เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เมื่อฉันเรียนนิเทศในยุคดิจิทัลluckybsira
วิเคราะห์คุณค่า พร้อมหาเหตุผลการดำรงอยู่ของงานวารสารศาสตร์
  • คำว่า 'วารสารศาสตร์' หรือ 'Journalism' หากให้ความหมายตามพจนานุกรมแปลไทย-อังกฤษ อ.สอ 
    เสถบุตร จะมีความหมายว่า วิชาที่ว่าด้วยการทำหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และการพิมพ์ประเภท
    อื่น ๆ ซึ่งเป็นความหมายที่ค่อนข้างเเคบและดูมีการกำหนดที่ตายตัว เป็นเช่นเดียวกับทีี่คนในปัจจุบันส่วนใหญ่มักเข้าใจเหมือน ๆ กันว่า วารสารศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยการนำเสนอข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ อันได้แก่ จุลสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ 

    เเต่นั่นก็ไม่ใช่ความเข้าใจผิดทั้งหมดแต่อย่างใด 

    เนื่องจากในอดีต วารสารศาสตร์มีพื้นฐานและที่มาที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ ซึี่งเป็นสื่อที่ทันสมัยและมีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในขณะนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป วิวัฒนาการของสื่อก็ค่อย ๆ เติบโต เกิดเป็นสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อภาพยนตร์ และยังรวมไปถึงสื่อออนไลน์อีกด้วย หากต้องให้ความหมายหรือกำหนดขอบเขตของงานวารสารศาสตร์ สื่อต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ถือเป็นงานวารสารศาสตร์เช่นกัน เพราะต่างล้วนทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสารโดยทั้งสิ้น 

    ดังนั้น งานวารสารศาสตร์ในปัจจุบัน จึงไม่ได้หมายถึงแค่สื่อสิ่งพิมพ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงสื่ออื่น ๆ อีกด้วย

    จากข้อมูลข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า งานวารสารศาสตร์ เป็นงานที่ทำหน้าที่เพื่อนำเสนอข่าว ข้อเท็จจริงให้แก่ผู้รับสาร ให้สังคมได้รับรู้ โดยปราศจากการมีโฆษณาแฝงหรือเพื่อสนับสนุนองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ดังนั้น หน่วยงานที่น่าสนใจและสามารถนำมาวิเคราะห์ถึงคุณค่างานวารสารศาสตร์ในที่นี้คือ 'สำนักข่าวออนไลน์ THE STANDARD' 


  • เนื่องจากสำนักข่าวออนไลน์ THE STANDARD เปิดตัวมาด้วยสโลแกนที่ว่า 'STAND UP FOR THE PEOPLE' โดยเป็นสโลแกนที่สะท้อนให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป้าหมายการผลิตงานวารสารศาตร์มีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ผู้รับสาร ตอบโจทย์ประชาชน หรือตามวลีในอดีตที่ว่า 'สื่อที่ดีคือสื่อที่เกิดมารับใช้ประชาชน' โดยสำนักข่าวนี้  ไม่ได้มีการนำเสนอข่าวเพียงเพื่อเเจ้งข่าวสารว่าในเเต่ละวันมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่สิ่งที่สำนักข่าวนี้ทำ คือ การเลือกข้างอย่างน่าเชื่อถือ นั่นคือการเลือกที่จะยืนข้างประชาชน การวิเคราะห์ข่าวและหยิบเรื่องที่คนทั่วไป ประชาชน หรือผู้อ่านอ่านเเล้วต้องเกิดประโยชน์ เพราะในความเป็นจริงเเล้ว หากสื่อมีหน้าที่รับใช้ประชาชน สื่อก็ย่อมมีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ รวมถึงการวิเคราะห์ข่าวสารต่าง ๆ ให้ประชาชนได้รู้ว่าพวกเขาจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง จะมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากนี้ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้นมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร นี่คือสิ่งที่งานวารสารศาตร์ต้องนำเสนอข้อเท็จจริงต่อผู้อ่านเเละนำเสนอต่อประชาชน


    ในปัจจุบัน มีข่าวเเละบทความออกมามายที่ได้วิเคราะห์และนำเสนอในเเง่มุมที่สื่อว่า งานวารสารศาสตร์หรืองานข่าวนั้นไม่จำเป็นอีกต่อไป อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ว่า งานวารสารศาสตร์นั้นจะมีบทบาทน้อยลงเป็นอย่างมากและจะยังคงน้อยลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง 

    แต่ในความเป็นจริงเเล้ว วิชาชีพวารสารศาสตร์ยังคงมีความสำคัญและไม่ได้หายไปไหน เพียงแค่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์โลกในยุคปัจจุบันให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากสื่อสิ่งพิมพ์ไปยังรูปแบบออนไลน์อย่าง The New York Times หรือเเม้กระทั่งการเกิดขึ้นของสำนักข่าวออนไลน์อย่าง THE STANDARD ที่ได้ยกตัวอย่างไปในข้างต้น

    ท้ายที่สุดแล้ว วิชาชีพวารสารศาสตร์ยังคงมีความสำคัญและยังคงทำหน้าที่ผลิตสื่อ รวมถึงส่งสารที่เป็นข้อเท็จจริง น่าเชื่อถือ ให้แก่ผู้รับสารในทุก ๆ รูปแบบ

  • หากลองคิดว่างานหรือวิชาชีพวารสารศาสตร์หายไป จะเกิดอะไรขึ้น ?

