เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองฯ By สุริยานนท์ พลสิม
  • รีวิวเว้ย (1322) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    ความตลกร้ายอย่างหนึ่งของการเรียนวิชารัฐศาสตร์ ไม่ว่าจะในสาขาความรู้ใดก็ตามการเรียนในเรื่องของ "ทฤษฎี" เป็นสิ่งที่หลายคนมองมันในฐานะของยาขม เพราะการเรียนเพื่อจดจำเอาทฤษฎีไปประยุกต์ใช้เป็นขั้นตอนของมหกรรมในการท่องจำในกรณีที่ทฤษฎีเหล่านั้นยากต่อการทำความเข้าใจ หรือในบางวิชาช่วงเวลาของการเรียนทฤษฎีเป็นช่วงเวลาของการถอดจิตย้ายร่างเพราะตอนเดินออกจากห้องเรียนเราจะหันไปถามเพื่อทันทีว่า "เพลโตว่าอะไรยังไงนะ" เช่นนั้นการเรียนภาคทฤษฎีจึงเป็นสิ่งที่ใครหลายคนหวาดกลัว แต่ที่น่าหวาดกลัวยิ่งกว่าคือเมื่อเรียนภาคทฤษฎีสิ้นสุดแล้วต้องนำไปประยุกต์เข้ากับภาคปฏิบัติในส่วนนี้จะบันเทิงขึ้นมาทันทีเมื่อเรา "จำส่วนแรกไม่ได้" ในหลายหนการเรียนหนังสือจึงคล้ายกับสัญลักษณ์งูกินหางโรโบรอส (Ouroboros) ที่ดูจะวนไปอย่างไม่จบสิ้น หากแต่ในการศึกษาจะเลือกละเลยความรู้พื้นฐานอย่างการศึกษาภาคทฤษฎีคงเป็นไปไม่ได้และคงไม่ใช้เรื่องดีหากทิ้งภาคทฤษฎีแล้วมุ่งหน้าไปหาแต่ภาคปฏิบัติ
    หนังสือ : ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น
    โดย : สุริยานนท์ พลสิม
    จำนวน : 186 หน้า
    .
    "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" สำหรับหนังสือเล่มนี้ชื่อของหนังสืออาจจะบอกชัดเจนอยู่ในทีว่าหนังสือเล่มนี้มุ่งเน้นไปที่เรื่องของการนำเสนอมุมมองในเรื่องของทฤษฎี "รัฐประศาสนศาสตร์" หรือที่บางสำนักเรียกว่า "บริหารรัฐกิจ" ที่ถูกให้ความสำคัญโดยเฉพาะในเรื่องของการบริหารจัดการภาครัฐ ในปัจจุบันก็ได้มีการขยายขอบเขตออกไปสู่เรื่องของการบริหารองค์กรทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และแน่นอนว่าหนังสือ "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" ได้ถ่ายทอดมุมมองและเรื่องราวทางทฤษฎีของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ให้กับผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ อีกทั้ง "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" ยังได้เชื่อมร้อยทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์เข้ากับเรื่องของ "การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" ที่ในปัจจุบันเป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับความสนใจและใส่ใจเป็นอย่างมากในสังคมไทย
    .
    สำหรับวิธีการนำเสนอของหนังสือ "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" แบ่งออกเป็น 2 ส่วน อันได้แก่ (1) ส่วนของแนวคิดและทฤษฎีทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ (รปส.) ที่ทำหน้าที่ในการปูพื้นฐานถึงที่มา พัฒนาการ ความสำคัญและความหมายเบื้องต้นของสิ่งที่เรียกว่ารัฐประศาสนศาสตร์ และ (2) ส่วนของการนำเอาทฤษฎีทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์มาประยุคใช้ร่วมไปกับทฤษฎีทางด้านการปกครองท้องส่วนท้องถิ่น กระทั่งการนำเอาชุดความรู้ทั้ง 2 ส่วนมาใช้ในการทำความเข้าใจในเรื่องของการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยที่เนื้อหาของ "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" แบ่งออกเป็น 1 บทนำกับ 6 บทหลัก ดังต่อไปนี้
    .
    บทนำ
    .
    บทที่ 1 รัฐประศาสนศาสตร์เบื้องต้น
    .
    บทที่ 2 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ยุคดั้งเดิม (1887-1944)
    .
    บทที่ 3 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (1945-1970)
    .
    บทที่ 4 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์สมัยใหม่ (1971-ปัจจุบัน)
    .
    บทที่ 5 แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทางการปกครองส่วนท้องถิ่น
    .
    บทที่ 6 ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย
    .
    "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" เมื่ออ่านในแต่ละบทของเนื้อหาจบลงเราจะพบว่าผู้เขียนได้มีการสรุปประเด็นของเนื้อหาในแต่ละบทถึงภาพรวม พัฒนาการ ประเด็นสำคัญและปมปัญหาที่ในแต่ละยุคของการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ต้องเผชิญ (ตามการแบ่งบท) เพื่อเป็นการขมวดปมและสร้างบทสนทนาเพื่อให้ผู้อ่านหาคำตอบในบทต่อไปของหนังสือ หากแต่สำหรับเราแล้ว "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" ยังสามารถอ่านได้อีกแบบหนึ่งโดยหากผู้อ่านละปมคำถามที่ปรากฏในตอนท้ายของแต่ละบท ผู้อ่านจะพบว่าในแต่ละบทของ "ทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์กับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น" คือการพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจในเรื่องของ "รัฐประศาสนศาสตร์" อย่างเป็นระบบ อีกทั้งเมื่ออ่านมาถึงส่วนที่เชื่อมโยงกับการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว เราจะเห็นได้ชัดถึงความเป็นพลวัตของทั้งตัวองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ และองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต่างฝ่ายก็ต่างต้องมีพัฒนาการให้สอดรับไปรับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in