เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
You are what you ...misamisaochan
Moonlight : “I cry so much I could turn into drops.”
  •                 สเน่ห์อย่างหนึ่งของหนังComing of age คือยิ่งเราเข้าใจพื้นฐานของสังคมนั้นๆมันก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกอินไปกับตัวละครและนั้นก็กลายเป็นปัญหาใหญ่เหมือนกันถ้าเราไม่รู้พื้นฐานของสังคมเรื่องนั้นๆเลย ถ้าพูดถึงภาพยนต์Black Theme เรามักนึกไม่ออกว่าเคยดูเรื่องอะไรบ้าง อ่อมี 12 years slave อืม....คิดไม่ออกแล้ว พอนึกได้อย่างนี้เราก็พอเข้าใจเลยว่าทำไมสังคมแบบใน Miami เราถึงนึกไม่ค่อยออกแต่สำหรับ Moonlight ต่อให้เราจะไม่ได้มีชีวิตที่ไกล้เคียงตัวหลักในเรื่องเลยก็ทำให้เราอินได้

                    SpoilAlert !!

                    Moonlightเป็นเรื่องราวใน 3 ช่วงชีวิตของไชรอน เด็กชายอเมริกัน-แอฟริกันที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมที่โคตรจะBad influence ถูก Bully จะเด็กในโรงเรียน กลับมาบ้านก็เจอกับแม่ที่ติดยาเรียกว่าจะเป็นคนดีได้นี่แต้มบุญคงเท่าวันเฉลิมในทองเนื้อเก้าจุดเปลี่ยนครั้งแรกในชีวิตของไชรอนในวัยเด็กคือการได้บังเอิญไปเจอกับ ฮวนพ่อค้ายาหนุ่มใหญ่ที่พยายามผลักดันให้เขาเข้มแข็งขึ้น ในวันเด็กเรามักจะมี idolที่เรารู้สึกอยากทำตามสำหรับเด็กที่ไม่ได้ถูกล้อมรอบด้วยความอบอุ่นของครอบครัวแล้วอย่างไชรอนแล้วไม่แปลกใจเลยว่าทำไมฮวนถึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ได้มาเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขานอกจากนี้ยังมีตัวละครสำคัญอย่างเควิน เด็กคนเดียวที่ดูจะเป็นเพื่อนกับไชรอนได้ซึ่งเควินเองก็พยายามที่จะทำผลักดันให้ไชรอนแข็งแกร่งขึ้นเช่นกัน ในพาร์ทแรกนี้เราเหมือนจะได้เห็นสารพัดปัญหาที่ไชรอนเจอ ได้เรียนรู้การพยายามรับมือกับปัญหาตามแบบที่เขาพอจะทำได้ได้เห็นเด็กคนหนึ่งต้องถีบตัวเองขึ้นมา ต้องว่ายน้ำให้เก่ง ต้องวิ่งให้เร็วต้องต่อยให้แรงโดยที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่านั่นคือสิ่งที่เขาต้องการหรือเปล่าหรือเป็นเพียงแค่การรับมือกับปัญหาที่ค่อยๆถาถ่มเขามาให้ชีวิต

                    ช่วงที่สองจะเป็นเรื่องราวของไชรอนในวันมัธยมปลายที่ปัญหาทุกอย่างในชีวิตจะรุมเร้ามากขึ้น การรับมือกับเพื่อนในโรงเรียนที่นับวันก็เริ่มเล่นใหญ่กลับมาบ้านก็เจอกับแม่ที่อาการติดยาแย่ลงเรื่อยๆและยังค้นพบตัวตนว่าเขากำลังหลงรักเพื่อนคนเดียวในชีวิต ทุกอย่างดูเหมือนจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆสำหรับเราฉากก่อนจบของพาร์ทนี้ทำให้เราร้องไห้หนักมาก เพราะมันแสดงให้เห็นความแตกสลายครั้งแรกของตัวละครแม้ไชรอนจะเคยพูดว่า “I cry so much I could turn into drops” 

