เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย By ชุติเดช เมธีชุติกุล
  • รีวิวเว้ย (1590) "ประชาธิปไตย" เป็นคำที่มีความหมายน่าสนใจและเป็นที่แพร่หลายในหลายสังคม อีกทั้งมีรูปแบบของการปรับใช้ตามบริบทของแต่ละสังคมและแต่ละแนวคิด ที่คำดังกล่าวถูกนำไปรับใช้หรือสร้างความชอบธรรมให้กับผู้ใช้งาน หากแต่เมื่อเราละวางการหาความหมายของคำว่า "ประชาธิปไตย" แต่ลองมองให้ลึกลงไปในเรื่องของ "ความรับรู้" เกี่ยวกับประชาธิปไตย เราจะพบว่าความรับรู้ในเรื่องของประชาธิปไตยแยกออกเป็นหลายรูปแบบ ทั้งในมุมของคนที่มองว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องดีงาม สมควรและเหมาะสมต่อดินแดนหนึ่ง ๆ และในอีกทางหนึ่งมุมมองในเรื่องของประชาธิปไตยกับเป็นเรื่องอันตรายและเป็นสิ่งต้องห้ามในบางสังคม น่าสนใจความความเข้าใจและความรับรู้ในเรื่องของประชาธิปไตยที่หลากหลายจะนำพาไปสู่สิ่งใดได้อีกในแต่ละสังคมแต่ละบริบท และน่าสนใจว่าการเข้ามาของประชาธิปไตยได้สร้างสิ่งใดเอาไว้ในสังคมหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะการเข้ามาของประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่มีการนำเข้าและส่งออกผ่านกลไกและความสนับสนุนของรัฐประชาธิปไตย อย่างสหรัฐอเมริกา
    หนังสือ : เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย 
    โดย : ชุติเดช เมธีชุติกุล
    จำนวน : 80 หน้า
    .
    หนังสือเล่ม 001 ของชุดหนังสือ Crackers Briefs ที่ถูกออกแบบมาในรูปแบบของหนังสือวิชาการที่อ่านง่ายและเป็นหนังสือเล่มเล็กที่นำเสนอประเด็นที่มีความจำเพาะทางวิชาการทั้งในเรื่องของแนวคิด ทฤษฎี นักคิด และแนวคิดทางวิชาการอีกหลาย ๆ ด้าน โดยหนังสือ "เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย" นับเป็นเล่มแรกของซีรีย์ดังกล่าว 
    .
    สำหรับหนังสือ "เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย" เป็นหนังสือเล่มเล็กที่บอกเล่าเรื่องของแนวคิดในการเผยแพร่ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกาในไทยทั้งในเรื่องของนโยบายเผยแพร่ประชาธิปไตยและนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต่อไทยในช่วงเวลาตั้งแต่สงครามเย็นจนถึงช่วง ค.ศ. 2008 และขับเน้นในช่วงเวลา ค.ศ. 2001-2008 ที่การดำเนินนโยบายของไทยและสหรัฐอเมริกาอยู่ในช่วงเวลาที่แยกกันไม่ขาดระหว่างนโยบายภายในและนโยบายระหว่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศ อันเกิดจากเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งในระดบัโลกและในระดับรัฐ
    .
    โดยเนื้อหาของ "เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย" ผู้เขียนแบ่งเนื้อหาของหนังสือออกเป็น 6 บท ที่แต่ละบทมุ่งเน้นนำเสนอให้เห็นพัฒนาการของการดำเนินนโบายของไทยและของสหรัฐอเมริกา ผ่านแนวทางการดำเนินนโยบายด้านการส่งเสริมประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริการผ่าน National Endowment for Democracy (NED) ที่ทำหน้าที่ในการให้งบประมาณและให้การสนับสนุนในการดำเนินงานด้านประชาธิปไตยของภาคส่วนต่าง ๆ ในต่างประเทศ ที่สหรัฐอเมริกาเข้าไปมีบทบาท ซึ่ง NED เองถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของ CIA ที่แต่เดิมเคยสร้างภาพจำในเรื่องของการเข้าไปแทรกแซงเพื่อผลักดันการปกครองแบบประชาธิปไตย (และไม่เป็นประชาธิปไตย) ในหลายประเทศ ที่ภาพของการดำเนินการออกไปในแนวทางสร้างความหายนะต่อรัฐหนึ่ง ๆ เสียมากกว่า สำหรับเนื้อหาของ "เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย" แบ่งเป็นดังนี้
    .
    (1) บทนำ นโยบายต่างประเทศไทยในยุค Bush
    .
    (2) นโยบายเผยแพร่ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา
    .
    (3) ประเทศไทยในบริบทสงครามเย็น
    .
    (4) NED ในฐานะของรูปธรรมของนโยบาย
    .
    (5) การเผยแพร่ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา
    .
    (6) บทสรุป จาก NED ถึงการเมืองไทยในปัจจุบัน
    .
    น่าสนใจว่า "เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย" ในทางกลับกันการดำเนินงานของ NED หรือโครงการอื่นก่อนหน้าการดำเนินงานของ NED ในการผลักดันและส่งเสริมประชาธิปไตย น่าสนใจว่าโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างในอีกหลายประการของรัฐหนึ่ง ๆ อาทิ การศึกษา กองทัพ มหาวิทยาลัย ฯลฯ ที่เปลี่ยนตัวเองไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยผ่านการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา อาจเรียกได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวเราอาจจะนับเป็นรูปแบบหนึ่งของอาณานิคม (สมัยใหม่) ผ่านประชาธิปไตย และเมื่อลองคิดตามสิ่งที่ปรากฎใน "เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งออกประชาธิปไตย: การเผยแพร่ประชาธิปไตย NED และไทย" ยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกว่าเหตุการณ์เดียวกันที่ไปเกิดกับพื้นที่อื่น ๆ ในโลกในช่วงเวลาเดียวกันผ่านกลไกเดียวกันจะมีหน้าตาหรือแบบแผนการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่อย่างไร ?

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in