เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนแบบปรึกษาหารือ By ปิยะพงษ์ บุษบงก์
  • รีวิวเว้ย (193) ถ้าย้อนกลับไปมองประวัติศาสตร์ในช่วง พ.ศ. 2500 ต้น ๆ อาจจะสักช่วง 2501-2510 เป็นต้นมา เราจะพบว่าประเทศไทยได้พบกับนวัตกรรมในการบริหารรูปแบบใหม่ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า "แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" (มันย่อตรงไหน) และแผนพัฒนาอื่น ๆ หรือแผนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่จะชวยผลักดันชาติไทยให้มีความเจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ผุดพรายขึ้นยุบยับประหนึ่งดอกเห็ดป่าในช่วงฤดูฝนพรำ และบรรดาแผนต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยังผุดพรายขึ้นในสังคมเลื่อยมากระทั่งปัจจุบัน อย่างในปัจจุบันสมัยเอง เราก็กำลังเผชิญกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฎิรูปต่าง ๆ ที่ถูกคิดขึ้นโดยคณะรัฐประหาร พร้อมทั้งเหล่าบรรดาผู้สูงอายุที่คิดผังวางแผนต่าง ๆ มากมายให้กับลูกหลานได้ใช้กัน โดยที่อาจจะไม่ได้คิดเลยว่าอีก 20 ปีข้างหน้าทุกบ้านอาจจะมีเครื่องเทเลพอตเป็นของตัวเอง 
    หนังสือ : การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนแบบปรึกษาหารือ
    โดย : ปิยะพงษ์ บุษบงก์
    จำนวน : 158 หน้า
    ราคา : 210 บาท

              "การวางแผน" หรือการจัดทำแผน ในแบบที่เป็นที่นิยมอย่างยาวนานมนสังคมไทย และในสังคมโลกหลาย ๆ ที่ คงหนี้ไม่พ้นการทำแผนในแบบของหน่วยราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดและดำเนินการจัดทำ ผ่านกลไกและกลวิธีทางวิชาการบริหารงานภาครัฐ การจัดทำแผน ฯลฯ โดยแผนเหล่านี้ที่ถูกคิดค้นขึ้น ล้วนเกิดจากฝีมือของเหล่าผู้มีความรู้ความสามารถในวงการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย การบริหารงาน หรือมีความเกี่ยวพันกับการบริหารประเทศชาติทั้งสิ้น

              เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีตเราจะพบเห็นช่องว่าง ช่องโหว่ของการทำแผนปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยส่วนกลาง และนำไปใช้ดำเนินงานในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย มักพบปัญหาในเรื่องของความรู้ ความเข้าใจต่อการนำแผนไปปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจของคนในพื้นที่ ความรู้ความเข้าใจของหน่วยงานที่จัดทำแผน หรือแม้กระทั่งแผนที่ถูกคิดขึ้นนั้นไม่สอดรับกับบริบทของชุมชน สังคม พื้นที่ อย่างที่ใันควรจะเป็น ซึ่งในท้ายที่สุดบรรดาแผนเหล่านี้ก็นำไปสูงความฉงนสนเท่ของชาวบ้าน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำแผ่นไปปรับใช้

              ปัญหาในเรื่องของ "แผนพัฒนา" ที่ขาดความรู้ ความเข้าใจจากในหลาย ๆ บริบทมีสะท้อนให้เห็น ผ่านบทเพลง "ผู้ใหญ่ลี" ที่ในเนื้อเพลง มีเรื่องของ การเรียนรวมตัวลูกบ้าน เพื่อนับฟังและดำเนินการตามแนวนโยบายของรัฐ ที่มีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานโดยแผนพัฒนาฯ ในช่วงเวลานั้น

              นี่เป็นการสะท้อนภาพหนึ่งของปัญหาในเรื่องของการจัดทำแผนฯ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยขาดบริบทในเรื่องของการทำความเข้าใจ ขาดการมีส่วนร่วมของคนในหลาย ๆ ระดับ ทั้งผู้ปฏิบัติ ผู้ใช้ ร่วมถึงผู้จัดทำแผน ที่ต่างฝ่ายต่างถือความเข้าใจคนละชุด มีองค์ความรู้คนละแบบ ซึ่งหลายครั้งการจัดทำแผนงานในลักษณะนี้ นำไปสู่ความไม่สมประกอบของการดำเนินงานตามแผ่นฯ ต่าง ๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้น

              หนังสือ "การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนแบบปรึกษาหารือ" ของ ผศ.ดร. ปิยะพงษ์ บุษบงก์ เป็นการเปิดพรมแดนความรู้ใหม่ให้กับ (เรา) การทำความเข้าใจในเรื่องของการจัดทำแผน และการวิเคราะห์นโยบายและแผน ในรูปแบบของการปรึกษาหารือ ที่นำไปสู่การนำแผนฯ ต่าง ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านรูปแบบของการจัดทำแผนแบบปรึกษาหารือ ทั้งในส่วนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และในส่วนของผู้นำแผนไปปฏิบัติ

               นอกจากนี้ "การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนแบบปรึกษาหารือ" ยังทำหน้าที่ขยายภาพให้เห็นถึงพัฒนาการของการศึกษาในเรื่องของการจัดทำแผน และการวิเคราะห์นโยบายและแผน นับแต่รูปแบบของการจัดทำแผนในแบบแรก ๆ ที่แผนถูกจัดทำขึ้นโดยกลุ่มผู้มีความสามารถเฉพาะด้าน กระทั่งถึงพัฒนาการของการทำแผนแบบปรึกษาหารือ

              "การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนแบบปรึกษาหารือ" ยังแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของการปรับใช้ การนำเอากระบวนการในการจัดทำแผ่นมาใช้ ผ่านกรณีศึกษาที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ รวมถึงสามารถอธิบายในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบาย การจัดทำแผนฯ ให้กับคนที่ไม่ได้เรียนเรื่องเกี่ยวกับแผนฯ ต่าง ๆ ให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย

               "การวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนแบบปรึกษาหารือ" แสดงให้เราเห็นว่าวิธีคิดแบบ one size fits all ก็ไม่ได้ดีเสมอไป แต่มันก็ไม่ได้แย่จนเกินไปนัก ในเรื่องของการจัดทำนโยบายและการทำแผน 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in