“ด้วยเหตุนี้ คุณจึงไม่ควรเชื่อทุกอย่างในหนังสือแนวพัฒนาตนเอง เพราะมันถูกเขียนขึ้นโดยคนที่มีความสุขอยู่แล้ว พวกเขาสาธยายเคล็ดลับต่างๆ ออกมาเต็มหน้ากระดาษ ทว่าแทบไม่มีประโยชน์อะไรกับประชากรโลกหลายพันล้านคนเลย แต่เนื่องจากคนที่ไม่มีความสุขไม่เคยเขียนหนังสือขึ้นมาบอกเล่าความล้มเหลวของตัวเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าจึงยังคงถูกซุกซ่อนเอาไว้ต่อไป”
ด้วยชื่อหนังสือและชื่อสำนักพิมพ์ มันอาจทำให้ผู้เห็นหนังสือเล่มนี้บนชั้นไขว้เขวพอประมาณ มองว่าเป็นหนังสือ How to ที่จะทำให้ผู้อ่านฉลาดขึ้น คิดได้เฉียบคมขึ้นเหมือนกับชื่อหนังสือคือก็ไม่ได้ผิดอะไรถ้าจะมอง ‘The Art of Thinking Clearly’ หรือ ‘52 วิธีคิดให้ได้อย่างเฉียบคม’ เขียนโดย Rolf Dobelli แปลโดยอรพิน ผลพนิชรัศมี จากสำนักพิมพ์ WE LEARN ว่าเป็นหนังสือ How to เพราะมันก็มองแบบนั้นได้จริงๆแต่สำหรับผม นี่เป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งในการตรวจสอบอคติของตนเองเมื่อต้องอยู่ในสังคมที่เต็มไปด้วยเรื่องราวต่างๆ มากมายที่มักหลอกล่อให้เราหลงเชื่อหนังสือเล่มนี้พูดถึงอะไร?มันพูดถึงความคิด ความเชื่อ และการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ของเราว่ามีข้อบกพร่องและจุดที่ควรระมัดระวังมากมาย มิเช่นนั้นเราจะตกหลุมพรางอคติของตนเองและทำให้ความคิดที่กลั่นกรองออกมาอาจไม่ดีดังที่คาดหวัง หรืออาจถูกหลอกจากข้อมูล แม้กระทั่งหลอกตัวเองคงไม่สามารถพูดถึงอคติหรือกับดักทางความคิดทั้ง 52 ข้อได้ ผมขอยกตัวอย่างบางข้อที่ผมชื่นชอบ เช่น...Swimmer’s body illusion หรือภาพลวงตาว่าด้วยรูปร่างของนักว่ายน้ำ มันเป็นอคติรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เราสับสนระหว่างปัจจัยในการคัดเลือกและผลลัพธ์ หมายความว่าอย่างไร คุณสามารถเห็นสิ่งนี้ดาษดื่นในโฆษณา โดยเฉพาะโฆษณาเครื่องสำอาง คุณเห็นดารา นางแบบ นายแบบ หน้าตาสะสวยหล่อเหลาหมดจด เล่าว่าเขาใช้โลชั่นอะไร ครีมยี่ห้อไหน เครื่องสำอางแบรนด์ใด ถึงทำให้เขาและเธอเจิดจรัสถึงเพียงนั้นSwimmer’s body illusion กำลังบอกว่า มันคือภาพลวงตา ไม่ใช่เพราะเครื่องสำอางหรอกที่ทำให้เธอและเขาสวยงามหล่อเหลา แต่เพราะเธอและเขาสวยงามหล่อเหลาอยู่แล้วต่างหากถึงถูกเลือกให้เป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาผมยังชอบการเสียดสีเจ็บแสบของผู้เขียนในบทนี้ที่ว่า“เวลาถามคนที่มีความสุขว่าเคล็ดลับของพวกเขาคืออะไร ผมมักจะได้ยินคำตอบทำนองว่า “เวลาเห็นน้ำในแก้ว คุณต้องรู้จักมองว่ามีน้ำตั้งครึ่งแก้ว ไม่ใช่แค่ครึ่งแก้ว” นั่นฟังดูเหมือนพวกเขาไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นคนที่มีความสุขมาตั้งแต่เกิดแล้วและมักจะมองทุกอย่างในแง่ดีเสมอ พวกเขาไม่รู้ว่าความร่าเริงสดใสเป็นลักษณะนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและจะคงอยู่ตลอดไป ภาพลวงตาที่ว่าด้วยรูปร่างของนักว่ายน้ำจึงถือเป็นการหลอกตัวเองรูปแบบหนึ่ง และเมื่อคนที่มองโลกในแง่ดีเหล่านี้เขียนหนังสือแนวพัฒนาตนเองออกมา ภาพลวงตาดังกล่าวก็ดูจะน่าเชื่อถือมากทีเดียว“ด้วยเหตุนี้ คุณจึงไม่ควรเชื่อทุกอย่างในหนังสือแนวพัฒนาตนเอง เพราะมันถูกเขียนขึ้นโดยคนที่มีความสุขอยู่แล้ว พวกเขาสาธยายเคล็ดลับต่างๆ ออกมาเต็มหน้ากระดาษ ทว่าแทบไม่มีประโยชน์อะไรกับประชากรโลกหลายพันล้านคนเลย แต่เนื่องจากคนที่ไม่มีความสุขไม่เคยเขียนหนังสือขึ้นมาบอกเล่าความล้มเหลวของตัวเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าจึงยังคงถูกซุกซ่อนเอาไว้ต่อไป”Survivorship bias หรืออคติจากการเห็นผู้อยู่รอด สิ่งนี้ก็เป็นภาพลวงตาขนาดใหญ่ภาพหนึ่งที่มีให้เห็นมากในปัจจุบัน ซึ่งด้านหนึ่งสื่อมวลชนก็เป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างภาพลวงตานี้เวลาที่คุณเห็นคนที่ประสบความสำเร็จด้านต่างๆ ไม่ว่าจะด้านการประกอบธุรกิจ นักร้อง นักเขียน การลงทุน ฯลฯ คุณต้องตระหนักไว้ตลอดเวลาว่าคนเหล่านั้นเป็นเพียงผู้รอดชีวิตจำนวนน้อยจากผู้เสียชีวิตจำนวนมากบนเส้นทางสู่ความสำเร็จ เรามีนักธุรกิจ มีสตาร์ทอัพ มีนักเขียน มีคนทำเพจ และอื่นๆ ที่ล้มหายตายจากมากกว่าคนที่ประสบความสำเร็จ เพียงแต่คนกลุ่มนี้ไม่มีโอกาสเขียนหนังสือหรือบอกเล่าตัวเองผ่านสื่อ ก็ใครล่ะจะอยากคุยกับคนที่ล้มเหลวหากการประสบความสำเร็จง่ายขนาดนั้นอย่างที่คนประสบความสำเร็จชอบให้สัมภาษณ์ อย่างที่หนังสือแนว How to มักการันตีกับคนอ่าน อย่างที่บรรดาโค้ชกล่อมผู้เข้าร่วมอบรม โลกเราคงไม่มีคนจนเป็นพันล้านแบบนี้ เราคงมีคนประสบความสำเร็จเกลื่อนเมืองจนการสัมภาษณ์คนกลุ่มนี้ไม่น่าสนใจอีกต่อไปเช่นเคย ผู้เขียนเสียดสีได้แสบสันต์“อคติจากการเห็นผู้อยู่รอดยังเป็นอันตรายอย่างมากในกรณีที่คุณเป็นหนึ่งใน “ผู้อยู่รอด” เสียเอง เพราะต่อให้ความสำเร็จของคุณจะเกิดจากความบังเอิญล้วนๆ คุณก็จะมองหาความคล้ายคลึงกันระหว่างตัวคุณกับผู้อยู่รอดคนอื่นแล้วสรุปว่ามันเป็น “ปัจจัยแห่งความสำเร็จ” อย่างไรก็ตาม หากคุณมีโอกาสได้ไปเยือนหลุมศพของบุคคลและบริษัทที่ล้มเหลว คุณจะพบว่าเจ้าของหลุมศพส่วนใหญ่ก็มีคุณลักษณะหลายอย่างที่ตรงกับปัจจัยแห่งความสำเร็จของคุณ”หนังสือ How to หรือแนวพัฒนาตนเองมักนำเสนอเป็นแพทเทิร์นเดียวกัน เริ่มต้นทำให้คุณฮึกเหิมที่จะทำอะไรสักอย่าง อ้างงานวิจัยและผลการศึกษาทางวิชาการจำนวนมาก ที่ขาดไม่ได้เลยคือตัวอย่างความสำเร็จของบุคคลในแวดวงต่างๆ เพื่อนำมาสนับสนุนแนวคิดของผู้เขียนในหนังสือ จริงๆ อันนี้ก็เป็นอคติแบบหนึ่งเหมือนกันเรียกว่า Confirmation bias หรือการหาข้อมูลต่างๆ เพื่อมายืนยันสมมติฐานของตน ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เรียกว่า อคติจากการเลือกรับข้อมูลมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เต็มไปด้วยอคติ การรู้ว่าเรามีอคติถือเป็นความรู้แบบหนึ่ง เพราะมันช่วยให้เราระมัดระวังในการคิดใคร่ครวญ ไม่คิดเข้าข้างตนเองจนเกินไป และไม่ด่วนสรุปอะไรง่ายๆ ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่รู้ว่าเรามีอคติ ก็เป็นไปได้มากที่เราจะหลอกตัวเองให้เชื่อสิ่งต่างๆ ที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราเชื่ออยู่แล้วบางครั้ง อคติก็ไม่ได้สร้างผลร้ายแรงมากนัก ทว่า บางครั้งมันก็ทำให้คนเราถึงขั้นฆ่าแกงกันได้ การตรวจสอบอคติตนเองอย่างสม่ำเสมอดังที่หนังสือเล่มนี้รวบรวมไว้อาจช่วยยับยั้งโศกนาฏกรรมที่ไม่จำเป็นได้https://web.facebook.com/NokPanejorn/posts/168509541247832?__tn__=K-Rhttps://wandering-bird.blogspot.com/2020/02/blog-post.html
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in