เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Sujira in Aksornsujira_lr
ปี 4 เทอม 1 สิ่งไหนก็ไม่เท่าเปลวไฟ (เดดไลน์)
  • ผู้เขียน(เดินเข้ามาในฉากอย่างลุกลี้ลุกลนก่อนตั้งสติเพื่อจะพูด)

             สวัสดีค่า ในที่สุดก็ได้กลับมาเขียนสักที แหงสิ ก็มันถึงเวลาแล้วนี่นา พอจบหนึ่งเทอมเราก็ต้องกลับมาเขียนสิ่งนี้ต่อเหมือนที่เราทำทุกเทอม (หัวเราะแห้ง)

             เทอมที่ผ่านมาเป็นเทอมที่หนักมากกกก ถึงเราจะพูดแบบนี้ทุกเทอมแต่เทอมนี้หนักจริง ๆ เพราะลงเรียนไป 7 วิชาแล้วแต่ละวิชาก็หนักพอควร เหมือนอยากทรมานตัวเองเล่น ๆ ตอนต้นเทอมก็ลงอะไรไม่นึกถึงตัวเองท้ายเทอมเลย แต่ก็ผ่านมาได้ซึ่งก็ดีแล้ว ผ่านมาให้ได้เถอะ 555555

    คราวนี้เราก็จะมาพูด หรือเรียกว่า บ่น ถึงแต่ละวิชาที่เรียนในเทอมนี้โดยเรียงตามลำดับในตารางเรียนและเอาวิชาเอกมาก่อนวิชาเสรี/เจนเอด-เจนแลงเช่นเคย

     

    .. เนื้อหาที่เราเขียนเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของเราและเขียนตามหลักสูตรปี 61 นะคะ ตอนนี้เปลี่ยนหลักสูตรแล้ว บางวิชาที่เราพูดถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา วิธีการสอน หรืออาจเปลี่ยนอาจารย์แล้วค่ะ

     

    1.World Drama Literature I (เลือกในเอก)

     

             เรียนเกี่ยวกับละครเชกสเปียร์ค่ะ ครูเลือกมาให้อ่าน 3 เรื่องคือ Hamlet (เรียนตั้งแต่เปิดเทอม-มิดเทอม เพราะเป็นเรื่องที่ยาวมาก มีอะไรให้พูดเยอะ555 Midsummer Night’s Dream แล้วก็ The Tempest (เรียนหลังมิดเทอมไปจนจบเทอม) 

             รูปแบบการเรียนการสอนคือครูจะให้เราไปอ่านบทละครมาก่อนแล้วลองลิสต์คำถามที่เราสงสัยหรือประเด็นที่น่าสนใจออกมาแล้วก็เอามาคุยกันในคาบค่ะ การเรียนการสอนชิลมาก บรรยากาศสบาย ๆ ฟีลนั่งคุยกันแต่คุยกันเรื่องบทละคร ถ้าใครชอบสายวรรณกรรมบทละคร (โดยเฉพาะงานเชกสเปียร์) น่าจะชอบ แต่ต้องยอมรับว่าคลาสจะดำเนินไปได้ด้วยการพูดคุยกัน เราต้องร่วมพูดคุยและแบ่งปันกับครูค่ะ วิชานี้ไม่ใช่วิชานั่งฟังแล้วจดแบบเลคเชอร์ เน้นพูดคุยแล้วอะไรน่าสนใจเราก็จด ๆ เก็บไว้มากกว่า 

             ครูที่สอน (ครูป้อม) มีความรู้และประสบการณ์เยอะมาก เราลองพูดเรื่องอะไรสักอย่างแล้วเขาก็จะร่วมพูดคุยกับเรา บางทีก็แชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่เราพูดถึง เช่นมีครั้งนึงพูดถึงโรงละคร The Globe กัน ครูก็เปิดหนังเชกสเปียร์ที่ฉากเป็นโรงแบบ The Globe ให้ดู แล้วก็เล่าว่าเคยไปดูละครในโรง The Globe ด้วย (น่าอิจฉา เราอยากไปบ้าง 55555) พูดถึงเทคนิคการเขียนบทของเชกสเปียร์หรือวิธีการแสดงใด ๆ  เช่นในยุคนั้นเขาเล่นละครกันตอนกลางวันและไม่ได้ทำฉากอลังการแบบที่พวกเราทำกันใน บทที่ตัวละครใช้พูดเลยต้องบรรยายสถานที่ เวลา บรรยากาศโดยรอบเพื่อให้คนดูเห็นภาพ และที่น่าสนใจคือภาพที่คนดูเห็นก็อาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ แต่ทุกคนในที่นั้นรู้ว่าฉากนี้คือเวลาค่ำ ฟ้ามืด มีแสงจันทร์ ประมาณนั้นค่ะ

