สองสามวันนี้มีโอกาสได้นึกถึงวงดนตรี the innocent เลยนึกถึงบทวิจารณ์ที่เคยเขียนเมื่อหลายปีก่อน ขออนุญาตนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ครับ
--------------------
รอบหลายปีที่ผ่านมาผมจำต้องห่างเหินจากการเทียวดูคอนเสิร์ตไปนานโขโชคดีที่ทุกวันนี้ความสดจากคอนเสิร์ตถูกเก็บลงแผ่นด้วยคุณภาพที่ดีใช้ได้ก็เลยทำให้ผมคอยติดตามคอนเสิร์ตแบบสบายๆผ่านจอทีวีกับเครื่องเสียงที่บ้านแถมยังสามารถคุมภาพและเสียงได้จากรีโมตในมือสบายหูแบบไม่ต้องไปเบียดไปบังใครอีกด้วย
วันศุกร์ที่ผ่านมาผมเพิ่งนั่งดูTheInnocent Reunion Concert DVD จนจบแผ่นนี้เพิ่งออกกันสัปดาห์ที่แล้วนี่เองครับรีบขวนขวายหามาดูเพราะไม่ได้ไปดูเหมือนเคยแต่ความอยากดูมันสะสมมาตั้งแต่ได้ข่าวคอนเสิร์ตคราวนั้นที่อิมแพ็คอารีน่าเมื่อค่อนๆปีที่แล้ว
พูดกันถึงหน้าตาแรกพบกันก่อนดีไซน์ Digipakก็ไม่เลวครับแต่สงสัยคนออกแบบจะถนัดซ้ายเลยออกแบบให้ดึงกล่อง digipakออกด้านซ้ายของSlipcase ด้วยความที่ทุกทีจะจับกล่องดีวีดีโดยหงายด้านขวาขึ้นพอแพ็คเกจสลับด้านกันก็เลยทำให้ไส้มันหลุดตกจนเขี้ยวรับแผ่นแตกหมดราคาตั้งแต่วันแรกเลยเสียดายครับ เสียดายถ้าใครซื้อหามาจะจับจะถือก็โปรดระวังกันสักนิดจะได้เก็บของดีๆ ไว้ดูนานๆ
DVDคอนเสิร์ตชุดนี้มาแบบสองแผ่นครับมีแผ่น BonusFeature มาให้ดูพอเป็นกระษัยเสียดายเนื้อหาน้อยเหมือนใช้ความจุไม่เต็มแผ่นซะทีเดียวแต่ก็ได้เห็นบรรยากาศสำหรับคนที่ไม่ได้ไปสัมผัสบรรยากาศจริงที่อิมแพ็คอารีน่าส่วนแผ่นแรกเป็นคอนเสิร์ตแบบเต็มๆตั้งแต่ไฟมืดนักดนตรียังไม่เดินขึ้นเวทีจนถึงตอนจบที่สี่หนุ่ม“ไร้เดียงสา” มายืนคำนับคนดูเมนูก็ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนมากมายแต่ที่ดีคือมีการบันทึกเสียงแบบ5.1มาเป็นบุญของคนที่มีเครื่องไม้เครื่องมือฟังเซอร์ราวน์ได้ส่วนผมเน้นใช้หูฟังก็ต้องเลือกเสียงระบบ2.1ซึ่งโดยรวมก็ค่อนข้างดีครับเพราะ TheInnocentเป็นวงดนตรีที่เน้นรายละเอียดดนตรีมากกว่าจะเน้นการโชว์หรูหราตระการตามีเล็กน้อยก็ตรงไม่ค่อยได้ยินเสียงคนดูเท่าไหร่ผมคิดว่าในระบบเสียงเซอร์ราวน์อาจจะเก็บมาหมดก็ได้ซึ่งก็ทำให้ฟังได้บรรยากาศของคอนเสิร์ตอิ่มขึ้น
ว่ากันถึงตัวเพลงในแผ่นบ้างครับคอนเสิร์ตเริ่มจากที่นักดนตรีของTheInnocent ทั้งสี่และวงแบ็คอัพขึ้นมาโหมโรงด้วยการบรรเลงเพลงOvertureซึ่งเรียบเรียงขึ้นใหม่จากเพลงต่างๆที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้วพอหอมปากหอมคอจากนาทีแรกที่แผ่นเริ่มหมุนเราก็ได้ฟังดนตรีจริงๆโดยเพลงเซ็ตแรกส่วนใหญ่ก็พอจะคุ้นหูนักฟังแทบเพราะคละกันมาตั้งแต่ผลงานจากชุดเพียงกระซิบซึ่งเป็นอัลบั้มยุคกลางของวงจนไปถึงงานจากชุดสิบนาฬิกา ซึ่งเป็นชุดสุดท้าย
