Demian: Die Geschichte von Emil Sinclairs Jugend by Hermann Hesse (รีวิวหนังสือ + a look into Dialoges) —
But as we saw it, whereas we marked men represented Nature’s determination to create something new, individual, and forward-looking, the others lived in the determination to stay the same. For them mankind — which they loved as much as we did — was a fully formed entity that had to be preserved and protected. For us mankind was a distant future toward which we were all journeying, whose aspect no one knew, whose laws weren’t written down anywhere.
To dissect this dialogue said by Max Demian, we first must look into the context of this despite the timelessness of its meaning.
ต้องบอกก่อนว่าบริบทมันพูดถึงสังคมปี 1919 ยุควิคตอเรียที่ศาสนาคริสส่งผลต่อกฏหมาย ค่านิยม และการใช้ชีวิตทั่วไปของคนในสังคมมาก อะไรที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เป็นอยู่ถือว่าผิดหมด Dialogue ข้างบนเลยเป็นการที่ Demian พูดกับ Sinclair ที่โตมาในบ้านเคร่งศาสนาให้ตั้งคำถามกับโลกทั้งสองด้าน
วรรณกรรมคลาสสิกตลอดกาลของเรา Demain ของ Herman Hesse ชอบทุกองค์ประกอบของหนังสือเล่มนี้ เป็น coming-of-age ที่ลึกไปถึงจิตวิญญาณ และทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทุกบทสนทนาในเล่มเป็นปรัญชา ดำเนินเรื่องผ่าน Sinclair ตัวแทนของผ้าขาวที่ผ่านการตั้งคำถามกับตัวตนและด้านมืดของตัวเอง
และแนวคิดของ Demain มันก็มาจากปรัชญาของ Nietche คือชีวิตเรา เรากำหนดเอง มนุษย์ทุกคนต้องตามหาสิ่งที่ทำได้และต้องห้ามด้วยตัวเอง และ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของ Sigmund Freud เปรียบเทียบ Id/Ego/Superego การเมนเท่อโดยที่หย่อนคำถามให้คิดแทนที่จะชักนำ ดีไปหมดเหมือนบังเอิญ แต่เดเมียนบอกว่าถ้าคุณพบกับอะไรสักอย่างที่ชอบมากๆโดยบังเอิญ จิตใต้สำนักเป็นตัว drive คุณต่างหาก
I have been and still am a seeker, but I have ceased to question stars and books; I have begun to listen to the teaching my blood whispers to me.
นายก็รู้อยู่แก่ใจมาโดยตลอดว่าโลกที่นายยึดถือนั้นมันเป็นเพียงครึ่งนึงของโลกเท่านั้น นายพยายามจะกดอีกด้านของมันไว้เหมือนพวกบาทหลวงและครูทำ นายจะทำไม่สำเร็จหรอก — ไม่มีใครจะสำเร็จทั้งนั้น จนกว่าเขาคนนั้นจะเริ่มคิดตั้งคำถาม
เราโคตรชอบ ตั้งคำถามกับรูปแบบศีลธรรม ศาสนา ตัวตน ความฝัน
“ฉันใช้ชีวิตอยู่ในความฝัน — นั่นคือสิ่งที่นายรู้สึก, คนอื่นก็ใช้ชีวิตในความฝัน แต่ไม่ใช่ฝันของพวกเขา นั่นคือสิ่งที่แตกต่าง” แล้วตอนนั้น Herman Hesse ไม่กล้าตีพิมพ์หนังสือด้วยชื่อจริงของตัวเองนะ เพราะเนื้อหาใหม่เกินยุคมาก
My story is not intended for them. I am telling it to those who have a better knowledge of man. The adult who has learned to translate a part of his feelings into thoughts notices the absence of these thoughts in a child, and therefore comes to believe that the child lacks these experiences, too. Yet rarely in my life have I felt and suffered as deeply as at that time.
We always define the limits of our personality too narrowly. In general, we count as part of our personality only that which we can recognize as being an individual trait or as diverging from the norm. But we consist of everything the world consists of, each of us, and just as our body contains the genealogical table of evolution as far back as the fish and even much further, so we bear everything in our soul that once was alive in the soul of men.
The surrender to Nature’s irrational, strangely confused formations produces in us a feeling of inner harmony with the force responsible for these phenomena. We soon fall prey to the temptation of thinking of them as being our own moods, our own creations, and see the boundaries separating us from Nature begin to quiver and dissolve. We become acquainted with that state of mind in which we are unable to decide whether the images on our retina are the result of impressions coming from without or from within.
