เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First Storymmaysp93
"ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของนักแข่ง ล้วนมีค่ากับทุกความเสียสละ"
  •     มิเลน่าเริ่มต้นทำงานในโมโตจีพีด้านการสื่อสารและขนส่ง
        ในปี 2019 เธอกลายเป็นผู้จัดการทีมหญิงคนแรกในแพดด็อก


        ตอนที่เธอยังเด็ก เธอดูการแข่งขันความเร็วสองล้อแล้วถามพ่อ ผู้ซึ่งเดินทางไปทำงานบ่อยๆถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสนาม หลายปีต่อมา มิเลน่า โคแอร์เนอร์คือหนึ่งในสุภาพสตรีในแพดด็อกที่ทุกคนรู้หน้าค่าตากันเป็นอย่างดี บุคคลอ้างอิง แบบอย่างของมืออาชีพและจุดหมายปลายทางจากปี 2019 ที่เห็นเธอขับเคลื่อนทีม MV Agusta Forward Racing ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันโมโตทู เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ

         การถูกเลี้ยงดูในครอบครัวที่หลงใหลในเรื่องการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ ในปี 1998 คุณตาพาเธอไปที่สนามซัคเซนริน ซึ่งในตอนนั้นเป็นเจ้าภาพจัดเยอรมันจีพีครั้งแรก มิเลน่าบอกว่า

        "ฉันมาจากเมืองที่ไกลจากซัคเซนริงไปยี่สิบกิโลเมตร มันเป็นสนามที่พิเศษมาก เพราะเวลานักแข่งไปที่พิทเขาจะต้องเดินผ่านทางสาธารณะที่แฟนๆสามารถมองเห็นได้ใกล้ๆ นั่นเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมนี้ และฉันไม่เคยนึกฝันเลยว่าจะได้กลับมาอยู่ตรงนี้อีกครั้ง หลังจากที่ผ่านไปนานหลายปี"


        จากประสบการณ์ที่ได้ไปเยอรมันกรังด์ปรีซ์ มิเลน่าเริ่มอยากไปสนามอื่นรอบๆยุโรป เพื่อรู้จักกับสภาพแวดล้อมและผู้คนที่เกี่ยวข้องกับในสนามมากยิ่งขึ้น
      เธอมาที่สนามตามปกติและมิเลน่าได้รับการเสนองานครั้งแรก...

       "มีคนในสนามที่ฉันเจอตอนไปสังสรรค์ด้วยกัน เขาแนะนำงานในทีมให้ฉัน เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเงินไปแข่งขันกับคนอื่น แต่จริงๆแล้ว ฉันก็ต้องจ่ายเงินค่าเดินทางอยู่ดี ตอนนั้นฉันปฏิเสธไปเพราะเพิ่งเรียนอยู่ชั้นไฮสคูลและยังไม่สอบด้วย แต่พอไปที่สนามเฆเรซ พวกเขาเสนองานให้ฉันอีกรอบ ซึ่งครั้งนี้ฉันไม่ปฏิเสธ"

       และนั่นทำให้ปี 1998 มิเลน่าได้เข้าสู่โลกของโมโตจีพี
      "หลังจากทำงานเป็นนางแบบ งานแรกของฉันในแพดด็อกคือการเป็นแผนกต้อนรับของทีมสก็อตต์"

        งานในเวิลด์ แชมเปี้ยนชิพ เริ่มสนุกและมีประโยชน์สำหรับการจ่ายค่าเล่าเรียนของเธอ

        "ฉันเริ่มทำงานในแพดด็อกตั้งแต่ก่อนเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ฉันคิดว่าไลฟ์สไตล์นี้น่าจะดีและจนล่วงเลยเวลาไป ฉันเริ่มมองหางานที่จริงจัง และฉันก็มาเจอที่นี่" ผู้จัดการทีมสาวกล่าวด้วยรอยยิ้ม

        "ตอนที่ฉันทำงานในแผนกต้อนรับ ฉันทำตามคำแนะนำของสเตฟาโน เบดอน ผู้ซึ่งสอนฉันหลายอย่างมากและเป็นผู้ป้อนหน้าที่ที่ฉันต้องรับผิดชอบในแต่ละปี"

       หลังจากที่มีประสบการณ์กับทีมสก็อตต์ในรุ่น 125cc และ 250cc มิเลน่าก็เข้าทีมใหม่ ชื่อทีม Forward Racing ดูแลเรื่องการขนส่ง ก่อนจะก้าวขึ้นไปสู่ทีมเทคทรีในรุ่นโมโตจีพี ในการเป็นผู้จัดการด้านการตลาดและการสื่อสาร ซึ่งเธอทำหน้าที่นี้อยู่ห้าปีก่อนที่จะย้ายกลับมาทำทีมรุ่นโมโตทู

       มิเลน่าบอกกับเราว่า แต่ละหน้าที่ในแพดด็อกมีความพิเศษแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันคือความสัมพันธ์ที่ถูกสร้างขี้นมา 

       "ฉันชอบติดตามการเติบโตของนักแข่งมืออาชีพ อย่างตอนที่ฉันทำงานกับแคล ครัชโลว์ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง"
    เธอกล่าว นึกย้อนไปถึงความสัมพันธ์อันพิเศษของเธอ

       "แม้ว่าเราจะไม่ได้อยู่ทีมเดียวกัน แต่แคลบอกว่า 'อย่างน้อยเราก็เป็นเพื่อนกันได้นะ' 
        เวลาที่คุณทำงานกับนักแข่ง และต้องบอกเขาให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ตรงนี้ต้องลดความขี้เล่นลง แต่ต้องมีความสนิทในระดับหนึ่งด้วย เพราะเขาจะเคารพในสิ่งที่คุณพูด นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันรู้สึกว่านักแข่งทุกๆคนมีความพิเศษมากๆ"

      เธอกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่าคุณต้องสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มันไม่ใช่งานปกติทั่วไป เพราะคุณต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับพวกเขา"

       ในปี 2019 มิเลน่าเริ่มต้นอาชีพบทใหม่ในแพดด็อก และครั้งนี้เธอเป็นผู้จัดการในทีมเองและมีนักแข่งสองคนที่มีอายุและบุคลิกต่างกันโดยสิ้นเชิง
    ซึ่งพวกเขาคือ โดมินิค เอเกเตอร์และสเตฟาโน่ แมนซิ

       "สเตฟาโน่เก่งขึ้นเยอะมาก ถ้าให้พูดถึงวิธีการใช้ชีวิตตอนที่เขาเริ่มแข่งครั้งแรกกับตอนนี้นั้น เขาเหมือนเป็นคนละคนกันเลย การได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวนักแข่งที่เรามีส่วนร่วมด้วย แม้ว่าจะน้อยนิดก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่ดีจริงๆ นี่แหละคือรางวัลในการทำงานของฉัน"

      การได้เข้ามาทำงานในแพดด็อกตั้งแต่ที่เธอยังเป็นเด็ก มิเลน่าสังเกตเห็นถึงพัฒนาการในสภาพแวดล้อมการทำงานของเธอและเหล่าสุภาพสตรีก็เข้ามาทำงานในหลากหลายพื้นที่มากขึ้น แต่เธอก็ระบุว่า

        "เรายังถือว่าเป็นส่วนน้อยอยู่"
    เธออธิบายต่อด้วยเหตุผลที่หลากหลายว่า "ถ้ามองจากมุมมองของธุรกิจ มันจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายพิเศษสำหรับทีมเล็กๆที่มีค่าใช้จ่ายจำกัดในการรับผู้หญิงเข้าทีม เพราะคุณต้องมีชุดพิเศษที่ทำเพื่อหนึ่งบุคคล รวมถึงการต้องจองห้องเดี่ยวเวลาเดินทางด้วย"

       แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ก็ค่อยๆถูกพังทลายลงด้วยความสามารถและความเป็นมืออาชีพของมิเลน่า ผู้ซึ่งการเป็นแหล่งข้อมูลตัวจริงของทีม

       "นอกเหนือจากเรื่องเหล่านี้ ฉันคิดว่าถ้าเด็กผู้หญิงต้องการที่จะทำงานในแพดด็อก พวกเธอต้องทุ่มสุดตัว เพราะถ้ามีสิ่งที่มันยาก คุณต้องไม่ยอมแพ้ กลับกันคือใช้มันเป็นแรงผลักดัน"

        นอกจากนี้ คำแนะนำของมิเลน่าคือ การเรียน รู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เรียนรู้เรื่องเทคนิคของตัวรถด้วยยิ่งดีจากประสบการณ์ที่เธอเคยผ่านมา

       "เพื่อให้เป็นที่เคารพหรือเพื่อให้มีหน้าที่ มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้ทีมรู้ว่าคุณเฝ้าดูอยู่เสมอและพวกเขาไม่สามารถเอาเปรียบคุณได้เพียงเพราะเราเป็นผู้หญิง"

        "ยิ่งกว่านั้น การต้องทำหลายบทบาทภายในแพดด็อกช่วยให้ฉันสามารถรู้ว่าตรงจุดไหนและอะไรบ้างที่ต้องดูแล เพื่อให้มั่นใจว่าทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดีที่สุด หลังจากนั้นฉันก็ใช้เวลาเกินครึ่งชีวิตไปกับโลกสองล้อนี้แล้ว"

       สุดท้ายนี้ พวกเราถามมิเลน่าถึงสิ่งที่อธิบายความเป็นตัวเธอ

      "ฉันเป็นตัวยุ่ง บ้างานและก็มีความมุ่งมั่น ความมีคุณภาพคือก้าวที่ยิ่งใหญ่ในความเป็นมืออาชีพของเธอ แต่เธอยังไม่พอแค่นั้น

       "คุณภาพจะเป็นตัวบอกความสำเร็จไหมนั้น เวลาคือสิ่งเดียวที่จะบอก เวลาที่รถพร้อมแข่งในสนามและนักแข่งมีความสุข นี่แหละคือเป้าหมายของเราในตอนนี้"

    ขณะที่รอมิเลน่า โคแอเนอร์ ทีม MV Agusta Forward Racing และโมโตทู เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ กลับมาลงสนามอีกครั้ง อย่าพลาดเรื่องราวต่อๆไปของ #WomenInMotoGP

    ต้นฉบับ: 

    https://www.motogp.com/en/news/2020/05/08/being-part-of-the-riders-growth-is-worth-every-sacrifice/330199

    1ST: 18.7.2021
    2nd: 9/12/2021 22:22
    3nd: 23/12/2021 8:23 เช็คคำกับรูปประโยค

    DONE ✅: 23.12.2021

    ถ้าผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะคะ??

    MMAYSP93

    go all out - ทุ่มสุดตัว, ไปให้สุด


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
abrainuaw (@abrainuaw)
มิเลน่าเริ่มต้นทำงานในโมโตจีพีด้านการสื่อสารและขนส่ง
ในปี 2019
mmaysp93 (@mmaysp93)
@abrainuaw ? ขอบคุณค่าที่แนะนำมา ?