เพลงในยุคแรกของวงจริงๆหลายเพลงถูกจับมายำเล่นเป็นแบบMedleyครับเล่นเอาคนฟังรุ่นใหญ่นึกคึกร้องตามบ้างถึงขั้นขยับเท้าเต้นแร้งเต้นกากันน่าดูทีเดียวดนตรีของTheInnocent ในยุคนั้นยังเป็นป็อปโฟล์คที่ไม่มีรายละเอียดอะไรมากนักในงานคอนเสิร์ตระดับนี้เอามารวมกันในMedleyก็ดูจะเหมาะดีเพราะถ้าจะเทียบกันอาจดูด้อยกว่ายุคหลังๆเยอะอยู่ แถมในช่วง Medleyนี้ก็มีศิลปินรับเชิญในยุค80sจำนวนมากที่มาsurpriseเอาใจแฟนๆร่วมสมัย (โน้นนนน)ซึ่งพอจบงานนี้คิดว่าหลายคนคงนึก“คัน”อยากย้อนอดีตวัยหวานนักร้องนักดนตรีก็คงกลับมารวมตัวออกซีดีหรือเล่นคอนเสิร์ตกันคนดูคนฟังก็เตรียมจ่ายกันไป
แต่หมัดเด็ดของTheInnocent ที่ยืนเต็มเพลงได้ด้วยตัวเองไม่ต้องเกาะอยู่กับเพลงอื่นและยังสร้างความเป็นRetroได้ดียิ่งกว่าแสงสีที่ฉากหลังคือเพลงนี้เลยครับมนต์ไทรโยคพอเพลงขึ้นจอหลังเวทีแสดงภาพรถไฟวิ่งไปบนรางพร้อมกับเสียงกีตาร์กลิ่นอายคันทรี่นำไปสู่ท่อนร้องอดีตกว่ายี่สิบกว่าปีของทั้งคนดูทั้งคนดนตรีบนเวทีก็ถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมๆกัน ทุกเสียงในอิมแพ็คอารีน่าร้องลั่นตามเสียงของคุณโอมชาตรี คงสุวรรณที่ร้องนำในเพลงนี้อย่างน่าฟัง
“วาววาว เสียงรถไฟวิ่งไปฤทัยครื้นเครง
เรามันคนกันเองไม่ต้องเกรงใจใคร
พวกเราเพลินชมไพรนั่งรถไฟถึงในไทรโยค
โยนทุกข์ใดในโลกสู่ไทรโยคไป..”
(มนต์ไทรโยคชาตรีคงสุวรรณ;The Innocent อัลบั้มอยู่หอ 1982)
ใครจะว่าเพลง“เพียงกระซิบ” จะRetroแค่ไหนผมก็ว่าสู้เพลงนี้ไม่ได้หรอกครับด้วยความที่รถไฟที่ดัง “วาววาว” เนี่ย มันเป็นของเก่าแท้ๆเลยแค่ไม่กี่คำแรกของเนื้อเพลงท่อนนี้ก็นำผมย้อนไปสู่ยุคทศวรรษที่80sได้แล้ว(ไม่เชื่อลองไปฟังเสียงรถไฟฟ้าวิ่งเข้าสถานีได้)ใครที่ทันรุ่นนี้คงจำได้นะครับว่าปี1980เปิดทศวรรษมาด้วยการจากไปอย่างไม่หวนกลับของJohnLennon ทำให้แฟนๆหมดโอกาสที่คณะสี่เต่าทองจะกลับมารวมตัวกันใหม่แต่กระนั้นแนวทางPop/Rockที่Beatlesวางรากฐานไว้อย่างดีมาตลอดสองทศวรรษที่60sกับ70sก็ได้พบกับพัฒนาการของเสียงสังเคราะห์สร้างเป็นแนวทางใหม่ของวงการเพลงบทเพลงหนึ่งที่ดังทะลุชาร์ตปี1980เปิดยุคที่ยิ่งใหญ่ของแนวเพลงNewWave หรือSynthPop พูดถึงรถไฟขบวนสุดท้ายไปลอนดอนครับ
“Lasttrain to London, just heading out
Lasttrain to London, just leaving town
ButI really want tonight to last forever
Ireally want to be with you
Letthe music play down on the line tonight”