                    พาร์ทสามเป็นไชรอนในวัยโตที่ทำให้ทุกคนแปลกใจกับการเปลี่ยนแปลงแบบคาดไม่ถึงทางกายภาพของตัวละครเราเห็นชีวิตปัจจุบันของไชรอนที่ดูเหมือนจะมีครบทุกอย่างที่เขาต้องการทั้งเงินทองเพื่อนฝูง การยอมรับจากคนรอบข้าง แต่เราก็ยังเห็นความโดดเดี่ยวความบิดเบี้ยวภายในจิตใจของตัวละคร เมื่อไชรอนกลับไปเจอกับทุกคนในบ้านเกิดไม่ว่าจะแม่หรือเพื่อนเก่าเขาก็เจอคำถามว่าเราก็คิดในใจว่า ทำไมอ่ะไชรอน นี่มันไม่ใช่ตัวนายเลยนี่!!แต่มันก็ทำให้เราเห็นว่าแม้ภายนอกจะเปลี่ยนไปแต่ภายในไชรอนก็คือไชรอนอยู่ดี (น้ำตามา) สำหรับเราแล้วการแสดงระหว่างตัวไชรอนและเควินในตอนโตนี้เป็นเคมีที่น่าอัศจรรย์มากมันทำให้เรายิ้ม หัวเราะ เขินและร้องไห้ไปกับตัวละครได้ทั้งๆที่บทพูดหรือบรรยากาศมันดูธรรมด๊าธรรมดา

    (แอบมีเสริมหน่อยว่าตัว Trevante Wrightเองตั้งใจจะมาแคสเป็นเควิน แต่ทีมแคสกลับเลือกให้เขาเล่นบทไชรอนแทน ซึ่งครั้งแรกที่Barry Jenkins ผู้กำกับเห็นก็คิดว่าทีมแคสทำพลาดหรือเปล่า(เหมือนกับเราๆที่เห็นครั้งแรก) แต่พอ Wright เริ่มแสดงเท่านั้นแหละเราเห็นได้เลยว่านี้มันไชรอนตอนโต)

                    ส่วนหนึ่งที่ทำให้Moonlight ส่งแมสเสจที่ทรงพลังขนาดนี้ได้เพราะความเงียบของหนังที่ทำให้เราสามารถคิดตามและคิดแทนตัวละครได้รวมไปถึงเพลงประกอบและสีสันของหนังที่สามารถดึงดูดในเราอยู่กับเรื่องและเป็น subtext ที่ช่วยเล่าเรื่องโดยไม่ต้องมีบทละครใดๆซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ของ Jenkins ที่เล่นใหญ่และทำได้ถึงจริงๆ

                    สำหรับเรา Moonlight ไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังGay theme หรือ Black Theme แต่มันคือหนังที่ต้องคำถามกับ “ความเป็นชาย”ที่เรามันไม่สนใจ ซึ่งมันยิ่งเป็นประเด็นหนักเมื่อมันเกิดกับเด็กที่เกิดในสังคมชายขอบที่ถูกผู้คนรอบข้างผลักดันให้ต้องแข็งแกร่งเขาต้องเป็นคนเข้มแข็ง แม้ฮวนบอกกับไชรอนว่า “อย่าให้ใครบอกว่าคุณคือใครคุณต้องตัดสินเอง” แต่ในสังคมที่ถูกคาดหวังว่าคุณต้องเป็นคนที่เข้มแข็งที่สุดแข็งแรงที่สุด ในสังคมที่การใช้ชีวิตให้รอดไปในแต่ละวันยังยากคุณจะหาตัวตนของคุณได้อย่างไรและถ้าวันหนึ่งคุณต้องปรับตัวไปตามที่สังคมต้องการคุณจะทำอย่างไรให้ด้านในของคุณคือคนเดิม


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in