             งานมิดเทอมคือให้จับกลุ่มแล้วทำอะไรก็ได้เกี่ยวกับบทละครเรื่อง Hamlet มีเงื่อนไขเดียวคือต้องเอามานำเสนอในห้องเรียนได้ค่ะ จะอ่านบทแล้วปรุงน้ำหอม จะเอาบทนี้มาปรับบริบท หรือทำอะไรก็ได้เลย อิสระมาก แต่ถ้าครูถามต้องบอกได้นะว่าทำไมถึงทำงานชิ้นนี้และงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Hamlet ยังไง พาร์ทไหน เทอมที่เราเรียนมีกลุ่มทำเค้กที่ inspired มาจากตัวละครแต่ละตัวใน Hamlet ด้วย แล้วก็มีอีกกลุ่มแต่งเพลง rap น่าสนใจมากกก คาบนำเสนอก็คือสนุกสุด ๆ ส่วนกลุ่มเราเลือกเขียนบทโดยเอา “To be or not to be”(หนึ่งใน soliloquy ดังของเรื่อง) มาปรับบริบทให้เป็นยุคปัจจุบันและตัวละครเป็นคนไทย (ถ้าให้เจาะจงไปอีกก็คือเด็กเอกละครปี 4) แล้วให้เพื่อนคนนึงในกลุ่มแสดงในห้องค่ะ

             ส่วนปลายภาคก็คล้ายกันเลย แต่เปลี่ยนบทละครเป็น Midsummer Night’s Dream หรือ The Tempest (หรือจะเลือกมาทำทั้งสองเรื่องก็ได้) เงื่อนไขคืองานนี้ต้องสามารถส่งผ่าน e-mail ได้ (ถ้าเป็นการแสดงก็ต้องอัดคลิปส่งเอาอะไรประมาณนี้) เราเลยทำงาน characters design ของเรื่อง Midsummer Night’s Dream ไปค่ะ ฟีลว่าถ้าเราต้องออกแบบตัวละครพวกนี้ให้ไปอยู่ในการ์ตูน/เกมที่เราเป็นคนสร้าง เราจะสร้างตัวละครพวกนี้ออกมาประมาณไหน

             โดยรวมวิชานี้เรียนชิล เรียนสนุก (สำหรับคนชอบเรียนบทละครแบบเรา) เปิดโอกาสและให้อิสระเราได้คิดและทำงานดีค่ะ เอนจอยมากในระดับนึง แต่ถ้าในคลาสไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยดิสคัสกันก็อาจจะเหงา ๆ ดูเนือย ๆ นิดนึง 

     

    2.Acting III (เลือกในเอก)

     

             การเรียนการสอนเหมือนกับ Acting II เลยค่ะ เน้นให้เราเรียนรู้จากการซ้อม ให้ reflectตัวเอง มาเล่นให้เพื่อนดู รับคอมเมนต์จากเพื่อนและครูไปพัฒนาต่อ ถ้าติดปัญหาอะไรก็มาแชร์กันได้

             คราวนี้เล่น 3 ซีนเหมือนเดิม ซีนแรกเป็น realistic ซีนที่สองเป็นบทที่ไม่ realistic(จะเป็น musical เป็น absurd หรืออะไรก็ได้) และซีนสุดท้ายคือบทที่ตัวละครไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา (เป็นสัตว์หรือเป็นมนุษย์ที่ไม่เหมือนมนุษย์ทั่วไป มีพลังพิเศษหรืออะไรก็ได้ จุดประสงค์คือครูอยากให้เราได้ explore การใช้ร่างกายของตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ค่ะ) ซีนนึงส่ง 4 ครั้ง คือส่ง read แบบตีความมาแล้ว ส่ง read แบบมี blocking นิด ๆ ส่ง blocking แล้วก็ส่งของจริงแบบที่ซ้อมมาดีแล้ว พัฒนามาแล้ว (เหมือนกับ Acting II) พอส่งครบทั้ง 3 ซีนก็ต้องเลือกซีนที่จะไปส่งในเทศกาลแหวกม่านอีกที

