เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Pupzy's in quarantinePupzyy
เธออ้วนขึ้นรึเปล่า กับ body shaming?
  • ท่านผู้อ่านเคยโดนทักว่า อ้วนขึ้นรึเปล่าไปทำอะไรมา? ตัวคล้ำจังไปทะเลมาหรอ? หรือว่า สิวขึ้นเยอะจังไปทำอะไรมา? ไหมครับ แน่นอนว่าหลายๆท่านอ่านจะได้รับการทักทายแบบนี้เป็นประจำไม่ว่าจะมาจากเพื่อน  ลุง ป้า น้า อา และอีกหลายๆคน ซึ่งการทักทายแบบนี้มันกลับเป็นเรื่องปกติในสังคมของเรา
    จากการที่ผมได้มีโอกาสไปอยู่ต่างประเทศ ผมไม่เคยได้รับคำถามพวกนี้จากการทักทายมากเท่าไหร่ ผมไม่ได้กำลังจะบอกว่าสังคมที่ไหนดีกว่ากัน เพียงแต่ผมต้องการที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมเท่านั้นเอง

    แล้วเราได้อะไรจากคำถามเหล่านี้หล่ะ?

    มีหลายๆครั้งที่เราไม่รู้ว่าเราควรจะตอบอย่างไร ก็เลยทำได้แต่เพียงยิ้มสู้เพื่อกลบเกลื่อนอาการเสียความมั่นใจของตัวเองออกมา ผมมีเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ใกล้ตัวผมมากๆนั่นก็คือพี่สาวของผม ปัจจุบันพี่สาวของผมเป็นคนทานอาหารน้อยถึงน้อยมากผมแทบจะไม่เห็นพี่สาวทานอาหารเป็นจริงเป็นจังบนโต๊ะอาหารที่บ้าน ด้วยความเป็นห่วงผมเลยถามเธอว่า ทำไมถึงทานอาหารน้อยจัง ประกอบกับการทำงานหนักที่จะต้องหลับดึกตื่นเช้า มันอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในไม่เร็วก็ช้า คำตอบที่เธอตอบผมมันค่อนข้างที่จะสะกิดใจผมมากเลยทีเดียว โดยเธอได้ตอบว่า ตอนเด็กๆเธอมีรูปร่างที่ค่อนข้างอ้วนซึ่งเวลาเธอมีโอกาสพบปะกับใคร เธอมักจะโดนทักว่าอ้วนตลอด ซึ่งการกระทำแบบนี้มันเป็นการบั่นทอนความมั่นใจของเธอลงไปที่ละนิดๆ จนเธอรู้สึกว่าเธอมีปมในเรื่องนี้ และการที่โดนทักว่าอ้วนขึ้นคือสิ่งที่เธอกลัวมากที่สุดเมื่อเธอโตขึ้น

    จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเพียงแค่คำถามสั้นๆที่มาจากจุดประสงค์ที่ต้องการจะทักทายอย่างเป็นมิตรและปฏิสัมพันธ์ด้วยมันกลับกลายเป็นดาบสองคมที่สามารถทำให้คนอื่นเสียความมั่นใจและแน่นอนสิ่งเหล่านี้จะสะสมเป็นปมซึ่งจะส่งผลเสียต่อตัวพวกเขาในอนาคต
     

    แล้วถ้าหากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ชอบถามคำถามแบบนี้กับคนอื่นหล่ะ?

    แน่นอนครับเราทุกคนต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบข้าง อย่างไรก็ตามการทักทายที่ดี สร้างสรรค์ และไม่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นก็เป็นสิ่งที่ควรจะทำ โดย ฌอน บูรณะหิรัญ นักเขียน และ นักพูดสร้างแรงบันดาลใจได้แนะนำ 3 สิ่งที่เราไม่ควรใช้ในการทักทายคนอื่นเวลาพบปะกัน

    สิ่งแรก หน้าตา สิวขึ้นรึเปล่า? ทำไมใต้ตาดำจัง? อย่างถัดมา รูปร่าง ผอมลงรึเปล่า? อ้วนขึ้นรึเปล่า? และสิ่งสุดท้าย สภาพ ทำไมเธอดูโทรมจังไปทำอะไรมา? เป็นต้น 

    คำถามเหล่านี้จะเจาะจงไปที่ลักษณะภายนอกของบุคคลซึ่งในทางตระกะและความถูกต้องแล้วนั้น รูปร่าง หน้าตา ลักษณะภายนอกของเขาเป็นสิทธิ์ในการครอบครองของเขาและการถามคำถามเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นการล้ำเส้นความเป็นส่วนตัวของพวกเขาไปในตัว 

    แล้วเราควรทักทายคนอื่นอย่างไรหล่ะถึงจะเหมาะสม?

