เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6 By วิชัย ภู่โยธิน และ จำเนียน ผะคังคิว
  • รีวิวเว้ย (1300) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    หลายคนคงเคยตั้งคำถามว่า "ระบบการศึกษาไทยสอนให้คนเป็นแบบไหนกันนะ" เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเรามักจะต้องกลับมาทบทวนและตั้งคำถามต่อระบบการศึกษาของไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งเรื่องของแบบเรียนและกฎระเบียบของโรงเรียนที่หลายครั้งก็คล้ายว่าโลกในระบบการศึกษาได้หยุดเวลาเอาไว้ในช่วงของมานะ มานี ปิติและชูใจ แน่นอนว่าระบบการศึกษาไทยมีความพยายามที่จะพัฒนาผู้เรียนผ่านเนื้อการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรและสื่อการสอนต่าง ๆ แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายหนสืาอการสอน แบบเรียน และวิธีคิดในแบบของกระทรวงศึกษาเองในหลายหนก็สร้างความประหลาดใจให้กับเราได้เสมอ ๆ อย่างล่าสุดก็กรณีที่ปรากฏในแบบเรียนเรื่องของการกินข้าวไข่ต้มครึ่งใบกับน้ำผัดผักบุ้งที่ดูอย่างไรก็ไม่น่าจะสร้างความรับรู้ในทางที่ดีให้กับเด็กในเรื่องของโภชนาการ และนี่คือจุดเริ่มต้นที่ชวนให้เราลองกลับมาย้อนอ่านแบบเรียนของนักเรียนในยุคปัจจุบัน ซึ่งเราพบว่าหนังสือแบบเรียนตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาฯ หลายเล่มมีความรู้ วิธีถ่ายทอด การนำเสนอเนื้อหาของการเรียนในแบบที่เราคาดไม่ถึงและความรู้ที่ถูกถ่ายทอดมาในแบบเรียนบางเล่มกลับถ่ายทอดเนื้อหาได้ครบถ้วนและง่ายต่อการทำความเข้าใจ ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนังสือพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ก็ยังได้
    หนังสือ : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6
    โดย : วิชัย ภู่โยธิน และ จำเนียน ผะคังคิว
    จำนวน : 122 หน้า
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6" ถูกแบ่งออกเป็น 6 หน่วยการเรียนรู้ โดยที่หน่วยก่รเรียนรู้แรกจะเป็นเรื่องของการบอกเล่าพัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นและคำถามพื้นฐานอย่างการปกครองท้องถิ่นคืออะไร มีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร และในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2-5 จะบอกเล่าถึงลักษณะและความแตกต่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ มีการพูดถึงประวัติความเป็นมา อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายให้อำนาจ โครงสร้างการบริหารงาน ภารกิจหน้าที่ การบริหารงานบุคคล งบประมาณและการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในส่วนของหน่วยการเรียนรู้สุดท้ายจะว่าด้วยเรื่องของหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยและเป็นหัวใจหนึ่งของการเมืองท้องถิ่น ซึ่งคือเรื่องของการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเนื้อหาของ "หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6" แย่งออกเป็นดังนี้
    .
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นไทย
    .
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด
    .
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เทศบาล
    .
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 องค์การบริหารส่วนตำบล
    .
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
    .
    หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น
    .
    จุดเริ่มต้นของการอ่านหนังสือ "หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6" เกิดขึ้นจากคำถามว่าหลักสูตรแกนกลางปี 2551 สอนอะไรให้กับเด็กนักเรียนในเรื่องของการปกครองท้องถิ่น (?) ความน่าสนใจคือเมื่ออ่าน "หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6" จบลงแล้ว เราพบว่าเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสืออาจจะไม่ได้เหมาะแค่กับกลุ่มของนักเรียนเท่านั้น หากแต่เนื้อหาของ "หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6" อาจเรียกได้ว่าเป็นการปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องของการปกครองท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ทั้งการอธิบายถึงที่มาที่ไป พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ขอบข่ายการทำหน้าที่ตามกฎหมาย โครงสร้างการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่ง "หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม การปกครองท้องถิ่นของไทย ม.4-6" จะช่วยให้เราได้ทำความเข้าใจพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่นแบบ 101 ในฐานะของพื้นฐานความรู้ในเรื่องดังกล่าว

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in