รีวิวเว้ย (37) เมื่อคนเถื่อนตะลุยแดนเถื่อนแล้วคุณจะรู้ว่าอะไรจะเถื่อนกว่ากัน
หนังสือ : เถื่อนเจ็ด
โดย : วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล
จำนวน : 422 หน้า
ราคา : 325 บาท
ออกตัวก่อนเลยว่าเป็นคนไม่ชอบอ่านงานเขียนของวรรณสิงห์ เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านงานวรรณสิงห์มาบ้าง เช่น อักษร ความรู้สึกตอนที่อ่านตอนนั้น มีความรู้สึกว่างานเขียนของวรรณสิงห์เป็นงานประดิษฐ์ คือเป็นงานที่มีความพยายามในการประดิษฐ์ ให้งานเขียนมันมีความเป็นงานกึ่ง ๆ ปรัชญา และด้วยสภาวะของความประดิษฐ์นี้เอง ที่ทำให้มีอคติต่องานเขียนของวรรณสิงห์ในหลาย ๆ ชิ้น
จำได้ว่าวันที่หนังสือเล่มนี้มาถึงบูทของ a book วันแรก เรากำลังยืนเลือก ๆ หนังสือของ a book เล่มอื่น ๆ อยู่ และมีน้องทีมงานของ a book ยื่นหนังสือเล่มนี้มาให้ แล้วถามว่า "ลอฃอ่านเล่มนี้ดูไหมาคะ" เมื่อไล่สายตามาเจอชื่อของวรรณสิงห์เราเลยตอบน้องเขาไปว่า "ไม่ครับไม่ชอบอ่านงานของวรรณสิงห์" เมื่อพูดจบก็หันหลังเดินออกไปอรกจุดหนึ่งเพื่อเลือกหนังสือเล่มอื่น ระหว่างที่หันหลังนั้นเองก็เจอเข้ากับวรรณสิงห์แบบประชิดตัว (ตอนแรกคอดว่าจะโดนต่อย) และเราก็ขยับออกมาซื้อเล่มอื่นต่อไป
แต่เมื่อ 3 วันก่อนต้องเดินทางไปประชุมที่ ม.บูรพา และระหว่างนั้นเองหนังสือที่เตรียมไปด้วยดันอ่านจบเสียก่อนจะเสร็จงานที่ต้องเดินทางไปต่างจังหวัดอีก 2 วัน ทำให้ต้องไปเลือกซื้อหนังสือที่ร้าน และระหว่างที่เดินเลือกหนังสืออยู่นั้นเอง สายตาก็ไปประสานเข้ากับหนังสือเล่มสีเหลือง หน้าปกเขียนว่าเถื่อนเจ็ด และมีชื่อของวรรณสงห์อยู่ใต้ชื่อ "เถื่อนเจ็ด" ตอนแรกก็กะส่าจะผ่านไปและหาเล่มอื่นต่อ แต่สายตาก็ดันไปจับอยู่ตรงคำว่าพิมพ์ครั้งที่ 2 ด้วยความสงสัยว่าทำไมถึงพิมพ์ครั้งที่ 2 เพราะเพิ่งผ่านพิมพ์ครั้งที่ 1 มาเมื่อเดือน "มีนาคม" เอง และเมื่อหยิบหนังสือขึ้นมาเปิดดูว่าการพิมพ์ครั้งที่ 2 นั้นพิมพ์ไปเมื่อใด เมื่อเปิดมาพบข้อมูลที่ห้าดัชนีก็ต้องตกใจว่าครั้งที่ 2 ก็พิมพ์เมื่อเดือน "มีนาคม" เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความคิดขึ้นในหัวว่าใันจะมีหนังสือสักกี่เล่มวะที่พิมพ์ 1-2 ติดต่อกันในระยะเวลาอันสั้นขนาดนี้ และรู้ตัวอีกทีก็หิ้วถุงหนังสือที่มีเถื่อนเจ็ดอยู่ในถุงและเดินออกมาจากร้านเป็นที่เรียบร้อย
ถ้าจะให้พูดกันตรง ๆ เถื่อนเจ็ด ถือได้ว่าเป็นหนังสือบันทึกเรื่องราวการเดินทาง การถ่ายทำรายการ"พื้นที่ชีวิต"ในรูปแบบของรายการที่ไม่ได้ออกอากาศ เพราะเป็นการทำงานเบื่องหลัง แต่สิ่งหนึ่งที่ครั้งนี้วรรณสิงห์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือการถ่ายทอดมุมมองเรื่องของชีวิต เรื่องของการใช้ชีวิต เรื่องของศาสนา เรื่องของบ้าน เรื่องของผู้คน และเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ออกมาได้อย่างน่าสนใจ น่าติดตาม และตัวหนังสือของวรรณสิงห์ในเถื่อนเจ็ดครั้งนี้ มันสะท้อนความเป็นวรรณสงห์ ที่เป็นวรรณสิงห์ออกมาจริง ๆ ต่างกับงานเขียนชิ้นก่อน ๆ ของเขา เรียกได้ว่าเถื่อนเจ็ด คือหนังสือที่บับทึกตัวตนของวรรณสิงห์เอาไว้อย่างแท้จริง
หนังสือได้ช่วนเราตั้งคำถาม ถึงชีวิต ถึงวิธีชีวิต ถึงรูปแบบการใช้ชีวิต ถึงบ้าน ถึงครอบครัว ถึงคนรอบ ๆ ตัว และถึงชีวิตของเรา ถ้าจะมห้นิยามเถื่อนเจ็ดในฐานะของหนังสือ มันก็คงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะให้นิยามมันจากมุมของศาสนา ก็คงต้องนิยามว่าการไม่ได้อ่านเถื่อนเจ็ดถือเป็น 1 ในบาปร้ายแรง 7 ประการของมนุษยชาติ เมื่อคนเถื่อนตะลุยแดนเถื่อนแล้วคุณจะรู้ว่าอะไรจะเถื่อนกว่ากัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in