เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
BANGKOK HANDMADE TRANSIT | กรุงเทพฯ : ขนส่งทำมือ By สายลม (กลุ่มนักเขียนและช่างภาพสารคดี)
  •           รีวิวเว้ย (70) เวลารถติดเราจะทำอะไรฆ่าเวลากันดี (?) ถ้าเป็นทุกวันนี้เราก็ควจะก้มหน้าก้มตาจับโปเกม่อนตามแยกไฟแดง แต่ถ้าวันนึงโปเกม่อนเลิกฮิตละเราจะทำอะไรกันดี เพราะถึงอย่างไรปัญหารถติด ปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ มันไม่มีทางเลิกฮิตติดเป็นนคกได้ถายในเร็ววัน

    หนังสือ : BANGKOK HANDMADE TRANSIT | กรุงเทพฯ : ขนส่งทำมือ
    โดย : สายลม (กลุ่มนักเขียนและช่างภาพสารคดี)
    จำนวน : 159 หน้า
    ราคา : 285 บาท

              ปกติเวลาเราเดินทางไปในที่ต่าง ๆ เราไปยังไงกันนะ (?) บางคนใช้สองเท้าเดินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง บางคนใช้ 2 เท้าก้าวขึ้นไปบนขนส่งสาธารณะ บางคนใช้ 2 เท้าหรือ 1 เท้าขับรถยนต์ส่วนตัวไปตามท้องถนน บางคนใช้ 2 ท้าวก้าวเข้าไปทางกาพขวาของลำเรือเพื่อไปยังจุดหมายที่มุ่งหน้าไปหามัน

               BANGKOK HANDMADE TRANSIT | กรุงเทพฯ : ขนส่งทำมือ เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของระบบการขนส่งแบบทำมือ (ครับอ่านไม่ผิดหรอก) การขนส่งแบบทำมือ ตามนิยามของหนังสือเล่มนี้ คือการขนส่งมวลชนที่เกิดขึ้นมาจากการทำมือของประชาชน ไม่ใช่จากรัฐบาล

              BANGKOK HANDMADE TRANSIT | กรุงเทพฯ : ขนส่งทำมือ ได้รวบรวมเอาระบบขนส่งมวลชนทำมือ ทั้งสิ้น 9 ประเภทมาบอกเล่าให้เราได้ทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไป และที่ไม่ไปเพราะอะไรในแต่ละจุดหมาย ไม่ว่าจะเป็นมอไซน์รับจ้าง ,3 ล้อรับจ้าง ,รถเข็นผัก ,รถกระป๋อ ,เรือด่วนเจ้าพระยา ,เรือคลองแสนแสบ ,รถพุ่มพวง ,ตุ๊กตุ๊ก ,รถเมล์

              ไม่มีทางปฏิเสธได้ว่าเกิดมาในประเทศนี้ครั้งหนึ่ง และมีโอกาสใช้ชีวิตในกรุงเทพฯสักครั้งหนึ่ง จะไม่เคยสัมผัสหรือใช้บริการขนส่งทำมือเหล่านี้เลยสักครั้งหนึ่ง มันก็ออกจะดูกระแดะไปนิด (ยกเว้นบ้านมึงรวยมาก) เพราะขนส่งทำใือเหล่านี้เป็นทางเลือกที่ดีมี่สุดที่จะพาเราไปถึงเป้าหมาย

              เมื่อรัฐไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ขนส่งทำมือเหล่านี้แหละ จึงเคยตบหน้ารัฐกลาง 4 แยกไฟแดงดังแปะ แปะ มาแล้วเพราะรัฐไม่สามารถสร้างบริการขนส่งสาธารณะให้ประชาชนได้ประชาชนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จึงต้องสร้างมันขึ้นมาเอง แต่ก็อีกนั่นแหละ เมื่อรัฐเข้ามาควบคุมระบบขนส่งทำมือ เราเลยได้เห็นภาพของขนส่งทำมือที่บริหารจัดการโดยรัฐ ที่หายนะพอ ๆ กับใช้ตีนเขียนหนังสือเหมือนทึ่เป็นอยู่อย่างในปัจจุบัน

              เอาเถอะอย่าไปคิดอะไรมาก เมื่อเราอยู่ในประเทศที่วัฒนธรรมรถยนต์เป็นใหญ่ พวกเราที่ต้องทนใช้บริการขนส่งทำมือที่ถูกรัฐเมินเฉย ก็ต้องอดทนกันต่อไป แล้วปล่อยให้รัฐไปพัฒนาขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟสายสีม่วงที่ช่วงของสถานีไม่ต่อกันต่อไป

              ระหว่างที่อ่านหนังสือเล่มนี้ สายตาก็ไปสะดุดอยู่ที่ย่อหน้าย่อหน้าหนึ่ง ย่อหน้าดังกล่างตั้งคำถามได้น่าสนใจมากว่าคนเรามีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้บริการขนส่งสาธารณะ และใช้ถนนสาธารณะจริง ๆ หรือเปล่า (?)

                           "รัฐธรรมนูญมักบัญญัติให้คนทุกคนมีเสมอภาคกัน จะดีหรือไม่ถ้ารถเมล์ซึ่งมีคน 80 คน จะมีสิทธิเป็น 80 เท่าบนพื้นที่ถนนมากกว่ารถยนต์ที่มีคนเพียงหนึ่งคน เมืองที่พัฒนาแล้วจะไม่ใช่เมืองที่คนจนทุกคนหันมาใช้รถแต่เป็นเมืองที่คนรวยทุกคนหันมาใช้ขนส่งมวลชนหรือจักรยาน" -- Enrique Penalosa อดีตนายกเทศมนตรีเมืองโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย

              ถ้าอยากรู้ว่าขนส่งทำมือโดยมวลชนแต่ละรูปแบบเกิดขึ้นมาได้อย่างไร อย่าลืมไปหา BANGKOK HANDMADE TRANSIT | กรุงเทพฯ : ขนส่งทำมือ มาไว้ในครอบครองละครับ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in