เทศกาลล่าปา เป็นวันขึ้น 8 ค่ําเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน แต่เดิมในสมัยโบราณจะ เรียกวันนี้ว่า “腊日”
ในสมัยดึกดําบรรพ์ คําว่า “腊”เป็นชื่อของพิธีกรรมเซ่นไหว้ ซึ่งมาจากคําว่า “猎” หมายถึงการล่าสัตว์ เพราะช่วงท้ายปีพืชผลถูกเก็บเกี่ยวตากแห้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้คนจึงเข้าป่าล่า สัตว์สําหรับบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า เพื่อขอให้มีโชคมีลาภ ชีวิตยืนยาว หลีกเลี่ยงภัยพิบัติและเป็น สิริมงคล จึงเรียกว่า“腊祭”หมายถึง พิธีเซ่นไหว้ด้วยสัตว์ที่ล่ามาได้
ความเป็นมา
การล่าสัตว์บูชาเทพเจ้าในช่วงปลายปี เป็น พิธีกรรมเก่าแก่มีมาตั้งแต่สมัยยุคสามราชาห้า จักรพรรดิ โดยทําในช่วงฤดูหนาว เสร็จสิ้นงานไร่นา ในราชวงศ์เซี่ยเรียกกิจกรรมนี้ว่า เจียผิง แปลว่า สันติ สุขอันดีงามราชวงศ์ซางเรียกว่า ซิงสื้อ แปลว่า การ เซ่นสรวงอันบริสุทธิ์ จนมาถึงราชวงศ์โจว เรียกว่า ต้า ล่า แปลว่า การล่าสัตว์อันยิ่งใหญ่
ในวรรณกรรมยุคชุนชิวจั้นกั๋ว กล่าวว่า วันต้าล่า เป็นวันเซ่นไหว้เทพเจ้าประจําธรรมชาติ บรรพชน และเทพประจําบ้านทั้งห้า คือ ห้องโถง ประตูบ้าน ประตูห้องน้ํา บ่อน้ํา และเตาไฟ จนถึง ราชวงศ์เหนือใต้ วันขึ้นแปดค่ําเดือนสิบสองตามปฏิทินจันทรคติของจีนจึงถูกกําหนดให้เป็น “腊 八节”อย่างเป็นทางการ
เทศกาลล่าปา เป็นเหมือนการเริ่มต้นสําหรับการขึ้นปีใหม่ ชาวจีนมักจะพูดว่าผ่านวันล่าปา แล้วก็จะถึงเทศกาลตรุษจีน เมื่อถึงเทศกาลล่าปา ผู้คนจะเริ่มเลือกซื้อสินค้าสําหรับปีใหม่ชนิดต่างๆ เก็บกวาดตบแต่งบ้านเรือน
รูปพิธีเซ่นไหว้ด้วยสัตว์ที่ล่ามาได้
กิจกรรมเด่นของเทศกาลล่าปา คือ การกินโจ๊กล่าปา “腊八粥”ซึ่งมี ส่วนผสมที่ทําจากธัญญาหารอย่างน้อย 8 ชนิด
เทศกาลล่าปากับวัฒนธรรมอาหาร
ชาวจีนมักจะพูดว่า ผ่านวันล่าปาแล้วก็จะถึง เทศกาลตรุษจีน ในวันล่าปา ท้องที่ต่างๆ ของจีนต่างมีธรรมเนียมนิยมในการรับประทานอาหาร ดังกล่าวนี้ เช่น พื้นที่ส่วนใหญ่รับประทานโจ๊กที่ทําจาก ธัญญาหารอย่างน้อย 8 อย่างในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะใน เขตชนบทของมณฑลอันฮุย ทุกครอบครัวจะทําเต้าหู้ล่าปา ก่อนวันขึ้น 8 ค่ําเดือน 12 ส่วนภาคเหนือของจีนบางพื้นที่มีความนิยมกินบะหมี่ล่าปาในเช้าวันนั้น โดยทําซอสด้วยผลไม้ และผักชนิดต่างๆ แต่เนื่องจากวันล่าปาอยู่ในช่วงที่มีอากาศ หนาวจัด การรับประทานอาหารเหล่านี้ทั้งได้ความอบอุ่น และมีโภชนาการด้วย
โจ๊กล่าปา ( 腊八粥 )
วิธีการทําโจ๊กล่าปามีสูตรแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้าวเป็นส่วนประกอบ หลัก และยังมีการผสมผลไม้แห้ง ธัญพืช และถั่วลงไปด้วยหลายชนิด ในค่ําคืนวันขึ้น 7 ค่ําเดือน 12 แต่ละครอบครัวจะเตรียมล้างข้าวสาร พุทราแห้ง องุ่นแห้ง ธัญพืชต่างๆ รอถึงเที่ยงคืนแล้วนําส่วนผสม ทั้งหมดมาต้มรวมกัน แล้วต้มด้วยไฟอ่อนข้ามคืนถึงเช้าตรู่ของวันใหม่จึงถือว่าทําเสร็จเรียบร้อย
โจ๊กล่าปา
เต้าหู้ล่าปา
ตามประเพณีเก่าแก่ หลังจากต้มโจ๊กเสร็จแล้วต้องนํามาเซ่นไหว้บรรพบุรุษและเทพเจ้าก่อน และแบ่งส่วนหนึ่งมอบแก่เพื่อนบ้าน หลังจากนั้นจึงนํามารับประทานร่วมกันในครอบครัว หากมีโจ๊กเหลืออยู่ก็สามารถเก็บค้างคืนรับประทานต่อได้อีกสองสามวัน หากบ้านใดมีโจ๊กล่าปาเหลือทานจากวัน ขึ้น 8 ค่ําก็ถือว่าเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นเพราะแทนความหมายว่า ครอบครัวนั้นจะมีเหลือกินเหลือใช้ ตลอดทั้งปี
เทศกาลล่าปากับความเชื่อของพุทธศาสนา
ตามคติของพุทธศาสนาแบบมหายานของจีน เล่าว่า เจ้าชายสิทธัตถะขณะกําลังบําเพ็ญทุกร กิริยาจนกระทั่งสลบไป หญิงเลี้ยงวัวคนหนึ่งมาพบเข้าได้ นําอาหารที่ติดตัวมาผสมกับนมวัวรวมกับผลไม้ป่าหลายชนิด ป้อนให้เจ้าชายสิทธัตถะให้รับประทาน จนกระทั่งฟื้นคืนสติและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าจนสําเร็จในคืนนั้น ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ํา เดือน 12 ตามปฏิทินจีน
เดิมทีเทศกาลล่าปา มีความหมาย 3 ประการคือ
1. ล่าสัตว์เซ่นไหว้เทพและบรรพชน
2. รับ ความหมายคือ ส่งเก่ารับใหม่
3. ขับไล่โรคภัย
เมื่อคนจีนผนวกเอาเรื่องราวของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าตามพุทธประวัติจีน ในวันนี้จึงมี ความหมายที่สี่คือ วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in