รีวิวเว้ย (169) ประเทศที่ "ไม่เป็นประชาธิปไตย" ก็มีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครอง แต่รัฐธรรมนูญจะมีความสำคัญก็ต่อเมื่ออยู่ในระบอบการปกครองแบบ "ประชาธิปไตย" ที่อำนาจอธิปไตยมาจาก "ประชาชน"
หนังสือ : รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
โดย : กมธ.
จำนวน : 184 หน้า
ราคา : 80 บาท
ผ่านมา 1 เดือนกว่า ๆ กับการมีรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย เป็นที่น่าสนใจว่าทำไมตลอดเวลากว่า 85 ปีของการถือกำเนิดขึ้นของระบอบประชาธิปไตย เราถึงมีรัฐธรรมนูญใช้มาแล้วทั้งสิ้น 20 ฉบับ เฉลี่ยน 4.2 ปี/ 1 ฉบับ พร้อมกับมีการรัฐประหารมาแล้ว 11/13 ครั้ง ( 11 หรือ 13 ขึ้นอยู่กับนิยามและการนับของนักประวัติศาสตร์การเมือง ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น)
อะไร คือสิ่งที่ทำให้เกิดเรื่องราวเหล่านี้ ตลอดเส้นทางของระบอบประชาธิปไตย และประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทย
"รัฐธรรมนูญ" ถูกว่างไว้ในฐานะเครื่องมือหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ในหลายครั้ง "รัฐธรรมนูญ" กลายเป็นสิ่งแรกที่ต้องถูกทำลาย และสร้างขึ้นใหม่เพื่อ รองรับ ตอบสนอง การทำหน้าที่เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (จากรัฐธรรมนูญก่อนหน้า) รวมถึงในหลายครั้งรัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกัน และอำนวยการทำงาน สร้างความชอบธรรมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะผู้กระทำการรัฐประหาร รงมถึงเป็นเครืองมือในการรับรองการสือทอดอำนาจบางประการของคณะรัฐประหารด้วยในเวลาเดียวกัน
สำหรับ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ของประเทศไทย (เป็นอันดับ 3 ร่วมของโลกที่มีจำนวนรัฐธรรมนูญมากฉบับที่สุด) มีทั้งสิ้น 16 หมวด 1 บทเฉพาะกาล 279 มาตรา
ในบรรดามาตราที่น่าสนใจ สำหรับเราส่วนใหญ่ไปกระจุกตัวกันอยู่ใน "บทเฉพาะกาล" ตั้งแต่
มาตราที่ 265 วรรค 2 ที่เขียนให้ คสช. มีอำนาจในการออกกฎหมายและคำสั่งได้ตามเดิม ซึ่งสามารถอาศัยการทำหน้าที่ของ ม.44 ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ได้
มาตรา 272 ที่เปิดโอกาสให้ตัวของนายกรัฐมาตรี มาจากคนนอกได้ "คนนอก" ในที่นี้ คือ คนนอนที่อยู่นอกเหนือการเสนอ 3 รายชื่อของพรรคการเมือง ในกรณีที่ 3 รายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอไม่สามารถเป็นนายกรัฐมาตรีได้
และมาตรา 279 อำนาจ กฎ คำสั่ง ที่ออกโดย คสช. โดยอาศัย ม.44 มีผลบังคับใช้ต่อไป ถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วก็ตามที ถ้าจะยกเลิดบรรดา ประกาศ กฎ คำสั่ง ที่ออกโดย ม.44 ต้องมีการตราเป็นพระราชบัญญัติเพื่อใช้ในการยกเลิก
นอกจากนี้ยังไม่ได้นับรวมเรื่องของการทำหน้าที่ของ สว. ที่สามารถทำได้ ห้ามทำ และไม่ให้ทำ ตามที่มีการกำหนดกรอบเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายลูกที่ทยอยตบเท้าออกมาให้เราได้ยลในอีกไม่ช้า
น่าสนใจว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" จะสามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยได้หรือไม่ อย่างไร หรือจะเป็นกลไกให้คนบางกลุ่มสามารถสืบทอดอำนาจของตัวเองออกไปได้อีกหลาย 10 ปี
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in