เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First StoryTulipable
<เล่มที่ 1> The Power Of INPUT จำได้กันไหมว่าเมื่อวานรับอะไรเข้าไปในสมองกันบ้าง
  • ปัจจุบันเป็นยุคที่หนึ่งวันเราได้รับข้อมูลอย่างมหาศาลเลยใช่ไหม
     แค่เปิดแอพพลิเคชั่นก็เจอข้อมูลใหม่ ๆ ส่งเข้าหัวเราแต่เช้า
    วันนึงเรารับข้อมูลเยอะขนาดนี้ เสียเวลาเยอะขนาดนี้ ให้ทุกคนลองถามตัวเองดู
    *จำข้อมูลที่เรารับเมื่อวานทั้งหมดได้ไหม*
    *หนังสือเล่มล่าสุดที่อ่าน ได้อะไรกลับมาบ้าง ยังจำเนื้อหาได้อยู่ไหม*
    *ข้อมูลข่าวสารที่เสพอยู่ทุกวัน จำเป็นจริง ๆ กับชีวิตไหม*
    หนังสือเล่มนี้ทำให้เราตั้งคำถามพวกนี้กับตัวเอง 

    THE POWER OF INPUT
    ศิลปะของการ เลือก+รับ*รู้
    สำนักพิมพ์ Sandclock
    ราคา 420 บาท
    362 หน้า
    ผู้เขียน ชิออน คาบาซาวะ
    ผู้แปล อาคิรา รัตนาภิรัต

    เราอ่านหนังสือเล่มนี้หลังจากอ่าน The Power Of OUTPUT เกือบ ๆ ครึ่งปี
    เรียกได้ว่าอ่านจบแล้วนำไปใช้ได้เลยทันทีหลังจากที่พลิกหนังสือทุก ๆ หน้าเลย
    ทริคดี ๆ เยอะเหมือนเล่มก่อน ๆ ของคุณหมอ(ผู้เขียนเป็นจิตแพทย์)เลยค่ะ

           ในหนังสือเล่มนี้บอกไว้ว่าสัดส่วนทองคำของการ รับเข้า-ส่งออก ข้อมูลคือ 3:7/ input3:output7 ซึ่งครั้งแรกที่เรารู้ก็คือ "เออ มันขนาดนี้เลยหรอ แต่ที่เราทำอยู่มันกลับกันเลยนะ" การที่จะทำให้ข้อมูลที่รับรู้อยู่ในหัวเราได้ตลอดไปจนแก่ไปเลยเนี่ยยย เราต้องสร้าง output เป็นหลักนะ ไม่ใช่อ่าน ๆ แล้วจบวางข้อมูลไว้ในหัว วางทิ้งไว้อีกสามวันก็ลืมแล้วแก ซึ่งการสร้าง output ให้ได้เยอะ ๆ และมีประสิทธิภาพเนี่ย ทุกคนก็ไปซื้อ The Power Of Output มาอ่านกันได้ เรียกได้ว่ามีวิธีการสร้าง output ที่แน่นปึกมาก ๆ

         แต่!!! หนังสือเล่มนี้ The Power Of Input ก็ทำให้เรารู้เหมือนกันว่าการเลือกที่จะรับข้อมูลและรู้/เข้าใจข้อมูลเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ ก็มีความสำคัญกับการสร้าง output เลยนะ หนังสือเล่มนี้จะบอกและเตือนเราว่า ตลอดการใช้ชีวิตเราในหนึ่งวันของคนเรามีการรับข้อมูลมากมาย ตั้งแต่ตื่นนอนยันก่อนเข้านอนหนึ่งนาทีสุดท้าย แล้วเราจะรับรู้ข้อมูลที่ไม่จำเป็นกับเรา อย่างการรู้ว่าเพื่อนห่าง ๆ ของเราใช้ชีวิตอย่างไรผ่านการลงสตอรี่ไอจีไปทำไมกันนะ เราจะไถทวิตเตอร์ตลอดเวลาที่เราว่างไปทำไม การรับข้อมูลที่ทำให้เราเครียดไปทำไม อีกอย่างการติดโซเชี่ยลยังทำให้สมองเราทำงานช้าลงและทำให้เมื่อเราต้องรับข้อมูลที่จำเป็นจริง ๆ อย่างการอ่านหนังสือสอบ ทำวิจัย จะทำให้สมองเราล้ายิ่งขึ้นไปอีกการใช้ชีวิตแบบรับข้อมูลไปเรื่อยเปื่อย รับข้อมูลโดยไม่คิดตาม การทำแบบนี้เป็นวงจรชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ เนี่ย อาจทำให้ประสิทธิภาพการรับรู้ของเรามันลดลงเรื่อย ๆ เราเชื่อว่าหลายคนก็คงเป็นแบบนี้ ซึ่งเราก็เป็น555 
         แต่หนังสือเล่มนี้จะบอกวิธีการที่จะเอาตัวเราออกจากวงจรชีวิตที่จะทำให้คุณภาพและสุขภาพของตัวเราในอนาคตไว้ได้ครอบคลุมมาก ๆ เลยโอเคค ไปเข้าเรื่องกันเหอะ เขียน blog ครั้งแรก เวิ่นมากT-T

    หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 5 chapter ใหญ่ ๆ เลย แต่เราจะยกมารีวิวตรงช่วงที่เรารู้สึกเข้าถึงมากที่สุด