             สำหรับเรา เราชอบบรรยากาศการเรียนในคาบมาก อาจเพราะคนน้อยด้วยส่วนนึง ทุกคนเลยได้ช่วยให้ฟีดแบ็คและคำแนะนำเราเยอะมาก ทุกคนได้ออกความเห็น (เราจะพัฒนาได้ไหมนี่อีกเรื่องนึง 5555 แต่อย่างน้อยก็รู้มากขึ้นว่าเราต้องพัฒนาตรงไหน ในซีนนี้ที่เราเล่นยังต้องไปต่อยังไง) 

     

    3.Directing I (บังคับในเอก)

     

             วิชาที่เรื่องราวเยอะมากกกกกกก (กรี๊ด) คาบแรก ๆ ครูจะสอนหลักของการกำกับ สอนว่าการเป็นผู้กำกับต้องทำอะไรบ้าง ต้องวิเคราะห์ซีน แบ่งบีท หา adjustment ของตัวละครเพื่อเอาไปกำกับนักแสดง (เช่น พูดประโยคนี้อย่างไร อย่างโมโห อย่างเสียใจ อย่างผิดหวัง เป็นต้น) มีเรื่องการดีไซน์ฉาก คอสตูม แสง เสียง อันนี้จะทำตอนส่งซีนที่สอง โดยให้คนในคลาสโรลเพลย์เป็นดีไซเนอร์ฝ่ายต่าง ๆ หน้าที่ของเราก็คือทำ director’s concept ไปเล่าให้เพื่อนฟัง เราอยากพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ อยากเน้นอะไร ความรู้สึกในฉากที่เราจะกำกับคืออะไร message ของเรื่องคืออะไร เรื่องนี้เซ็ตติ้งคือที่ไหน ยุคไหน ตัวละครนิสัยยังไง ประมาณนี้ค่ะ พอเพื่อน ๆ แต่ละฝ่ายได้บรีฟจากเราแล้วก็จะไปออกแบบฉาก คอสตูม แสง เสียง มาให้ เป็นการโรลเพลย์ให้รู้ระบบการทำงานของการเป็นผู้กำกับตอนคุยกับดีไซเนอร์ แต่ว่าพวกเราทำกับจริงจังมาก เหมือนจะเอาทั้งเรื่องเล่นในโรงใหญ่ (ทั้งที่ความจริงคือซีน 15นาที ส่งในโรงสดใสที่เป็น black box) แต่สนุกมากกก ชอบตอนเพื่อน ๆ ช่วยเราเลือกเพลง เลือกฉาก เลือกชุดให้ตัวละคร แล้วก็ชอบดูว่าเพื่อนจะออกแบบฉากอะไรมา 5555

             งานของวิชานี้ให้กำกับซีน 2 ซีน ค่ะ เป็น comedy 1 เรื่อง drama 1 เรื่อง เอาเรื่องไหนมาทำก่อนก็ได้ เลือกซีนที่มีตัวละคร 2 ตัว ซีนยาว 7 นาทีโดยประมาณ แบ่งส่ง 4 ครั้งต่อ 1 ซีน สิ่งทีเราต้องทำคือไปเลือกเรื่อง วิเคราะห์บท หา  message, theme, conflict ในเรื่อง แล้วก็หา objective ตัวละคร หามาละเอียด ๆ ทำรีเสิร์ชต่าง ๆ แบ่งบีท หา adjustment และหานักแสดงค่ะ 5555 (ต้องไปเลือกคนมาเล่นให้ ตอนนี้แหละที่รู้สึกว่ารู้จักคนเยอะ ๆ ไว้ก็ดีเนอะ) พอได้นักแสดงมาก็ต้องมาคุย มาซ้อมกับนักแสดง แล้วส่งครั้งแรกคือส่งแบบ read ก็คือคุย ตีความ และซ้อมกับนักแสดงมาให้พร้อมแล้วให้นักแสดงมาอ่าน แล้วก็ส่งครั้งที่สอง (อ่านบทเหมือนกันแต่เดิน blocking คร่าว ๆ) ครั้งที่สาม (วางบท+มี blocking แล้ว) และครั้งที่สี่ (ส่งจริง ชุดจริง block จริง) ทุกครั้งที่ส่งจะมีครูและเพื่อน ๆ ดูเสมอ พอส่งเสร็จก็รับคอมเมนต์และคุยกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง ไปซ้อมนักแสดงมายังไง ติดปัญหาอะไร เผื่อเพื่อน ๆ จะช่วยแนะนำได้แล้วก็เอาไปพัฒนาต่อก่อนที่จะส่งครั้งต่อ ๆ ไปค่ะ