(LastTrain to LondonJeff Lynne; Electric Light Orchestra อัลบั้มDiscovery1980)
ความคล้ายคลึงของสองเพลงนี้มีแค่เนื้อเพลงที่เกี่ยวข้องกับ“รถไฟ” นิดๆ แต่เนื้อหาดนตรียังแตกต่างกันเยอะระหว่าง TheInnocent ในต้นยุค80sที่เพิ่งก้าวจากเด็กนักเรียนสามสี่คนดีดกีตาร์เล่นดนตรีกึ่งโฟล์คซองกึ่งลูกกรุงในช่วงสามอัลบั้มแรกคือรักไม่รู้ดับ(1980-ขออนุญาตใช้คริสตศักราชนะครับ)บางประกง(1981)จนถึงขวัญใจนักเรียน(1981)ถ้าใครไปหาอัลบั้มยุคนั้นมาฟังได้คงพอจะ “เก็ต”ว่ามันต่างจากยุคกลางที่ทางวงได้พัฒนารูปแบบมาเป็นStringCombo เต็มตัวซึ่งช่วงนี้เห็นได้ชัดจากอัลบั้มอยู่หอ(1982) เพียงกระซิบ(1983)จนถึงรักคืออะไร(1984)
ในยุคที่กลางของวงนี้อิทธิพลเพลงแบบ“ลูกกรุง” มันเริ่มจะเลือนลางไปมีการทดลองใช้ซาวนด์ดนตรีใหม่ๆจากซินธิไซเซอร์เข้ามาแทรกเยอะขึ้นทางดวงเริ่มหันไปจับกระแสป๊อป/ร็อคของฝรั่งมากขึ้น ลองไปหามาฟังดูเถอะครับเพลงมันฟ้องทีเดียวว่าทางวงเขาหันไปฟังTheBeatles, The Beach Boys, The Carpenters, Electric Light Orchestra,หรือแม้กระทั่งรุ่นใหม่อย่างDuranDuranกันมากขึ้นโดยปัจจัยสำคัญของการเติบโตสู่ซาวนด์แบบTheInnocent ที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ก็คือการเข้ามาของมือกีตาร์รุ่นพี่ชาตรี คงสุวรรณที่เข้ามาช่วยดูแลภาคดนตรีจนทิ้งสามอัลบั้มแรกไปไกลโขอยู่
พอพูดถึงเรื่องอิทธิพลเพลงต่างชาตินี่ก็มีบ้างครับบางครั้งที่TheInnocentถอดทำนองเพลงต่างชาติมาอย่างโจ๋งครึ่มถ้าจะว่าไปสยามเมืองยิ้มเราทำกันมาตั้งแต่สมัยพระเจนดุริยางค์สมัยครูเอื้อจนแทบทุกวันนี้แต่เท่าที่จำได้TheInnocent มักจะเขียนบอกว่าเป็นทำนองต่างประเทศใครมีปกเทปยุคก่อนๆ ของ TheInnocent ฝากพลิกดูนะครับว่าจริงไหม
ในแง่ของการนำเข้าดนตรีตะวันตกก็เหมือนฟุตบอลนั่นแหละครับจะกี่ปีกี่ชาติเราก็ยังตามก้นฝรั่งมังค่าเขาอยู่ดีครับก็ดนตรีของบ้านเขาไม่ใช่ของเราซะที่ไหนฟุตบอลก็เหมือนกันต่อให้ใช้โค้ชทีมชาติอังกฤษอีกสักกี่คนเราก็ไปไม่ถึงบอลโลกอยู่ดีในเรื่องของดนตรีเนี่ยถ้าฟังเปรียบเทียบยุค 60s- 70sไล่ขึ้นมาจะสังเกตได้ว่าพี่ไทยเราตามก้นฝรั่งแบบไม่ค่อยเห็นฝุ่นเท่าไหร่จริงอยู่ที่เรามีเพลงที่ไพเราะงดงามมีครูเพลงที่เขียนเนื้อเพลงดีๆออกมาซาบซึ้ง กินใจแต่ในเชิงเทคนิคการเล่นการร้องแล้วเรายังห่างเขาอยู่ไกลมากครับแต่โชคดีที่หนุ่มๆ “ไร้เดียงสา”จากเมืองราชบุรีจะสร้างคลื่นลูกใหม่ให้วงการดนตรีไทยในยุค80s
