เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
App Jp Ling หรรษาspicygarlic
04. เขียนวิจัยป. โท ยากจริงมั้ยนะ?
  • นิสิตหรือนักศึกษาหลาย ๆ คนที่จบเอกญี่ปุ่นมา ก็คงจะมีเป้าหมายในการเรียนต่อปริญญาโท ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศไทยหรือที่ประเทศญี่ปุ่น และผู้เขียนคิดว่า จุดที่หลาย ๆ คนอาจจะกังวลเมื่อพูดถึงการเรียนต่อปริญญาโทก็คือ ‘การทำวิจัย’ นั่นเอง


    ดังนั้นในวันนี้ ผู้เขียนเลยจะมานำเสนอวิธีการmeวิจัยปริญญาโท ว่าไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลแบบที่ทุกคนคิดกัน


    ในการทำวิจัยระดับปริญญาโทนั้นจะมีลำดับการทำคร่าวๆ 5 ขั้นตอนด้วยกัน

    1. กำหนดหัวข้อวิจัย

    2. กำหนด 問題 หรือ 課題

    3. กำหนดวิธีวิจัยที่ตอบโจทย์เรา

    4. ลงมือวิจัย 

    5. เขียนออกมา



    เริ่มกันที่ขั้นตอนแรกคือ การกำหนดหัวข้อวิจัย

    ในขั้นตอนนี้ จะเป็นการหาหัวข้อที่เราอยากทำวิจัย ซึ่งบางคนอาจจะคิดไว้อยู่แล้ว หรือมีหัวข้อคร่าวๆ ที่อยากทำแล้วก็ได้ แต่สำหรับคนที่ยังนึกไม่ออกนั้น ให้ลองถามตัวเองดูว่า เราชอบหรือสนใจวิชาไหนที่เคยเรียนมาเป็นพิเศษหรือไม่ หรือจะคิดไปถึงอนาคตก็ได้ ว่าอยากเป็นอะไร หรือถ้าเอาในชีวิตประจำวัน อาจจะดูว่าปกติเราใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำอะไรบ้าง การถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง ก็เป็นตัวช่วยสำคัญในการหาหัวข้อวิจัยของเรา เพราะสุดท้ายสิ่งที่เราได้มาจากการตั้งคำถาม ก็คือเราได้ตกตะกอนความคิดของตัวเอง ทำให้หัวข้อที่ได้มา เป็นสิ่งที่เราคิดมาแล้วว่าเราชอบ สนใจ และสามารถอยู่กับมันได้เป็นระยะเวลานาน


    ไปที่ขั้นตอนต่อมาคือ การกำหนด 問題 และ 課題

    ขั้นตอนนี้เราจะทำการ scope หัวข้อที่เรากำหนดไว้ในข้อ 1 ให้แคบลงมา กล่าวคือเรื่องที่เราจะทำจะเป็น subset ของหัวข้อใหญ่ ๆ อีกทีหนึ่ง ตัวอย่างเช่น หากเรามีความสนใจในภาษาถิ่น ในขั้นตอนนี้เราก็อาจจะมาดูว่า จะศึกษาภาษาถิ่นไหนเป็นหลัก 

    เมื่อเรามีหัวข้อที่ต้องทำการวิจัยแล้ว สิ่งต่อมาที่ตองพิจารณาคือ 問題 ก็คือ หัวข้อที่เราเลือกมานั้น มีปัญหาอะไร ทำไมเราถึงต้องวิจัยประเด็นที่เกี่ยวกับหัวข้อนี้


    เมื่อเราได้คำตอบของ 問題 แล้ว สิ่งต่อไปคือ การกำหนดวิธีวิจัยที่ตอบโจทย์เรา

    คือจะเป็นการที่เราจะดูว่า วิจัยที่เราจะทำนั้น มีวิธีการทำวิธีวิจัยได้อย่างไรบ้าง เช่น ถ้าเราจะทำเรื่องภาษาถิ่นโอกินาว่าในสื่อต่างๆ เราก็อาจจะต้องเก็บข้อมูลจากรายการต่างๆ ในโทรทัศน์ หรือจากรายการวิทยุ เป็นต้น หรือเราอาจจะทำแบบสอบถามเกี่ยวกับงานวิจัยของเราก็ได้ แต่เราก็จำเป็นที่จะต้องตั้งเกณฑ์ของผู้ตอบแบบสอบถามหรือรายการโทรทัศน์ที่เราจะนำมา เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้องานวิจัยของเราด้วยเช่นกัน


    ใน 3 ขั้นตอนดังกล่าวก่อนที่เราจะเริ่มลงมือเขียนวิจัยนี้ การอ่าน 先行研究 นั้นก็ถิอเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ นอกจากที่เราจะสามารถดูได้ว่าหัวข้อไหนมีใครเคยทำไปแล้วบ้าง อาจทำให้เราปิ๊งไอเดียหัวข้อวิจัยใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีคนเคยทำเลยก็เป็นได้ และยังสามารถทำให้เราเห็นรูปแบบวิธีการวิจัยของแต่ละคนได้อีกด้วย ทำให้ในบางอย่างเราสามารถนำมาปรับใช้กับงานของเราได้ 


