Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
อีสานบ้านเฮา By วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
รีวิวเว้ย (1343) "...
ธรรมชาติแห่งบ้านนา ฝนตกมามีของกิน ฝนแล้งแห้งแผ่นดิน ห้วยบึงหนอง แห้งเหือดหาย มาเด้อมาเฮ็ดนา มาเด้อหล้าอย่าเดินอาย นับวันจะกลับกลาย บ่าวสาวไหลเข้าเมืองกรุง" -- อีสานบ้านเฮา พรเทพ เพชรอุบล (https://youtu.be/Rubkn4CE9SE) เป็นประหนึ่งภาพแทรของความเป็น "อีสาน" ที่ปรากฏในความรับรู้ของผู้คนในครั้งอดีตเมื่อหลายปีก่อน ภาพแทนที่ปรากฏในเพลง "อีสานบ้านเฮา" จึงเป็นภาพความทรงจำที่ใครหลาย ๆ คนมีต่อพื้นที่ภาคอีสาน ว่าเป็นภาคที่แห้งแล้งผู้คนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาง ทำให้ในช่วงเวลาหนึ่งแรงงานจากภาคอีสานต้องหลั่งไหลเข้ากรุงเทพฯ เพื่อแสวงหางาน รายได้และโอกาสที่มากกว่าการอยู่ในบ้านเกิดที่ต้องอาศัยฤดูกาลในการทำงานหารายได้เลี้ยงชีพ แต่ภาพจำของความเป็นอีสานในยุคอดีตเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไหร่กัน ? สำหรับตัวเราเองในปัจจุบัน (2566) อีสานอาจจะไม่สามารถใช้ภาพแทนจากเนื้อเพลง "อีสานบ้านเฮา" ได้อีกแล้ว
หนังสือ : อีสานบ้านเฮา
โดย : วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง
จำนวน : 245 หน้า
.
"
อีสานบ้านเฮา" หนังสือที่เกิดขึ้นจากการรวมเรื่องราวจากนิตยสารสารคดีที่ว่าด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับภาคอีสานจำนวน 5 เรื่องมารวมเข้าไว้ด้วยกัน โดยที่แต่ละเรื่องเกี่ยวกับอีสานที่ปรากฏอยู่ใน
"
อีสานบ้านเฮา" เป็นการช่วยฉายภาพของอีสานจากหลายหลายมุมมอง ทั้งเรื่องของวิถีชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ ความเชื่อและเรื่องเล่าเรื่องราวของผู้คนบนดินแดนที่ราบสูง
.
โดยที่เนื้อหาของ
"
อีสานบ้านเฮา" แบ่งออกเป็น 5 เรื่องราวเกีายวกับผู้คนในดินแดนที่ราบสูง ที่มีรูปแบบและวิถีชีวิตผู้ติดอยู่กับแม่น้ำมูล ทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับป่าบุ่งป่าทามกับวิถีชีวิตของผู้คน ข้าวหอมมะลิและคนในทุ่งกุลาร้องไห้ เกลือวัตถุดิบสำคัญของผู้คนในหลายมุมโลก กระทั่งเรื่องเล่าและเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตของตัวเองเข้าแลกเพื่อเลี้ยงชีพ และรวมไปถึงเรื่องราวเหนือธรรมชาติที่อิงแอบอยู่กับขนบความเชื่อของสังคมอย่างญาพ่อแห่งดงภูดินเทพแห่งสายน้ำเส้นสำคัญของคนในพื้นที่อีสานใต้ สำหรับเนื้อหาทั้ง 5 เรื่องของ
"
อีสานบ้านเฮา" แบ่งได้ดังนี้
.
(1) หลากชีวิตในทุ่งทาม
.
(2) หัวเราะและน้ำตา ในทุ่งกุลาร้องไห้
.
(3) เกลือ: ท้องทะเล ใต้ธรณี ถึงความเค็มในตัวคน
.
(4) รุ่งอรุณหรือสนธยา ของหมอยาและหมู่บ้านงูจงอาง
.
(5) หุบ ๆ บาน ๆ เรื่องเล่าขานของหมู่บ้านดอกไม้แดง
.
(6) ดงภูดิน เมืองหลวงแห่งเทพเทวาลุ่มน้ำมูน
.
สำหรับเราแล้วเมื่ออ่าน
"
อีสานบ้านเฮา" จบลง เนื้อความในเพลงอีสานบ้านเฮา ท่อนที่ร้องว่า "
ธรรมชาติแห่งบ้านนา ฝนตกมามีของกิน ฝนแล้งแห้งแผ่นดิน ห้วยบึงหนอง แห้งเหือดหาย มาเด้อมาเฮ็ดนา มาเด้อหล้าอย่าเดินอาย นับวันจะกลับกลาย บ่าวสาวไหลเข้าเมืองกรุง" อาจจะยังคงมีปรากฏอยู่บ้างในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เพราะด้วยการที่หนังสือตีพิมพ์ขึ้นเมื่อหลายปีก่อน (2555) หากแต่ในหลายบทของ
"
อีสานบ้านเฮา" ได้บอกเล่าเรื่องราวของอีสานในมุมที่วิถีชีวิตและฤดูกาลคือส่วนสำคัญของการเกื้อกูลกันของคนกับพื้นที่ หากแต่ในหลายหนการพัฒนาให้เป็นสมัยใหม่เสียอีกที่เป็นสิ่งที่บ่อนทำลายวิถีของผู้คน และลมหายใจของวิถีธรรมชาติ
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in