    ฌอน ได้กล่าวต่อไปว่าการทักทายที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ควรเริ่มจาก หนึ่งคำชม วันนี้ไปทำอะไรมาเธอดูดีจังเลย? เมื่อวานเห็นเธอไปปีนเขามา เธอเก่งมากๆเลยนะ อย่างที่สองพยายามตั้งคำถามให้กว้างเข้าไว้เช่น วันนี้เป็นยังไงบ้าง? ไหนมีข่าวสารอะไรอัพเดตบ้าง? เหนื่อยมั้ย? ช่วงนี้ชีวิตโอเคไหมมีอะไรไม่สบายใจรึเปล่า? และอย่างสุดท้าย การให้กำลังใจ เช่น ถ้าเพื่อนของเรากำลังจะสอบสัมภาษณ์งาน เราควรจะบอกว่า เธอทำได้ เราเป็นกำลังใจให้ หรือถ้าเพื่อนของเราได้งานใหม่ เราก็ควรบอกว่า เห็นไหมบอกแล้วว่าเธอทำได้ ภูมิใจในตัวเธอจริงๆ การทักทายแบบที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นด้วยความจริงใจนั้นจะทำให้ ผู้ฟังรู้สึกดีและมั่นใจตัวเอง

    โดย ฌอน ได้ปิดท้ายด้วยประโยคที่ว่า "จงเป็นเหตุผลให้คนอื่นยิ้มไปทั้งวันและจงอย่าเป็นเหตุผลที่ทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดีไปตลอดชีวิต"

    โดยจากธรรมชาติของมนุษย์แล้วการที่เรารู้สึกหมดความมั่นใจจากทักทายที่ไม่สร้างสรรค์เหล่านี้ มันมีสาเหตุมาจากความไม่มั่นใจในตัวเองทุกๆครั้งที่เรามองกระจก เราจึงพยายามปกปิดจุดด้อยของเราเพื่อให้คนอื่นไม่สามารถรับรู้แต่การได้รับคำพูดเหล่านี้นั้น มันกลับกลายเป็นการเผยไต๋ของเราซึึ่งมันจะทำให้เราหมดความมั่นใจ ลองคิดง่ายๆ เหมือนกับการโดนเปิดโปรงบางอย่างในชีวิตเราที่เราไม่ต้องการให้เห็นมันคงรู้สึกไม่สบายใจไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ 

    เราลองมามองในมุมของผู้ถามกับบ้าง แน่นอนครับสิ่งที่เขากำลังมองหาจากเราก็คือสิ่งที่เป็นจุดด้อยในตัวเองของเขาเช่นกัน เพื่อที่จะทำให้เขารู้สึกดีว่าอย่างน้อยก็มีคนที่เป็นเหมือนเขาหรือแย่กว่าเขา เขาจึงเลือกที่จะตั้งคำถามเหล่านี้กับเรา เอาจริงๆเราจะพูดว่าพวกเขานิสัยไม่ดีหรืออะไรไม่ได้เพราะมันเป็นเพียงแค่กลไกทางธรรมชาติที่ถูกออกมาแบบมาเพื่อป้องกันตัวเองจะความรู้สึกแย่ต่างๆเท่านั้นเอง

    อย่างต่อมาที่ผมอยากจะพูดคือ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมการทักทายที่มีมาหลายต่อหลายปี หรือ เราไม่สามารถบังคับความคิดของทุกคนให้พูดในสิ่งที่เราต้องการจะรับฟังได้ เราจึงควรจะมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ในที่นี้ผมหมายถึงการมีจิตใจที่เข้มแข็งเพื่อที่จะสามารถรับมือกับคำพูดเหล่านี้ โดย ผศ.ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาลัยมหิดล ได้แนะนำวิธีสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง วิธีแรกคือการเห็นคุณค่าในตัวเอง คำพูดเหล่านี้จะไม่มีทางที่จะกระทบจิตใจเราได้ถ้าเรามีความมั่นใจในตัวเองและเห็นคุณค่าของตัวเองมากพอ อย่างไรก็ตามบางคนอาจจะมีระดับ self-esteem ที่ไม่เท่ากัน มันจึงส่งผลมาถึงปัจจัยที่สองนั่นก็คือ ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้กำลังใจ ชื่นชมลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกมีคุณค่ามากพอเพื่อที่จะออกไปเชิญกับสังคมภายนอก เพราะพวกเขามั่นใจแล้วว่าต่อให้พวกเขาอ้วน ผอม ดำ เตี้ยะ อย่างไรก็ตามพ่อแม่ของพวกเขาก็จะยังรักพวกเขาอยู่เสมอ และปัจจัยสุดท้ายที่ค่อยข้างมีอิทธิผลอย่างมากนั้นก็คือ เพื่อน เพื่อนควรจะเป็นที่พักพิงที่ดี ไม่บั่นทอนจิตใจของอีกผ่าย และให้กำลังใจพวกเขาเสมอเมื่อพวกเขามีปัญหาหรือรู้สึกมีคุณค่าน้อยลง 

    ถ้าหากคนๆนึ่งสามารถมีภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีเหมือนเป็นเกราะป้องกันตัวเองที่แข็งแรงและมั่นคง เขาคนนั้นจะสามารถอยู่ในสังคมได้ด้วยการรักตัวเองและเห็นคุณค่าในตัวเองต่อให้พวกเขาจะต้องพบเจอกับหลายสิบคำถามที่จะบั่นทอนจิตใจของเขาก็ตาม 

    แหล่งที่มา




     
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in