เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
SELF CONCEPTkhingdom.
Political communication in a nutshell x Thailand
  • (การสื่อสารการเมืองผ่านสื่อ)

    ข้อมูลและ ‘ความเป็นจริง’ ทางการเมืองจะถูกสื่อสารผ่ารสื่อได้ด้วยกัน 3 แบบหลักๆ

    1. ความเป็นจริงแบบไม่ลำเอียงทางการเมือง (objective political reality)

    ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง พูดในสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในเหตุการณ์เท่านั้น หลังจากนั้นก็ให้ผู้รับสารไปวิเคราะห์กันเองว่าเหตุการนี้เป็นอย่างไร


    2. ความเป็นจริงแบบผ่านความเห็นส่วนตัว (subjective reality)

    คือการสื่อสารเหตุการณ์โดยผ่านความเห็นส่วนตัว การสื่อสารชนิดนี้จะเป็นที่เห็นกันโดยมากในช่องข่าว และสิ่งที่อันตรายก็คือความเห็นส่วนตัวของบางสำนักข่าวมักจะบิดเบือนความจริง (objective reality) เช่น fox news ของอเมริกา และ nation ของประเทศไทย เพราะเหตุนี้เอง ผู้รับสารควรจะรับสารหลายๆด้าน กรองสาร และตั้งคำถามหลายๆชั้นต่อสารที่ได้รับมาจากสื่อ

    3. ความเป็นจริงที่ถูกประดิษฐ์ (constructed reality)

    การสื่อสารชนิดนี้จะไม่ใช่แค่การเล่าข่าวผ่านความเห็นส่วนตัวเท่านั้น แต่จะเป็นการเล่าข่าวโดยการ “เลือกเล่า” แค่บางส่วนเท่านั้น และการเลือกเล่าแค่บางส่วนนี้เอง คือการ “สร้าง” แง่มุมใหม่ขึ้นมาให้ผู้รับสารตีความไปนอกเหนือจากความจริง


    เพราะการสื่อสารของสื่อที่มีหลายรูปแบบเช่นนี้ หากผู้รับสาาเช่นเราไม่ไตร่ตรอง และวิเคราะห์สารที่ได้รับ ผู้รับสารก็จะถูกชักจูงได้อย่างง่ายดาย เพราะการเมืองและสื่อเป็นเรื่องคู่กัน และผู้ถืออำนาจสื่อก็มักจะเอื้อประโยชกันเสมอ ตามทฤษฎีสื่อชักใย (Manufacturing Consent) ของ โนม ชอมสกี ที่เจ้าของสื่อควบคุมคนหมู่มากให้มีชีวิตทางสังคมที่เอื้อประโยชน์ต่อตน รวมทั้งยังโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) ให้ผู้คนคิดตามกรอบ เล่นตามบทบาทที่ถูกกำหนด และเพิกเฉยต่อประเด็นสำคัญที่แท้จริง

    พอทำความเข้าการรูปแบบของการสื่อสาร ที่สื่อ หรือสำนักข่าวใช้กันแล้ว เราก็ลองมาวิเคราะห์ดูว่าในประเทศไทยมีสื่อที่บิดเบือนความจริงแบบไหนและยังไงบ้าง
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in