    สิ่งที่ดูน่าจะเกิดขึ้นเเละเป็นไปได้ นั่นก็คือ ผู้รับสารหรือประชาชนจะขาดแหล่งคัดกรองข่าวทั่วไป แม้ในปัจจุบันจะมี Online Influence หรือคนทั่วไปที่สามารถตั้งตนเป็น Content Creator ได้ แต่สิ่งที่ต่างไปจากสำนักข่าวหรือวิชาชีพวารสารศาสตร์โดยตรงนั่นก็คือ การจัดการกับข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งการมีสื่อที่ขาดความน่าเชื่อถือและไม่มีการรับรองนั้นเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย โดยเห็นได้อย่างชัดเจนจากการส่งหรือเเชร์ข่าวสารต่อของผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน ที่ไม่ได้มีการรับรองอย่างน่าเชื่อถือ ทำให้ข่าวปลอม ข่าวลวง หรือที่เรียกกันว่า Fake News สามารถเข้าสู่ระบบ ถูกส่งต่อ และได้รับการถูกเชื่ออย่างง่ายดาย นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่จะช่วยตอกย้ำว่าทำไมวิชาชีพวารสารศาสตร์จึงมีความสำคัญและยังคงอยู่ได้นั่นเอง

    แต่ในบางกรณี ข่าวปลอม ความไม่น่าเชื่อถือ ความบกพร่องในการคัดกรองข้อมูลข่าวสารไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ  ที่มีสถานีหรือช่องโทรทัศน์อย่างชัดเจนก็สามารถเกิดความบกพร่องได้ หากไม่มีความตระหนักในวิชาชีพและจรรยาบรรณของงานวารสารศาสตร์ 

    สามารถเห็นได้จากตัวอย่างกรณีการนำเสนอข่าวในช่วงวิกฤต Covid-19 ที่ผ่านมาของสำนักข่าวหนึ่ง นั่นคือ การนำภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศโครเอเชียมานำเสนอข่าวว่า เป็นสถานการณ์วิกฤต Covid-19 ที่ประเทศอิตาลีแทน แม้ทางสำนักข่าวได้ทำการลบข่าวนั้นออกแล้ว แต่ก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ได้อ่านข่าวนั้นและเชื่อไปแล้วเป็นจำนวนหนึ่ง 



    กรณีนี้ แสดงให้เห็นว่า  แม้จะเป็นถึงสำนักข่าวใหญ่ก็สามารถบกพร่องในวิชาชีพวารสารศาสตร์ได้เช่นกัน นี่จึงเป็นอีกข้อพิสูจน์ที่ว่า ทำไมวิชาชีพวารสารศาสตร์จึงมีความสำคัญ


  • จากการวิเคราะห์และยกตัวอย่างทั้งหมดในข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า วิชาชีพวารสารศาสตร์ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญและควรมีอยู่ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่คนทำงานในแวดวงสื่อทุกคนล้วนต้องตระหนัก เรียนรู้ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ต้องมีการคำนึงถึงความถูกต้อง ตรวจสอบเเหล่งข้อมูลเเละวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้มา ต้องผลิตเเละนำเสนอข่าวสาร ข้อเท็จจริงที่ไม่มีการบิดเบือนหรือผูกขาดจากอำนาจใด ๆ อีกทั้งยังต้องมีการคัดกรอง ประเมินแหล่งข้อมูล ประเมินคุณค่า เเละสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้อ่าน ให้แก่ประชาชนอยู่เสมอ 

    ในขณะเดียวกัน ทางภาครัฐก็ควรให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอของสื่อได้อย่างเต็มที่ มิฉะนั้น เราจะหางานวารสารศาสตร์ที่สามารถสร้างคุณค่าได้อย่างเเท้จริงแทบไม่ได้เลย   หากงานวารสารศาสตร์จะต้องกลายเป็นเพียงเครื่องมือของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักวารสารศาสตร์และประชาชนต้องช่วยกัน และตระหนักถึงการมีอยู่ ตระหนักถึงคุณค่าของงานในวิชาชีพนี้ เพื่อจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและเป็นกระบอกเสียงให้แก่ประชาชน เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหา รวมถึงพัฒนาสังคมได้อย่างถูกต้องเเละยั่งยืน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
die young (@teenageblue)
เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ แล้วเดี๋ยวนี้หางานวารสารศาสตร์ที่นำเสนอข้อมูลอย่างแท้จริงและครบถ้วนแทบไม่ได้เลย เหมือนถูกจำกัดเสรีภาพจากทางภาครัฐตลอด อยากเป็นกำลังให้กับคนทำงานด้านนี้ และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนด้วยนะคะ
luckybsira (@luckybsira)
@teenageblue อ่านเเล้วมีกำลังใจขึ้นเยอะเลย ขอบคุณมาก ๆ เลยนะคะ <3
Rung Natnicha (@fb2693363650948)
เห็นด้วยค่ะ สะท้อนสภาพสังคมในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน อยากอ่านงานเขียนแบบนี้อีกค่ะ เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนนะคะ
luckybsira (@luckybsira)
@fb2693363650948 ขอบคุณมาก ๆ เลยนะคะ ดีใจมาก ๆ เลย จะตั้งใจเขียนออกมาเรื่อย ๆ เลยนะคะ ?✨
Thanat Timruen (@fb3078953295523)
คิดเช่นเดียวกันครับ งานวารสารจะสามารถไปได้ไกลกว่านี้หากอย่างน้อยที่สุดประชาธิปไตย หรือสิทธิเสรีภาพเข้าถึงพวกเรา พูดแล้วก็หดหู่ครับ ?? เป็นกำลังใจให้ผู้เขียนผลิตงานออกมาอีกเยอะ ๆ ครับ
luckybsira (@luckybsira)
@fb3078953295523 ขอบคุณสำหรับคอมเม้นท์นะคะ อ่านเเล้วมีกำลังใจเขียนต่อเลย <3