เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
เหลี่ยมคุก By ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
  • รีวิวเว้ย (168) "คุก" คงเป็นเรื่องไกลตัวของใครหลาย ๆ คนถ้าไม่นับคำว่า "คุก (cook)" หลายคนคงไม่อยากมีใครเฉลียดใกล้ ด้วยความที่ใครทๆ ก็อยากอยู่ห่างทำให้คุก ดูเป็นเรื่องไกลตัว ที่ดูลี้ลับ เพราะไม่ค่อยมีใครอยากออกมาแหกปากบอกว่า "กูเคยอยู่คุกมาแล้ว" เว้นแต่พวกที่ชอบใช้คุกเป็นเป็นสถานที่ตากอากาศ คุณชูวิทย์เป็นคนหนึ่งที่เคยเข้าคุก และน่าจะเป็นคนไม่กี่คนที่เข้าคุกแล้งกล้าออหมาเล่าว่าในคุกเป็นอย่างไร กินอยู่ยังไง มีระบบการบริหารจัดการ มีนอก มีใน อย่างไร
    หนังสือ : เหลี่ยมคุก
    โดย : ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
    จำนวน : 200 หน้า
    ราคา : 165 บาท

              อยากที่บอกไป "คุก" ดูจะเป็นแดนสนทยาของใครหลายคน แต่การเรียนรู้เรื่องของคุกเอาไว้ก็ดูจะไม่เสียหายเท่าใดนัก เพราะวันหนึ่งเราอาจจะไปนอนนับยุงอยู่ในคุกก็ได้ใครจะไปรู้

               จากคำบอกเล่าของคุณชูวิทย์ เราพบว่าการใช้ชีวิตในคุกไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย การทำงานแลกเงิน การดิลกับนักโทษ การจ่ายเงินผู้คุม รวมถึงการใช้ชีวิตทั้งเรื่องของข้าวของเครื่องใช้ อาหารการกิน ฯลฯ ที่ดูจะถูกลดทอนคุณภาพลงจากภายน้อย 10 เท่า แต่เพิ่มราคาขึ้นจากภายนอก 100 เท่า

              รวมถึงเรื่องของการจ่ายเงิน หรือค่าใช้จ่ายที่ดู ๆ แล้วการอยู่คุกจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้ชีวิตนอกคุกเสียอีก อย่าง iPhone ที่ข้างนอกเครื่องละ 2-3 หมื่นบาท แต่ข้างในเครื่องละ 3 แสน - 1 ล้านบาท ถ้าในทางเศรษฐศาสตร์ เราควรเรียกเหตุการณ์ลักษณ์นี้ว่า อักตราเงินโคตรเฟ้อ

              นอกจากเรื่องของการใช้ชีวิตในคุกแล้ว การใช้ชีวิตนอกคุกหลังจากออกมาแล้วก็ไม่แพ้กัน กับบางคนที่ออกจากคุกมาและเชื่อเวลากับโลกภายนอกไม่ได้ หบายคนเลือกจบชีวิตตัวเองลง แทนที่การมีชีวิตนอกคุก ปัญหาเรื่องของการขาดออกจากสังคมเป็นเวลา 10-20 ปี ส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตของอดีตนักโทษ ที่บางคนอาจแค่หลงผิดชั่วครู่ชั่วคราว หรือบางคนอาจจถูกหางเลขด้วยซ้ำไป

               นอกจากเรื่องในคุกแล้ว "เหลี่ยมคุก" ยังบอกเล่าเรื่องราวของชนวนเหตุที่ทำให้คุณชูวิทย์เข้าคุก รวมถึงกระบวนการ ก่อน ระหว่าง หลัง กระบวนของระบบยุติธรรมไทย

             "คุก" เป็นแนวคิดของการจัดการ "คนไม่ดี" ด้วยการจำกัด "อิสระภาพ" เพื่อให้ "สำนึกบาป" ในสิ่งที่กระทำลงไป แต่ในความเป็นจริง กระบวนการลงโทษของไทย (คุก) สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้จริงหรือ ? หรือแท้จริงแล้ว "คุก" กลายเป็นสถานที่ "กวดวิชา" ของเหล่ามิจฉาชีพที่เป็นโดย "กมลสันดาร" และเป็นพื้นที่ "ทรมาน" สำหรับผู้ที่กระทำผิดพลาดจากความรู้เท่าไม่ถึงกาล ซึ่งในท้ายที่สุดพวกเขาก็เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ที่มีขั้นตอนและกระบวนการเช่นเดียวกัน


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in