคุ้มค่ามากเลยค่ะ
งานใหม่ที่ฉันทำอยู่นั้น ถือว่าฉันเข้ามาได้ถูกจังหวะ
ราวกับว่า เป็น timing อันเหมาะสมที่พระเจ้าได้ให้โอกาส
#อาจจะเป็นไม่กี่ครั้งในชีวิตที่ฉันรู้สึกว่า โชคดี
อย่างไรก็ตาม ฉันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า
วันธรรมดาๆ ในแต่ละวันของฉันกับ new career path อาจไม่ค่อยจะพิเศษมากเท่าไรนัก
เพราะ ที่นี่ เรา solve ตั้งแต่ miscellaneous issue ไปจนถึงประเด็นระดับประเทศ
(miscellaneous issue เช่น สะกดผิด ตัดคำ จัดหน้า ที่ทำไมเราไม่ทำตอนงานเสร็จ
จะมานั่งจัดทุกครั้งที่แก้งานทำไม ทำไมเราถึงไม่ทำงานครั้งเดียวกันนะ 5555 นั่นแหละค่ะ)
ทั้งนี้ งานใหม่ของฉันก็ได้ให้ความภูมิใจเล็กๆนะคะ
คุณผู้อ่านอาจจะได้เคยเห็นงานเขียนของฉันในข่าวยามเช้าที่คุณอ่าน
หรือกระทั่งประโยคที่ถูกเอาไปพูดถึงในThe Wall Street Journal ด้วยเช่นกัน ;-)
Anyway,
เมื่อย้อนกลับมาดูสมัยฉันยังเป็นออดิทตัวน้อย
เคยมีรุ่นน้องมาปรึกษาฉันว่า ที่บ้านไม่เข้าใจเลยว่า "ถ้าไม่ไหว ทำไมไม่บอกเมเนเจอร์ไปหล่ะ"
ซึ่งฉันได้ให้คำปรึกษากับน้องที่กำลัง suffer กับงานไปว่า
"หนูอย่าทำอย่างนั้นลูกกก ที่นี่ไม่มีคำว่า ทำไม่ได้"
เมื่อมาย้อนคิดดูแล้ว ก็เป็นเรื่องแปลกนะคะ
ฉันพูดประโยคนี้ออกมาอย่างธรรมชาติมาก
ฉันคิดว่า ส่วนหนึ่งมาจากการ shape mindset ของ Big4 และการเป็นออดิท
และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากพื้นฐานของฉันเอง ซึ่งฉันก็คิดว่า บริษัทก็คัดคนแบบฉันนี่แหละเข้ามาทำงาน
"Always more than expectation" เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกๆวันที่ฉันทำงานเป็นออดิทค่ะ
และ "พี่ว่า น้องทำได้" น่าจะเป็นประโยคสามัญของเมเนเจอร์ในบริษัทของฉันก็ว่าได้เช่นกัน
ฉันรู้สึกว่า myself, assignment, environment, and people around me
ได้ขับเคลื่อนจนกลายมาเป็นตัวฉันที่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองในทุกๆวัน
#มันเป็นความภูมิใจเล็กๆของชีวิตนะคะ การผ่านจ้อบเน่าๆมากมายมาได้เนี่ย 5555
เช่น ใครจะไปคิดหล่ะคะว่า คนเราจะสามารถทำงาน เที่ยงคืน++ ทุกวัน ติดกัน 4-5 เดือนได้
แค่ผ่านมาได้ 1 YE (year-ended) ก็น่าทึ่งมากแล้ว
ผ่านมา FY (fiscal year) ถัดไป ก็น่าเหลือเชื่อเข้าไปอีก ที่พอร์ตของฉันแย่กว่าเดิมอีก 5555
แต่น่าแปลกมากที่ความทรมาณเหล่านั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ฉันลาออก
ก่อนหน้าที่จะได้รับทุน ฉันได้รับข้อเสนองานที่ให้เงินดีกว่าออดิทค่ะ
แต่ฉันก็ไม่ได้เลือกเส้นทางนั้น เพราะ ยังไม่แน่ใจมากพอว่า
"นี่เป็นโอกาสที่ฉันอยากได้ หรือ นี่เป็นโอกาสที่ใครๆก็อยากได้กันแน่"
และคงจะเป็นความคิดว่า "ฉันยังมีสิ่งที่อยากเรียนรู้จากงานออดิทอยู่"
ส่วนสาเหตุที่ฉันลาออกมา ก็เพราะ ฉันคิดว่า โอกาสที่ได้รับเป็น opportunity ที่ดีกว่าค่ะ
นี่เป็นโอกาสที่ดีที่ฉันจะได้ใช้ my youth ไปทำอะไรอย่างอื่นนอกจากงานที่สำคัญ คือ ถ้าฉันอยากจำคัมแบควงการออดิทก็ยังเป็นไปได้อยู่
หากความคาดหวังของฉันต่องานใหม่ที่ทำอยู่ คือ งานที่ meaningful
ความคาดหวังที่ฉันมีตอนทำออดิทก็คือ การทำงานกับคนเก่ง เพื่อเป็นคนที่เก่งขึ้น
สำหรับอาชีพออดิท
ฉันคิดว่า พวกเราทำงานแบบ exceed any expectation กันตลอดเวลา
เพียงแต่ว่า จะมีคนให้ค่ากับสิ่งที่คุณทำอยู่หรือไม่
บางครั้ง ระบบทุนนิยมอันโหดร้าย ก็ด้อยค่าความสามารถของคุณอย่างน่าเจ็บใจ
ฉันเชื่อว่า ในทุกทางเลือกและในทุกจังหวะของชีวิตล้วนมี สิ่งที่คาดหวัง และ เรื่องถูกคาดหวัง อยู่
ซึ่งความคิดแบบนี้เองกระมังที่ทำให้ฉันสร้างมาตรฐานให้กับตัวเองตลอดเวลา
บางครั้ง มันก็สร้างความเครียดให้ตัวฉันเองแบบไม่รู้ตัว
แต่บางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่า positive pressure นี่แหละ ที่พาฉันมาถึงจุดนี้
หลังจาก ออกจาก confort zone ที่เรียกว่า Big4 มาได้สักพัก
ฉันต้องเผชิญกับการทำงานแบบที่ไม่รู้เลยว่า ตัวเองถูกคาดหวังอะไร
ช่วงแรกๆ มันยากมากเลยนะคะ
จากคนที่ทำงานบน mat. ต้องมาทำงานที่ไม่รู้ว่า standard อยู่ตรงไหน
จนต้องพยายาม beyond expectations ตลอดเวลา
สุดท้ายแล้ว ฉันก็ค้นพบว่า once in a while, การไม่คาดหวังอะไรเลยก็เป็นเรื่องที่ดีเหมือนกัน
เพราะ ความจริงแล้ว ร่างกายและจิตใจของเราน่ะ เปราะบางกว่าที่คิดนะคะ
คุณอาจจะคิดว่า ตัวเองแข็งแรงและเข้มแข็งมากแล้ว
แต่ในบางสถานการณ์ ในที่อันไม่คุ้นเคย ความ strong ที่คุณมีก็อาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป
คิดๆแล้ว ชีวิตการทำงานเนี่ยเหมือนชุดชากระเบื้องเคลือบเลยนะคะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in