สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน นี่ก็เป็นบล็อกที่ 2 แล้วค่ะ เย่ วันนี้ธีมของเราก็คือ คำยกย่องถ่อมตนนั่นเองค่ะ
ผู้เขียนเชื่อว่า หากใครที่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่น คงจะไม่มีใครไม่รู้จักคำสุภาพ หรือที่เรียกกันว่า 敬語 อย่างแน่นอน เพราะว่านอกจากจะมีการผันรูปที่ต่างกันออกไป ก็ยังมีรูปที่ต้องจำเพิ่มอีกด้วย ซึ่ง 敬語 นี้ก็ถือเป็นอีกด่านหนึ่งในการเรียนภาษาญี่ปุ่น เพราะเรียนไป เราจะเอาไปพูดกับใคร พูดในสถานการณ์ไหน ก็ไม่แน่ใจว่าจะพูดถูกหรือไม่ วันนี้บล็อกของเราก็จะมาไขข้อกระจ่างนี้
คำยกย่อง 尊敬語
คำยกย่อง จะใช้เมื่อเราต้องการให้เกียรติคู่สนทนา ต้องการยกย่องการกระทำของคนที่เรากล่าวถึง หรือกรณีประธานในประโยคมีสถานภาพสูงกว่าเรา เช่น คุณครู เป็นต้น
โดยวิธีการเปลี่ยนคำกริยารูปทั่วไป ให้เป็นคำยกย่องสามารถทำได้ดังนี้
ทำให้เป็นรูปยกย่องแบบปกติ คือ เติม お ข้างหน้า แล้วตัด ますแล้วจึงเติม になります ลงไป
เช่น 待ちます➡︎お待ちになります หรือ 会います➡︎お会いになります เป็นต้น
ผันเหมือนรูปสามารถ 〜れる, 〜られる เช่น 書きます➡︎書かれる เป็นต้น
เปลี่ยนรูป เช่น 食べます➡︎召し上がります หรือ 見ます➡︎ご覧になります เป็นต้น
คำถ่อมตน 謙譲語
คำถ่อมตน จะใช้เมื่อพูดถึงการกระทำของตนเอง หรือการกระทำของคนในกลุ่มตนเอง (うち) ต่อคู่สนทนา
โดยวิธีการเปลี่ยนคำกริยารูปทั่วไป ให้เป็นคำถ่อมตนสามารถทำได้ดังนี้
ทำให้เป็นรูปถ่อมตนแบบปกติ คือ เติม お ข้างหน้า จากนั้นตัด ます แล้วใส่ します แทน
เช่น 会います➡︎お会いします หรือ 待ちます➡︎お待ちします เป็นต้น
เปลี่ยนรูป เช่น 食べます➡︎いただきます หรือ 見ます➡︎拝見します เป็นต้น
ดังจะเห็นได้จากตารางนี้ว่าคำยกย่องกับถ่อมตนมีการผันอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วรูปที่เรามักจะใช้กันก็คือ 尊敬形(丁寧形) แล้ว 尊敬形(普通形) ล่ะ ใช้ไม่ได้หรอ หรือใช้ได้ตอนไหนกันแน่ คำตอบก็คือ ใช้ได้ค่ะ แต่ว่าก็ต้องดูสถานการณ์ไป เช่น
学生A: 先生、昼ご飯を召し上がっていますか?
先生:まだ食べていません。
—----
学生B: 先生は昼ご飯を召し上がっていないか?
学生A: うん、そうだ。
ในกรณีนี้ก็จะเห็นได้ว่า ตอนที่นักเรียน A พูดกับคุณครู ก็จะใช้เป็น 尊敬形 เพื่อให้เกียรติคุณครู และใช้
丁寧形 เพื่อความสุภาพ แต่พอนักเรียน A มาคุยกับนักเรียน B ซึ่งเป็นเพื่อน ก็ยังใช้ 尊敬形 เพื่อยกย่อง ให้เกียรติคุณครู แต่จะเปลี่ยนเป็นใช้ 普通形 แทน เนื่องจากคุยกับเพื่อนของตน ไม่ต้องใช้รูปสุภาพ หรือ
です/ます ก็ได้
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า รูปไหนควรใช้กับตนเอง
วิธีทดสอบคือ ลองเอามาใช้โดยประธานคือ 私が ถ้าใช้กับ私がแล้วแปลก ➡︎ คือคำยกย่อง
คุณผู้อ่านที่เห็นภาพนี้ก็อาจจะสงสัยว่า ทำไมบางคำ ถึงใช้รูปถ่อมตนไม่ได้ หรือบางคำใช้ได้ได้แค่ 普通形 กันนะ เช่น お歩きします ทำไมถึงใช้ไม่ได้กันล่ะ คำตอบก็คือ ตามที่ได้กล่าวไปข้างบนถึงความหมายของรูปถ่อมตน คือพูดถึงการกระทำของตน *ต่อคู่สนทนา* แต่คำว่า 歩きます ไม่สามารถใช้ได้ เพราะเราสามารถพูดคำนี้ได้โดยไม่ต้องมีคู่สนทนานั่นเอง
ส่วนรูปถ่อมตน 丁寧形 ที่ใช้ได้นั้น จะเรียกว่า 丁重語
丁重語 คือ คำที่พูดเพื่อให้ผู้พูดดูสุภาพมากขึ้น โดยไม่ได้คำนึงถึงคู่สนทนา ไม่ได้ต้องการยกย่องหรือให้เกียรติใคร แค่พูดเพื่อให้ดูสุภาพขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่มีการใช้ในรูป 普通形
ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยๆ ของ 丁重語 เช่น よろしくお願いいたします หรือ ○○と申します เป็นต้นนั่นเอง
———————————————————————————————————
สำหรับบล็อกของเรา ก็จบไว้เพียงเท่านี้ คราวหน้าจะมีหัวข้ออะไรน่าสนใจอีก รอติดตามกันด้วยนะคะ
หากมีข้อผิดพลาดประการใด สามารถคอมเมนต์บอกกันได้เลย
ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาอ่านกันนะคะ
แหล่งที่มา
https://we-xpats.com/th/guide/as/jp/detail/10961/
https://learnjapanese.sg/2018/06/05/introduction-to-keigo-part-5-丁重語/
ก้าวไกลไปกับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 2
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in