ในความเห็นของผมยุคสุดท้ายของ TheInnocent เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากของวงการเพลงไทยเพราะว่าทั้งสามอัลบั้มนี้เริ่มตั้งแต่โลกใบเก่า(1985)กับครั้งนี้ของพี่กับน้อง(1986)ในส่วนของดนตรีเล่นกันมานานจนกลมกล่อมไปหมดฝีไม้ลายมือสู้กับวงร็อครุ่นใหญ่ๆสมัยนั้นได้เลยในผลงานชุดโลกใบเก่าที่พยายามทดลองงานแบบProgressiveกันนิดๆเหมือนกันอย่างเพลง ไปตามกันนี่เป็นProgressiveRock จ๋าๆเลย AlanParsons ก็เถอะถ้ามาเจอเพลงกระต่ายเพ้อหรือจะเอายังไงก็หงายได้เหมือนกันครับก่อนที่ชุดต่อมาจะพลิกมาผสานแนวArtRock กับNewWave โดยเฉพาะเพลงมือที่สามนี่เป็น Fusion/FunkRock มันๆโชว์เก๋ากันทุกชิ้นฟังเผลอๆ นึกว่ากำลังฟังTotoอยู่ด้วยซ้ำไปในยุคนี้อิทธิพลของ HardRock แบบVanHalen, Deep Purple หรือMichaelSchenker Group ที่เป็นขวัญใจของคุณชาตรีคงสุวรรณ ก็พอมีให้ได้ยินอยู่บ้างโดยเฉพาะเมื่อมาถึงชุดสุดท้ายคือ10นาฬิกา(1989)ที่สมาชิกในวงกลับมารวมตัวกันหลังจากแยกย้ายไปทำงานเบื้องหลังชุดนี้จึงมารวมกันทิ้งทวนแบบไม่ได้หวังผลการตลาดเท่าไหร่โดยเฉพาะคุณชาตรีที่โชว์ฝีมือกีตาร์บลูส์ร็อคสะท้านยุทธภพในเพลงเห็นใจกันหน่อยที่ขึ้นทำเนียบคลาสสิคร็อคของไทยไปเรียบร้อยตั้งแต่โน้ตแรกๆ
ความที่ไม่หวังผลการตลาดกลับทำให้ได้งานสุดยอดที่นอกจากจะขายดีใช้ได้แล้วผลงานของTheInnocentในยุคนี้ยังเรียกได้ว่าปิดช่องว่างความห่างชั้นของวงการดนตรีของไทยและเทศได้อย่างแนบเนียนชนิดภาษานิยายจีนต้องเรียกว่าเป็นภูษิตฟ้าไร้ตะเข็บคือกลืนเป็นเนื้อเดียวกันทีเดียวแต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคุณูปการของหนุ่มๆ ขวัญใจนักเรียนจริงๆ แล้วคือการนำพานักฟังเพลงของไทยในยุค70sที่คุ้นกับอะไรที่“เบๆ -เบาๆ”ให้พร้อมรับเนื้อหาทางดนตรีที่หนักแน่นยิ่งขึ้นของทศวรรษที่90sอัลบั้ม10นาฬิกาที่ออกมาสู่คีตพิภพในปี1989เป็นการจบยุค80sที่งดงามหน้าที่ของพวกเขาในเก้าสตูดิโออัลบั้มที่ผ่านมา(ไม่นับรวมฮิต)จบลงแล้วเมื่อนักฟังเพลงไทยสมัยนั้น“ตามทัน” กระแสดนตรีตะวันตกในยุคถัดมาสมัยที่วงร็อคผมยาวกำลังจะล่มสลายและดนตรีAlternativeจะเปล่งประกายแสงเจิดจ้าแต่ก็วูบวาบมอดดับลงอย่างรวดเร็ว
การกลับมารวมกันในคอนเสิร์ตReunionเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อนจึงไม่ใช่เพื่อตัวพวกเขานักดนตรีทั้งสี่คนเท่านั้นแต่ TheInnocent เป็นตัวแทนของความทรงจำในยุค80sยุคทีนักอ่านและทีมงานGBFหลายๆคนยังนุ่งขาสั้นคอซองยุคที่เรายังใช้บริการรถไฟไทยไปเที่ยวเล่นน้ำตกไทรโยค
ยุคที่เราเพิ่งจะ“รู้เดียงสา” ทางดนตรี
-----------
ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสาร Barefoot มีนาคม 2553
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in