สาม paragraph ข้างบนคือการบรรยายความเป็นส่วนนึงของธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนเป็นอยู่อย่างเห็นภาพ มนุษย์เรามักนิยามตัวตนด้วยกรอบแคบๆ เรานิยามตัวเองเพื่อที่จะตระหนักถึงตัวตนเฉพาะตัวหรือแยกออกจากขนบ อย่างไรก็ตามตัวเราประกอบไปด้วยทุกสิ่งที่โลกเรามี เราทุกคน ดั่งเช่นร่างกายของเราที่มีตารางลำดับวงศ์ตระกูลของวิวัฒนาการที่ยาวนานเหมือนปลาหรือมากกว่า, เรามีทุกอย่าง (ที่พยายามจะตามหา) อยู่ในจิตที่ครั้งนึงเคยอยู่ในจิตของมนุษย์
“และการสยบยอมต่อธรรมชาติของความไร้เหตุผล ก่อให้เกิดการรวมตัวกันของความรู้สึกที่ทำให้เราคิดว่าต้องรับผิดชอบต่อกฏการณ์นั้น ณ ตอนนั้นเอง เราก็ได้ตกเป็นเหยื่อของความเข้าใจผิด (lgnorance) ว่าสิ่งนั้นคือความรู้สึก ‘ของเรา’ สิ่งที่เรานั้นสร้างขึ้นมาเอง และการมองเห็นเส้นแบ่งที่กันเราให้ห่างออกไปจากธรรมชาติเริ่มที่จะจางหายไป เราเริ่มคุ้นชินกับสภาวะจิตที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าภาพที่มองเห็นผ่านกระจกตานั้นคือผลของสิ่งที่มาจาก ภายนอก หรือ ภายใน กันแน่
เผื่อที่จะอธิบายบทพูดนี้ เราต้องอ้างอิงถึงปรัชญาเบื้องหลังแนวคิดก่อน (อะเกน) เรานึกถึงอยู่ 2 แนวคิด — Metaohysics & Bhuddism
- Metaphysics (อภิปรัชญา) ที่ว่าด้วยเรื่องความจริงสูงสุด ตั้งคำถามถึงทฤษฎีความรู้ อภิปรัชญาได้แบ่งความจริงออกเป็น 3 ขั้น คือ
1. ความจริงขั้นสมมุติ เช่น น้ำ
2. ความจริงขั้นวัตถุ เช่น ของเหลว ( H2O )
3. ความจริงขั้นปรมัตถ์ เช่น ความว่างเปล่า
นักปรัชญาตะวันตกแบ่งวัตถุในโลกเป็น 2 อย่างคือ
1. สิ่งที่ปรากฎ Appearance
2. สิ่งที่เป็นจริง Reality
ex: คนเห็นเชือกเป็นงู, เชือกคือสิ่งจริง, งูคือสิ่งปรากฏ
รุ้งกินน้ำ, สิ่งจริงคือละอองน้ำบนอากาศสะท้อนแสง
ทฤษฎีดวงตา 5 ดวง คือ
1. การมองเห็นด้วยตาเนื้อ เช่นเห็นตามรูปวัตถุ
2. การมองเห็นด้วยตาทิพย์ (ที่จับจ้องไม่ได้) เช่นเห็นเซลล์ต่าง ๆ
3. การมองเห็นด้วยตาปัญญา เช่น เห็นปรมาณู อะตอม
4. การมองเห็นด้วยตาธรรม(ชาติ) เช่นเห็นเค้าโครงร่าง โครงกระดูก
5. การมองเห็นด้วยดวงตาแห่งการตรัสรู้ (enlightened) เช่นเห็นความว่างเปล่า
กล่าวคือแนวคิดปรัชญา metaphysics ที่พูดไปข้างต้น มันคือแนวคิดเดียวกับ Buddhism ว่าด้วยเรื่องธรรมชาติและอนัตตาการไม่มีอยู่ของตัวตน การเป็นส่วนนึงของธรรมชาติสุญตา สืบเนื่องจาก Herman Hesse ที่เคยเขียนวรรณกรรมเกี่ยวกับปรัชญาพุทธจากเรื่อง Siddhartha แล้ว, เราก็สามารถอนุมานได้ว่านักเขียนอิงคอนเส็ปแนวคิดมาจากปรัชญาพุทธ
—
FYI: Herman Hesse เป็นนักเขียนชาวเยอรมันที่ได้รางวัล Nobel Price สาขาวรรณกรรมในปี 1946 ปีแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สองพึ่งเริ่ม
#book #hermanhesse #demian #alookintodoalogue
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in