    โดยเว็บไซต์ในการหางานวิจัยของญี่ปุ่นหลักๆ เช่น CiNii เป็นต้น


    ต่อมาคือขั้นตอน ลงมือวิจัย 

    คือทำแผนที่เราวางไว้ข้างต้นให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง คือการรวบรวมข้อมูลด้วยที่ธีที่เรากำหนด รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลที่เราหามา เพื่อให้มีข้อมูลที่เราจะทำไปทำวิจัยต่อ


    ส่วนขั้นตอนสุดท้ายคือ เขียนออกมา

    คือการนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียง ทั้งข้อมูลที่อ้างอิง และข้อมูลที่เราไปหามาด้วยวิธีการต่าง ๆ 



    ซึ่งในขั้นตอนเหล่านี้ เราควรจะมีการแบ่งเวลาที่ดี เพราะงานเหล่านี้ไม่ใช่งานที่จะทำเดือนสองเดือนแล้วเสร็จ ทุกอย่างมีกระบวนการ ทั้งกระบวนการการลงมือทำ และกระบวนการคิดวิเคราะห์ เพราะฉะนั้น เราควรเผื่อเวลาในการทำ ไม่ให้ช่วงท้าย ๆ เรารีบจนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อวิจัยที่เราที่เราทำได้ ทำให้งานของเราอาจจะออกมาไม่ค่อยดีเท่าที่ควร แต่ไม่ใช่ว่าในระยะเวลาสองปีที่เราทำวิจัย เราจะต้องเคร่งเครียดกับงานไปเสียทุกวัน เราก็อาจจะมีวันที่เหนื่อย หรืออยากพักบ้าง ดังนั้น การให้เวลากับตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะถึงร่างการเราจะพร้อม นอนพอ แต่ถ้าเราไม่มีแรงใจ ผลงานเราก็จะไม่เกิดออกมา


    ในการทำวิจัยในระดับปริญญาโทนั้น การทำวิจัยก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ แต่สิ่งที่มีความสำคัญพอ ๆ กัน ก็คือการหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความรู้เฉพาะทางในวิจัยที่เราจะทำ และควรเลือกจากอาจารย์ก่อนที่จะเลือกมหาวิทยาลัย เพราะว่าถ้าอาจารย์ที่เราเลือกนั้น ไม่ได้มีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับเรื่องที่เราจะทำจริง ๆ นั้น โอกาสที่อาจารย์จะไม่รับเราเป็นนักศึกษาในที่ปรึกษาก็จะมีมากขึ้นด้วย 


    รวมถึงก่อนที่เราจะเลือกอาจารย์คนไหนจากมหาวิทยาลัยใด ๆ การถามรุ่นพี่ที่เคยมีประสบการณ์การไปที่มหาวิทยาลัยนั้น หรือเคยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวกับที่เราดูๆ ไว้ การสอบถามรุ่นพี่เกี่ยวกับรายละเอียดเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะว่า การที่เราเลือกทำวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว นอกจากเราจะต้องอยู่กับเนื้อหาเหล่านั้นเป็นปี เราก็ยังต้องอยู่กับอาจารย์ที่ปรึกษาเราด้วย ถ้าเราได้ฟังมาว่านิสัยอาจจะไม่ค่อยเข้ากัน จึงอาจเป็นตัวเลือกในการเลือกอาจารย์เช่นกัน รวมถึงการถามอาจารย์คนไทยที่เรารู้จัก อาจจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาตอนเรียนปริญญาตรีก็ได้ เพราะในวงการอาจารย์หรือนักวิจัยก็จะรู้จักหรือเคยเห็นหน้าค่าตากันมาบ้าง ถ้าโชคดี หรือหัวข้อตรงกับความรู้เฉพาะทางอาจารย์คนญี่ปุ่น ก็อาจจะได้รับการแนะนำการอาจารย์คนไทยไปถึงอาจารย์คนญี่ปุ่น ทำให้เรามีโอกาสเพิ่มมากขึ้นไปอีกด้วย


    ผู้เขียนเชื่อว่า ถึงการทำวิจัยในระดับปริญญาโทจะเป็นเรื่องที่ยาก ต้องผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์มาอย่างหนักและถี่ถ้วน แต่ถ้าเป็นเรื่องที่เรามีแพชชั่นกับมัน ศึกษาหาข้อมูลด้วยความชอบ มีความอยากรู้เพิ่มมากขึ้นกับหัวข้อที่ทำ มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่น่ารัก มีการแบ่งเวลาการทำวิจัยได้อย่างดี วิจัยที่เราตั้งใจทำ ตั้งใจเก็บข้อมูล ตั้งเขียนออกมาตลอดเวลา 2 ปีก็จะเสร็จสมบูรณ์ และออกมาเป็นผลงานอันน่าภูมิใจของเราได้ในที่สุดค่ะ



    สำหรับบล็อกวันนี้ ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้

    ขอบคุณผู้อ่านทุกคนนะคะ ไว้เจอกันบล็อกหน้า สวัสดีค่ะ


    --------------------------------------------------------------------------------------------

    แหล่งที่มา

    https://jeducation.com/main/master/



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
k.l.k (@k.l.k)
https://cir.nii.ac.jp/ อันนี้คือเว็บไซต์ CiiNii นะคะ สรุปได้เป็นขั้นตอนเลย
spicygarlic (@spicygarlic)
@k.l.k ขอบคุณค่ะอาจารย์🥺🙇🏻‍♀️