เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี By นริศ จรัสจรรยาวงศ์
  • รีวิวเว้ย (1862) ทำไมพุทธศาสนาต้องมีพระสงฆ์ ? คำถามนี้เคยถูกถามขึ้นในชั้นเรียนวิชาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ คำตอบที่เกิดขึ้นจากบทสนทนาดังกล่าวนำไปสู่คำตอบที่น่าสนใจมากมาย ทั้งเหตุผลที่ว่าพุทธศาสนาต้องมีพระสงฆ์เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างภพภูมิ ไปกระทั่งถึงคำตอบที่ว่าเพราะพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก อันหมายถึง "พระสงฆ์เป็นผู้ที่ควรแก่การทำบุญ เปรียบเสมือนผืนนาที่หว่านเมล็ดพืชแล้วจะงอกงาม การทำบุญกับพระสงฆ์จึงถือว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลให้เกิดบุญกุศลอย่างมากมาย" (ข้อมูลโดย AI) แต่คำตอบหนึ่งที่จำได้จากพระอาจารย์ผู้สอนในชั้น คือ ท่านบอกว่าอันที่จริงพระสงฆ์อาจจะไม่จำเป็นต้องมีสำหรับพระศาสนาก็ได้ เพราะผู้คนทั่วไปสามารถปฏิบัติได้ด้วยตัวเองและสามารถนิพพานได้ด้วยตนเองในฐานของพระปัจเจกพุทธเจ้า หากแต่การมีพระสงฆ์นั้นนัยหนึ่งก็เพื่อเป็นการปรับประยุกต์คำสอนของพุทธองค์ให้ง่ายขึ้นสำหรับผู้คนทั่วไป
    หนังสือ : เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี
    โดย : นริศ จรัสจรรยาวงศ์
    จำนวน : 376 หน้า 
    .
    "เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของเสถียร โพธินันทะฆาราวาสมุนี ผู้จากโลกไปด้วยอายุยังน้อย หากแต่สร้างผลงานด้านพุทธศาสนาไว้อย่างเป็นที่จดจำ ทั้งการเขียนเรื่องราวของประวัติศาสตร์ศาสนา และการจัดปาถกฐาธรรมที่มีผู้ติดตามฟังเป็นจำนวนมาก และยังพร้อมด้วยความสามารถทางด้านศาสนาทั้งในฐานะของอาจารย์ผู้สอนวิชาพุทธศาสตร์สนาในวิทยาลัยสงฆ์ ที่ความรู้ทั้งมวลมาจากการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และความสามารถในการตอบคำถามทางศาสนาด้านต่าง ๆอจนได้ชื่อว่าตู้พระไตรปิฎกเดินได้
    .
    "เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี" ฉายให้เห็นเรื่องราวชีวิตของฆราวาสมุนีผู้นี้ ทั้งในมิติของประวัติชีวิต ผลงาน และช่วงเวลาของการจากลา และตามมาด้วยเรื่องราวที่หลายคนอาจไม่คาดคิดว่าก่อนจะเป็นฆราวาสมุนี เสถียรเคยเป็นคฤหัสถ์ขมังเวทย์มาก่อน ด้วยการบอกเล่าเรื่องราวของคำภีร์ไสยศาสตร์ ที่เสถียร เคยได้ศึกษาเล่าเรียนจากฆราสาสขมังเวทย์ท่านต่าง ๆ ซึ่งหากใครติดตามวงการนี้อยู่บ่างน่าจะเคยได้ยินชื่ออาจารย์บางท่านของเสถียร อาทิ อาจารย์ชุม ไชยคีรี
    .
    อีกทั้งเนื้อหาใน "เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี" ยังมีส่วนที่บอกเล่าถึงเรื่องราวของความเชื่อในเรื่องเวทย์วิทยาคมต่าง ๆ ทั้งในยุคแรกเริ่มของสมัยรัตนโกสินทร์กระทั่งถึงช่วงเวลาร่วมสมัยกับเสถียร อาทิ คุณย่าบุญเรือน โตงบุญเติม เกจิยุคอินโดจีน อย่างหลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อคงและหลวงพ่ออี๋ หรือกระทั่งช่วงเวลาของการจัดสร้างพระพุทธ 25 ศตวรรษ ต่างก็ปรากฏอยู่ใน "เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี" โดยที่เนื้อหาของหนังสือแบบออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
    .
    ส่วนที่ 1 เสถียร โพธินันทะ [พ.ศ. 2472-2509] ชีวประวัติและผลงาน
    .
    ส่วนที่ 2 จาก "คฤหัสถ์ขมังเวทย์" สู่ "ฆราวาสมุนี" คัมภีร์ไสยศาสตร์ของ เสถียร โพธินันทะ ปริวรรตโดย เปียก เด็กวัด มหาเปรียญเอกวัดดังย่านประตูผี
    .
    ส่วนที่ 3 กฤติยาคม เครื่องรางของขลัง จอมขมังเวทย์ยุคสมัย เสถียร โพธินันทะ
    .
    "เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี" ฉายให้เห็นเรื่องราวชีวิตของเสถียร โพธินันทะ ที่อาจจะไม่ยืนยาวนักหากแต่ผลงานที่ได้ทิ้งไว้ นับเป็นผลงานด้านศาสนาชิ้นสำคัญ ที่เกิดขึ้นโดยบุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ อีกทั้ง "เสถียร โพธินันทะ จากคฤหัสถ์ขมังเวทย์สู่ฆราวาสมุนี" ยังเชื่อมโยงให้เห็นแผนภาพความสัมพันธ์ของพุทธศาสนาและพระเวทย์วิทยาคมในช่วงก่อน และช่วงเวลาร่วมสมัยกับเสถียร โพธินันทะ ซึ่งฉายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาและชุดความเชื่อที่ธำรงค์สังคมสยาม-ไทย จากครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in