    (**สิ่งนึงที่เราคิดว่าสำคัญมากคือการเลือกนักแสดงที่เหมาะกับบทของเรา อีกอย่างคือประสบการณ์ของนักแสดงก็สำคัญ ถ้าเป็นนักแสดงที่มีประสบการณ์มาแล้วเราจะไม่ต้องมาเริ่มปูพื้นฐานใหม่ให้เขามากแต่อาจจะต้องไปเวิร์กกับเรื่องอื่น ส่วนนักแสดงใหม่บางทีเราอาจจะต้องมาปูพื้นให้เขาก่อน แต่ก็อาจจะทำงานส่วนอื่นง่ายกว่า แบบว่ามันมีหลายปัจจัยและหลายสิ่งมาก ๆ ข้อที่ทำให้เราสบายขึ้นกับข้อที่ทำให้เราต้องเวิร์กเพิ่มก็ต่างกันไป แต่เราไม่ซีเรียสเรื่องนี้อยู่แล้วเพราะแค่หาคนที่มีเวลาว่างมาส่งและมาซ้อมให้ได้ก็ปาฏิหาริย์แล้ว ฮือ)

             ซีนแรกจบ ซีนที่สองก็ทำแบบเดียวกันเลย แต่ที่เพิ่มมาคือวิชานี้จะเปิดให้คนมาออดิชั่นด้วย เราสามารถเลือกนักแสดงจากกลุ่มที่มาออดิชั่นได้ หรือจะไปจิ้มเลือกมาแบบซีนแรกก็ได้ถ้าคนที่มาออดิชั่นไม่ถูกใจเรา พอได้นักแสดงมาก็ทำแบบเดิมค่ะ แล้วพอท้ายเทอมก็ต้องส่งซีนเข้าไปเล่นในเทศกาลแหวกม่าน (อีกแล้ว เทศกาลที่เรารัก 55555) แต่ซีนในแหวกม่านต้องมีความยาว 15 นาทีโดยประมาณ เพราะงั้นก็ต้องไปยืดซีนมาเพื่อที่จะส่ง (เพราะที่ส่งในห้องมัน 7 นาทีนี่เนอะ) พอจบซีนนึงก็เขียน reflect สิ่งที่เรียนรู้จากการทำงานส่งค่ะ ก็จะมีเขียนท้ายซีน 1  ท้ายซีน 2 แล้วก็หลังส่งแหวกม่าน รวมเป็น 3 ชิ้น

             สิ่งที่เหนื่อยที่สุดในวิชานี้คือการนัดซ้อม 555555 ตอนทำรีเสิร์ชสนุกมากเลยนะ พอหานักแสดงได้ก็ให้นักแสดงไปอ่านบททั้งเรื่องมา มานั่งคุยกัน ตีความด้วยกัน ลองซ้อม ๆ กันดู สนุกมาก แต่ที่ทรมานคือการหาคิวนักแสดงและต้องซ้อมเพื่อนัดซ้อม บางวันนักแสดงสองคนได้ไม่ตรงกัน บางวันเราว่างไม่ตรงนักแสดง บางวันนักแสดงและเราว่างตรงกันแต่ไม่มีที่ซ้อมเพราะห้องซ้อมที่ภาควิชาเต็ม 555555

