เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เรื่องเล่าของวิทยาศาสตร์ By ชลิดา จูงพันธ์
  • รีวิวเว้ย (1274) วิทยาศาสตร์ คือ รูปแบบหนึ่งของการแสวงหาความรู้ผ่านวิธีการและขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ อาทิ การสังเกต การทดลอง ซึ่งวิธีการและขั้นตอนในการหาความรู้นั้นต้องสามารถ "ทำซ้ำได้" แน่นอนว่าข้อถกเถียงในสังคมปัจจุบันต่อโลกวิทยาศาสตร์ และโลกของศาสตร์แขนงอื่น อาทิ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ กำลังถูกทำให้กลายเป็น "วิทยาศาสตร์" หรือต้องอาศัยรูปแบบ วิธีการ ขั้นตอน และการทำซ้ำได้แบบวิทยาศาสตร์ แน่นอนว่าการพิสูจความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือแบบวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ถ้าทำได้ก็ดี เพราะอย่างน้อย ๆ มันก็ช่วยให้ความรู้ชุดนั้น ๆ สามารถทำการทดลองซ้ำได้โดยที่ผลการทดลองไม่ผิดไปจากเดิมนัก แต่กับงานในสาขาวิชาอื่น ๆ ในหลายครั้งวิธีการทางวิทยาศาสตร์อาจจะไม่ใช่คำตอบของการจัดการความรู้ในแต่ละศาสตร์เหล่านั้น อาจจะด้วนข้อจำกัดหลายประการทั้งเรื่องของวิธีวิทยา การเก็บข้อมูล วิธีในการศึกษา หรือกระทั่งการนิยามปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ถูกใช้ในฐานะของวัตถุศึกษาก็ไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันด้วยความที่วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ ให้ผลการศึกษาที่ดูง่าย ได้มาตรฐาน ปรากฏหลักฐานการศึกษาที่ชัดเจน ทำให้หลายปีมานี้วงวิชาการในประเทศไทยกำลังถูก Disrupt ด้วยวิธีวิทยาแบบวิทยาศาสตร์นิยม ปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายครั้งวิธีวิทยาในลักษณะนี้ก็ทำให้การศึกษางานวิชาการดูจืดชืดและบางครั้งมันก็ชวนตั้งคำถามว่า "เรื่องนี้มันศึกษาแบบนี้ได้หรอวะ"
    หนังสือ : เรื่องเล่าของวิทยาศาสตร์: ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และการสื่อสารวิทยาศาสตร์กับสังคมไทย
    โดย : ชลิดา จูงพันธ์
    จำนวน : 295 หน้า

    "เรื่องเล่าของวิทยาศาสตร์: ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และการสื่อสารวิทยาศาสตร์กับสังคมไทย" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของวิทยาศาสตร์โดยที่ผู้อ่านสามารถแบ่งกลุ่มของเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือได้แบบหยาบ ๆ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ (2) การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และ (3) การสื่อสารวิทยาศาสตร์กับสังคมไทย โดยที่เนื้อหาในแต่ละกลุ่มนั้นถูกบอกเล่าในลักษณะของการพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจภาพการบอกเล่าหลัก ๆ ของเนื้อหาในแต่ละกลุ่ม ซึ่งทำให้หนังสือ "เรื่องเล่าของวิทยาศาสตร์" เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโลกวิทยาศาสตร์ ที่เราอยากจะเรียกว่าเป็นการบอกเล่าโลกวิทยาศาสตร์แบบ 101 ที่ฉายให้เห็นความหมาย นิยาม ปรากฏการณ์และพัฒนาการของประวัติศาสตร์ใน 3 กลุ่ม (ดังที่กล่าวไปก่อนหน้า)

    โดยเนื้อหาของ "เรื่องเล่าของวิทยาศาสตร์" ได้ถูกแบ่งเป็นบทย่อยจำนวนทั้งสิ้น 8 บท โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

    บทที่ 1 แนวคิดและปรัชญาวิทยาศาสตร์

    บทที่ 2 การคิดเชิงวิทยาศาสตร์

    บทที่ 3 วิทยาศาสตร์แท้ วิทยาศาสตร์เทียม

    บทที่ 4 บทบาทของวิทยาศาสตร์กับการพัฒนาของโลกตะวันตก

    บทที่ 5 วิทยาศาสตร์กับวัฒนธรรมและสังคมไทย

    บทที่ 6 นโยบายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย

    บทที่ 7 หลักการสื่อสารวิทยาศาสตร์

    บทที่ 8 การถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในบริบทต่าง ๆ ของสังคม

    "เรื่องเล่าของวิทยาศาสตร์" ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพของโลกวิทยาศาสตร์ ทั้งในระดับภาพกว้างและในระดับสังคมไทยได้อย่างดี โดยเฉพาะในเรื่องของพัฒนาการและแนวคิดต่าง ๆ ที่ปรียบเสมือนการทำความเข้าใจโลกวิทยาศาสตร์ ที่มีความกว้าง ยาว ลึก ด้วยการฉายให้เห็นภาพในด้านมุมต่าง ๆ ของโลกวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ

    และ สำหรับผู้สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ในสังคมไทย ได้ที่ "ท่องไปบนดวงดาว ก้าวลงบนดวงจันทร์ By ทวีศักดิ์ เผือกสม บก." https://minimore.com/b/Us3Wj/860 และ "วิทยาศาสตร์สร้างชาติ การก่อตัวของนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย พ.ศ.2431-2531" สิกขา สองคำชุม https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/255993

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in