    การตั้งเป้าหมาย ตั้งคำถาม กำหนดสิ่งที่ต้องการได้รับ
    คุณหมอบอกไว้ว่า ก่อนที่เราจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง อ่านหนังสือ แล้วเราต้องตั้งเป้าหมาย ว่าเราจะทำอะไรต่อ อย่างเช่น เราอ่านหนังสือเล่มนี้เพื่อที่เราจะได้เอาไปรีวิวและบรรยายออกมาให้เป็นรูปธรรมที่สุด ดังนั้น เราต้องตั้งใจอ่านนะ หากเราไปฟังสัมมนา ก็ให้คิดคำถามไว้ล่วงหน้าเพื่อที่เราจะได้ตั้งใจฟังและกลับไปตอบคำถามที่ตัวเองตั้งไว้ได้นั่นเองง

    ไม่ว่าจะสังเกตุเห็นอะไร ลองฝึกสมองด้วยการคิดตามเป็นประจำ
    ทุกอย่างเลย การดูซีรี่ย์ อ่านหนังสือ ดูหนัง หรือแม้แต่กระทั่งนั่งรถไฟฟ้าก็สามารถสังเกตุและคิดตามโดยอิงจากข้อมูลที่ได้รับได้ แล้วการทำแบบนี้จนชิน ข้อมูลที่เราได้รับจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น จำได้นานมากขึ้น เพราะมันผ่านกระบวนการคิดนั่นแหละะ

    วิธีการเลือกรับข้อมูล
    หนังสือเล่มนี้มีทริคเยอะมากทุกคน อย่างการ เลือกที่ลงเรียนคอร์สอย่างหนึ่งที่สนใจแต่ไม่เคยลองทำมาก่อน ให้หาข้อมูลเบื้องต้นก่อน ว่า *สนใจจริง ๆ ไหม หากสนใจจริง ๆ ก็ลงเลยจ้า การเลือกหนังสือที่เหมาะกับตัวเอง การเข้าสังคมที่เราสนใจเพื่อที่จะให้เราได้ข่าวสารที่เราสนใจก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง อย่างทุกวันนี้ที่เราดูซีรี่ย์ เราก็ดูเพราะเป็นประโยชน์กับเรานะ เพราะเราได้เรียนรู้ภาษา แต่อย่างที่บอก คุณหมอเค้าเขียนทริคไว้เยอะจริง ๆ อยากให้ได้ไปลองอ่านกัน

    การฝึกภาษาจากการรับข้อมูลอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
    หนังสือเล่มนี้ก็ได้พูดถึงการประมวลผลตามสิ่งที่ตัวละครพูด ว่าตัวละครพูดว่าอะไร ใช้ศัพท์อะไร ถ้าพูดตามได้ก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก แหละ
    ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่เราทำมาโดยไม่รู้ตัวมานานเป็นปีแล้ว รู้อีกทีคลังศัพท์ภาษาต่างประเทศของเราก็เต็มหัวเลยทุกคน หลังจากอ่านเล่มนี้จบเราก็รู้ได้ว่าที่ตัวเองติดซีรี่ย์ก็ไม่ได้มีแต่ข้อเสีย เพราะได้ฝึกภาษาเยอะมากในช่วงที่ติดซีรี่ย์T-T (เพิ่มเติม เวลาดูซีรี่ย์อย่านอนดูเลย เดินลู่วิ่งหรือวิ่งไปด้วยดีกว่า คุณหมอคาบาซาวะบอกไว้ในนี้แหละ การออกกำลังกายทำให้สมองเราจำอะไรได้ดีขึ้น)

    อารมณ์มีผลต่อความจำด้วยนะ
    การที่เรามีอารมณ์ความรูัสึกจะทำให้เราหลังฮอร์โมนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอะดรีนาลิน โดพามิน ถ้าเรามีอารมณ์ร่วม เช่น เราตื่นเต้นอะดรีนาลินหลั่ง จะทำให้เรารู้สึกอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากกกกกกกกก อย่างนึงเลย

         ที่เขียนมาทั้งหมดเรียกได้ว่าเป็นแค่ 1:50 ของทริคทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เลยมันเยอะะะะมากจนเรางง แล้วก็เป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงเหมือนกันว่ามันมีวิธีแบบนี้ด้วยอะ หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่ทำให้เราพัฒนาทักษะในชีีวิตประจำวันของเราในด้านที่ไม่คิดว่ามันจะพัฒนาได้อีกด้วย 
    เราคิดว่ามีประโยชน์กับทุกวัยเลย ด้วยโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารแบบนี้ เราไม่สามารถที่จะรู้ทุกอย่างได้มันเป็นเรื่องปกติ ในเมื่อรู้อย่างนั้นแล้วละก็ ลองมาเลือกรับข้อมูลที่เราจำเป็นและเป็นประโยชน์กับเรากันเถอะทุกคน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสุขจิตของเราในช่วง WFH จะดีขึ้นตาม ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม

            หลังจากที่เพื่อน ๆ ที่ตั้งใจกดเข้ามาอ่านเพราะสนใจ หรือคนที่อ่านแล้วรู้สึกสนใจหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเลยเราก็รู้สึกดีใจมาก ๆ เพราะเขียนครั้งแรก อาจจะเวิ่นเว้อหรือใช้คำแปลกบ้าง แต่นั่นไม่สำคัญ!! 
    เพราะถ้าใครรู้สึกสนใจขึ้นมาแล้ว เราขอให้ทุกคนพาตัวเองไปห้างแล้วเดินไปร้านหนังสือ และเดินเข้าไปในโซน จิตวิทยาและพัฒนาตนเอง แล้วหยิบ The Power Of Input แล้วจ่ายเงิน จากนั้นถึงบ้านเปิดอ่านในทันทีเลยนะ เพราะอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญในการรับข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพยังไงหล่ะ

         อย่างไรก็ตามบทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นที่เกิดจากรสนิยมและความคิดส่วนบุคคลเท่านั้น หากมีข้อผิดพลาดพิมพ์ผิดหรือเล่าได้วนไปวนมายังไงขออภัยด้วยค่ะ

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in