เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
KITCHEN คิตเช่น By Banana Yoshimoto แปล อิศเรศ ทองปัสโณว์
  • รีวิวเว้ย (1267) "หนังสือบางเล่มจะทำงานกับผู้อ่านในช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป" โดยเฉพาะเมื่อหนังสือเล่มนั้นอยู่ในกลุ่มของวรรณกรรม ซึ่งเป็นหมวดของหนังสือที่แปลกประหลาดเพราะเมื่อเราอ่านหนังสือประเภทวรรณกรรมในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน สิ่งที่ได้รับจากหนังสือเล่มนั้นก็มักจะต่างกันออกไปในทุกครั้งที่อ่าน (เว้นแต่ตอนจบ) คล้ายว่าสารที่ได้รับเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา ช่วงวัย และเหตุการณ์ที่ผู้อ่านเคยพบเจอมา ในบางครั้งเมื่อเราอ่านวรรณกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องของการสูญเสียในวัยเด็กเราอาจจะไม่ประสาและยากที่จะเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร เมื่อเราเติบโตขึ้น ผ่านเหตุการณ์ของการสูญเสียและผ่านอะไรหลาย ๆ อย่าง เมื่อย้อนกลับไปอ่านวรรณกรรมเล่มเดิมเราอาจจะรู้สึกถึงเนื้อหาของเนื้อความที่แตกต่างออกไปอย่างชัดเจน หรือเมื่อเราอ่านงานที่เกี่ยวข้องกับความรัก การทำงาน และอื่น ๆ ในวันวัยที่เราร่วมในเหตุการณ์ (ร่วมสมัย) หรือผ่านเลยวัยนั้นมาแล้วสารที่เราได้รับจะแตกต่างออกไป และความน่าประหลาดอีกประการหนึ่งของงานเขียนประเภทนี้ เมื่อคน 100 คนอ่านหนังสือเล่มเดียวกันและเรื่องเดียวกัน สารที่ผู้อ่านได้รับจะแตกต่างกันออกไปเป็น 100 แบบ
    หนังสือ : KITCHEN คิตเช่น
    โดย : Banana Yoshimoto แปล อิศเรศ ทองปัสโณว์
    จำนวน : 192 หน้า

    "KITCHEN คิตเช่น" นวนิยายที่ถูกเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 และได้กลายมาเป็นงานเขียนของผู้เขียนที่ได้รับความนิยมและเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยเนื้อหาของ "KITCHEN คิตเช่น" ว่าด้วยเรื่องของ "การสูญเสีย" ของตัวละครหลักของเรื่องที่ตัวละครแต่ละตัวต้องผ่านเหตุการณ์ของการสูญเสียอยู่หลายครั้ง แต่การสูญเสีย 2 ครั้งสำคัญที่ปรากฏอยู่ใน "KITCHEN คิตเช่น" นับเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ตัวละครของเรื่องเสียศูนย์จากการสูญเสีย ก่อนที่การสูญเสียและเสียศูนย์จะนำพาพวกเขาไปสู่การเรียนรู้ การทบทวน การตรวจสอบ และการหาคำตอบที่อยู่ภายในของจิตใจ โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน "KITCHEN คิตเช่น" ทั้งหมดนั้นโคตรอยู่รอบตัว และรอบครัว ที่ถูกใช้เป็นหนึ่งในเส้นเรื่องสำคัญ

    สำหรับ "KITCHEN คิตเช่น" เล่มนี้ ได้มีการรวมเอางานเขียน 2 ชิ้นของผู้เขียนมาร่วมเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ (1) KITCHEN และ (2) MOONLIGHT  SHADOW ซึ่งนวนิยายทั้ง 2 เรื่องต่างก็ว่าด้วยเรื่องของกาาสูญเสีย ที่จะพาให้ตัวละครและตัวผู้อ่านได้กลับไปทบทวนช่วงเวลาต่าง ๆ ในชีวิตของตัวเอง ว่าที่ผ่านมาในคบามสำพันธ์เราทำอะไรสูญเสียไปบ้าง และเมื่อวันเวลาแห่งการสูญเสียมาถึงเราจะจัดการและรับมือกับมันอย่างไร

    ความน่าประหลาดใจประการหนึ่งของ "KITCHEN คิตเช่น" คือ การที่งานเขียนทั้ง 2 ชิ้นถูกเขียนขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 แต่เมื่อเราอ่านด้วยสายตา และบริบทของช่วงเวลามนปัจจุบัน เราจะพบว่าเนื้อหาและเรื่องราวที่ปรากฏใน (1) KITCHEN และ (2) MOONLIGHT  SHADOW แทบไม่มีส่วนใดเลยที่สะกิดให้เราย้อนกลับไปคิดว่าเรื่องนี้เขียนขึ้นในปี 1988 (พ.ศ. 2531) เว้นแค่เรื่องของรายละเอียดในบางจุดอย่างตู้โทรศัพท์เท่านั้นที่กระตุกเตือนเราว่างานทั้ง 2 ชิ้นที่ปรากฏอยู่ใน "KITCHEN คิตเช่น" มิใช่งานที่เพิ่งถูกเขียนขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in