เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ชิงแดนแม่น้ำโขง By ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
  • รีวิวเว้ย (1497) ในระบบการศึกษาของโรงเรียนไทยและระบบการศึกษาที่ถูกกำหนดมาตรฐานโดยรัฐไทย เรื่องของการ "เสียดินแดน" ดูจะเป็นพล็อตหลักของการสร้างความรู้สึกและความทรงจำร่วมผ่านแบบเรียน ซึ่งแน่นอนว่าการผลิตซ้ำองค์ความรู้ในลักษณะดังกล่าวดูจะนำไปสู่ความขัดแย้งมากกว่าการร่วมกันได้ของประเทศในภูมิภาคโดยเฉพาะในหนหลังที่หลายโรงเรียนต่างตั้งหน้าตั้งตาเปิดเพลง "อาเซียนร่วมใจ" แต่เนื้อหาของระบบการศึกษาก็ยังคงหยิบยกเอาความทรงจำบาดแผลมาใช้ในแบบเรียนเช่นเคย มิน่าการร่วมใจของอาเซียนถึงได้ดูทุลักทุเลชอบกล
    หนังสือ : ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)
    โดย : ฐนพงศ์ ลือขจรชัย
    จำนวน : 248 หน้า
    .
    "ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการทบทวนประวัติศาสตร์เรื่องของการเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงของสยาม ที่ถูกใช้เป็นอีกพล็อตหลักในการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมบางประการ โดยที่ "ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)" พาเราไปย้อนทำความเข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ของตัวแสดงสำคัญในศึกชิงแเนแม่น้ำโขง ที่มีตัวแสดงสำคัญ ๆ อยู่ 4-5 ตัวแสดงอันได้แก่ สยาม เวียดนาม ฝรั่งเศส อังกฤษ และกลุ่มเมืองในแถบดินแดนพิพาทระกว่างกลุ่มตัวแสดง
    .
    โดยที่ "ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)" ปรับปรุงมาจากวิทยานิพันธ์ปริญญาเอกของผู้เขียน ที่ได้กำหนดประเด็กของงานศึกษาเอาไว้ 3 ประการ ได้แก่ (1) ชาติไทย (2) ระบบเขตแดน และ (3) เอกราชของสยาม ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นคือโจทย์สำคัญของการศึกษาเรื่องราวของการเสียดินแดนของสยามโดยอาศัยการศึกษาที่ครอบคลุมใน 3 มิติดังกล่าว กลับมาที่ "ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)" นับเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานชิ้นใหญ่ โดยที่เนื้อหาของ "ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)" มุ่งนำเสนอมิติของหลักฐานและการปฏิสัมพันธ์กันของหลากตัวแสดง โดยได้ตัดมิติทางด้านทฤษฎีและข้อถกเถียงทางด้านปรัชญาออกไป ทำให้เนื้อหาของ "ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)" มีขอบเขตดังนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ
    .
    บทที่ 2 การปกครองแบบจารีตขอสยามและเวียดนาม
    .
    บทที่ 3 สู่ระเบียบโลกใหม่: การผชิญหน้าระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
    .
    บทที่ 4 การเจรจาเขตแดนทางน้ำในแม่น้ำโขงระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1893-1926
    .
    บทที่ 5 บทสรุป
    .
    "ชิงแดนแม่น้ำโขง: ประวัติศาสตร์เสียดินแดนฉบับวิวาท (กรรม)" ชวนให้เราตั้งคำถามตัวโต ๆ ว่า ในความทรงจำจากระบบการศึกษาที่ว่าด้วยเรื่องของ "การเสียดินแดน" เราหลงลืมมิติอื่น ๆ ไปหรือไม่ โดยเฉพาะมิติของการเป็นผู้กระทำการ มิใช่แต่การเป็นผู้ถูกกระทำ เพราะเอาเข้าจริงแล้วเรื่องราวของประวัติศาสตร์การเสียดินแดน ดูจะมีความสลับซับซ้อนมากไปกว่าที่แบบเรียนของรัฐจะครอบคลุมได้หมด และที่สำคัญไปกว่านั้นในบรรดาข้อถกเถียงทางวิชาการที่ถกเถียงกันมาเนิ่นนานในเรื่องดังกล่าว ก็ดูจะไม่จบลงง่าย ๆ เพราะตราบใดที่เรายังเถียงกันอยู่บน "ความเชื่อ" มากกว่าการคุยกันด้วยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และหาจุดลงตัวของข้อมูลซึ่งกันและกัน ปัญหาและข้อถกเถียงเรื่องการเสียดินแดนก็ไม่มีวันจบลงเพราะคล้ายกับว่าข้อถกเถียงเหล่านั้นมาจากคนที่หันหลังชนกันแล้วมองไปข้างหน้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in