เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ By ปวีณา หมู่อุบล
  • รีวิวเว้ย (1487) ตอนเรียนหนังสือในระบบการศึกษาของไทย (โรงเรียนไทย) สิ่งหนึ่งที่เราต้องท่องในสมัยเด็กนอกจากสูตรคูณแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นรายนามของพระเจ้าแผ่นดินของสยาม-ไทย โดยเริ่มต้นในช่วงสมัยของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่เริ่มท่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และไล่ไปกระทั่งถึงรัชกาลที่ 9 แน่นอนว่าการท่องจำในยุคนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการท่องจำของนกแก้วนกขุนทอง กระทั่งเมื่อโตขึ้นมาอีกหน่อยในระบบการศึกษาของโรงเรียนไทยเราจะได้เรียนว่าพระเจ้าแผ่นดินแต่ละพระองค์นั้นทำสิ่งใดไว้ให้กับแผ่นดิน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องที่ปรากฏในหนังสือเรียนในสมัยก่อนไม่ได้มีอะไรมากไปว่ากรณียกิจเด่น ๆ กระทั่งทำให้เราเข้าใจเรื่องของพระเจ้าแผ่นดินในแต่ละช่วงเวลาแทบจะผิวเผิน อย่างกรณีของพระนั่งเกล้าฯ ในยุคนั้นเราก็แทบไม่รู้อะไรมากไปว่าการเป็นนักค้าขายและการสร้างสำเภอจำลองเอาไว้ในวัดยานนาวา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องราวในอดีตในแต่ละช่วงเวลามีสิ่งให้เราเสาะหาและติดตามอยู่มากโข อย่างในกรณีของการสร้าง "อำนาจนำ" ใช่ช่วงเวลาของแต่ละรัชกาลก็นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย
    หนังสือ : อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ: การเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำต้นรัตนโกสินทร์
    โดย : ปวีณา หมู่อุบล
    จำนวน : 264 หน้า
    .
    "อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ: การเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำต้นรัตนโกสินทร์" ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของการช่วงชิงและสร้าง "ความชอบธรรม" สำหรับการสร้างอำนาจนำในช่วงเวลาของการปกครองของพระนั่งเกล่าฯ ผ่านทั้งเรื่องของการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ อละวัฒนธรรม ที่ดูจะเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการสร้างอำนาจนำอย่างเป็นระบบผ่านกลไกของวัฒนธรรมและชุดความเชื่ออย่างเรื่องของการสร้างวัด การดึงเอาคติไตรภูมิมาใช้ในการสร้างความชอบธรรม กระทั่งถึงการสร้างพลังทางวัฒนธรรมผ่านโคลงโลกนิติ คัมภีร์วุตโตทัย เรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ และการสร้างเครือข่ายความรู้กับการเสริมสร้างพระราชอำนาจนำผ่านความรู้ต่าง ๆ อาทิ การสร้างความเป็นไทยผ่านเรื่องของนางนพมาศ และอีกหลากหลายรูปแบบของกิจกรรมในการสร้างอำนาจนำในช่วงเวลาของพระนั่งเกล้าฯ
    .
    โดย "อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ: การเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำต้นรัตนโกสินทร์" ได้ระบุเป้าประสงค์ของสิ่งที่หนังสือต้องการนำเสนอเอาไว้อย่างชัดเจน ดังที่ปรากฏอยู่ในความตอนหนึ่งของหนังสือที่ว่า "ดังนั้น จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้จึงเป็นการศึกษาการเมืองไทยในช่วงปลายพุทธะศตวรรษที่ 24 โดยมุ่งเน้นพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจของชนชั้นนำที่ส่งผลทำให้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงเผชิญกับปัญหาทางการเมือง แล้วทรงเลือกใช้พระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรม ในการแก้ไขปัญหาและธำรงไว้ซึ่งสถานภาพและพระราชอำนาจนำเหนือคนกลุ่มอื่นๆ อันนับว่าเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธี อีกทั้งยังต้องการแสดงให้เห็นว่าในสภาพการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงเผชิญกับปัญหาทางการเมืองนั้น ส่งเสริมสร้างพระราชอำนาจนำผ่านการเน้นบทบาทของพระมหากษัตริย์ที่ดีตามคติพุทธศาสนา คือ พระมหากษัตริย์ผู้มีฐานะเป็น 'สมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราช' … เพื่อแข่งบารมีกับ 'วชิรญาณภิกขุ' เจ้านายผู้มีสิทธิธรรมทางการเมืองมากกว่า และได้ทรงสั่งสมพระบารมีผ่านการดำเนินบทบาททางพระพุทธศาสนา" (น. 8-9)
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ: การเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำต้นรัตนโกสินทร์" แบ่งออกเป็นบทต่าง ๆ จำนวน 6 บท ที่สะท้อนบริบท ช่วงเวลา ตัวแสดงและกิจกรรมที่นำไปสู่การสร้างพระราชอำนาจนำของยุคสมัยพระนั่งเกล้าฯ โดยเนื้อหาทั้ง 6 บท แบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ
    .
    บทที่ 2 เศรษฐกิจและสังคมในช่วงต้นรัตนโกสินทร์
    .
    บทที่ 3 สถานภาพและพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
    .
    บทที่ 4 การเสริมสร้างพระราชอำนาจนำผ่านพระราชกรณียกิจทางวัฒนธรรม
    .
    บทที่ 5 ปฏิบัติการทางอุดมการณ์เพื่อการสร้างพระราชอำนาจนำ
    .
    บทที่ 6 สรุป
    .
    "อำนาจนำพระนั่งเกล้าฯ: การเมืองวัฒนธรรมของชนชั้นนำต้นรัตนโกสินทร์" บอกเราอยู่ในทีว่าในทุกการเปลี่ยนแปลง ย่อมมีการสร้างกลไกทางอำนาจขึ้นใหม่ บ้างผ่านกลุ่มอำนาจเก่าอย่างขุนนาง บ้างผ่านกลุ่มอำนาจใหม่อย่างแรงงานอพยพ และแน่นอนว่าการสร้าง "อำนาจนำ" ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงนั้นสำคัญยิ่ง รวมถึงวิธีการ ขั้นตอนของการสร้างอำนาจนำนั้นก็มีด้วยกันได้หลายรูปแบบ หากใช้คำนิยมของยุคสมัยก็อาจกล่าวได้ว่าการสร้างอำนาจนำ ใช้ได้ทั้ง Hard Power และ Soft Power

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in