             สำหรับเรา เราเอ็นจอยกับวิชานี้นะ คือตอนซ้อม ตอนนั่งคุยกับนักแสดงมันสนุกมาก แต่พอตอนหาห้องซ้อม ตอนวางแผนว่าจะทำอะไรบ้างตอนซ้อม ต้องแก้อะไรบ้าง ต้องพัฒนาอะไรบ้างและจะทำยังไงให้นักแสดงสามารถเล่นในแบบที่เราต้องการได้ ทำยังไงให้จุดที่นักแสดงยังเล่นออกมาไม่ชัดสามารถชัดขึ้นได้นี่มันเครียดมาก 55555 ด้วยความที่เราไม่ได้คิดจะมาสายกำกับแต่ภาควิชาบังคับเรียนในหลักสูตรเราก็เลยไม่กดดันตัวเองมากว่ามันจะต้องออกมาดีเลิศตามที่หวังแต่สุดท้ายก็เครียดอยู่ดีเพราะเราค้นพบว่าเราเป็นคนที่ทำรีเสิร์ชได้ ตีความได้ คุยกับนักแสดงได้ว่าภาพนหัวคืออะไร อยากสื่ออะไร ตัวละครรู้สึกยังไง แต่เราไม่สามารถโค้ชนักแสดงได้เลย ไม่สามารถทำให้นักแสดงสื่อสารสิ่งที่อยู่ในหัวเราออกมาได้ สมมติตัวละครของเราเป็นตัวละครที่เก็บทุกอย่างไว้ในใจแต่วันนี้คือวันที่เขาจะไม่ทนอีกต่อไป เขาระเบิดมันออกมา เราไม่สามารถทำให้นักแสดงสื่อสารความอัดอั้นตันใจออกมาได้ ไม่รู้จะ lead นักแสดงยังไง แต่นักแสดงเข้าใจว่าเราเห็นภาพตัวละครแบบไหนและเขาเห็นแบบเดียวกับเรา เราชอบพูดบ่อย ๆ ว่า เราเอาเครื่องมือที่นักแสดงมีออกมาใช้ไม่ได้เลย แบบว่านักแสดงเรามี potential นะ แต่เราใช้สิ่งที่เขามีไม่เป็น เราก็กลัวว่านักแสดงจะรู้สึกเสียเวลาไหมที่มีผู้กำกับที่ไม่ professional แบบเรา กลัวเขาเสียเวลาและเสียใจที่รับมาเล่นเรื่องนี้ให้เรา 55555 แต่ว่าการทำงานทั้งสองซีนกับนักแสดง 4 คนนี่ทำให้เราเรียนรู้อะไรเยอะมากเลยนะ แล้วเราก็ดีใจมากที่เราเป็นผู้กำกับที่นักแสดงไว้ใจ กล้าพูดกับเรา บรรยากาศการทำงานhealthy พวกเราทุกคนสนุกกับการทำงาน ผลลัพธ์เป็นอีกเรื่องนึง ขอแค่ระหว่างทางพวกเราทุกคนมีความสุขก็ดีใจแล้ว ฮือ ๆๆๆ ขอบคุณคุณนักแสดงทุกคนมาก ๆ เลย ขอบคุณครูและเพื่อน ๆ ที่ให้คำแนะนำด้วย ถ้าไม่มีทุกคนก็คงผ่านสิ่งนี้ไปได้ยากกว่าที่คิด

     

    ((มีช่วงนึงเราเดินเข้าไปในโรงละครแล้วกรีดร้องบ่อยมาก แบบว่า เครียดดดด แล้วเพื่อนก็ตอบกลับมา เครียดเหมือนกัน 5555 บางวันจะต้องส่งซีนแล้วก็หันหน้ามองเพื่อนแบบว่าไม่มีเวลานัดนักแสดงซ้อมเลย วันนี้ไม่มีอะไรให้ดูมากนะ” บางวันก็เบรกดาวน์ใส่กัน ชีวิตแบบใด))

     

    4.Theatre for Young Audience (เลือกในเอก)

     

             วิชาการละเครเยาวชนที่นาน ๆ จะเปิด!!! ในที่สุด!!! วิชานี้เราจะได้เรียนเกี่ยวกับละครสำหรับเด็กและเยาวชนค่ะ คาบแรก ๆ เป็นเลคเชอร์ เรียนว่าละครเด็กและเยาวชนคืออะไร มีประเภทไหนบ้าง แต่ละประเภทต่างกันยังไง และสิ่งที่อยากจะพูดเป็นสิ่งแรกคือ ละครเด็กและเยาวชนไม่ได้แปลว่าต้องเป็นละครน่ารัก สดใส เนื้อหาย่อยง่ายค่ะ!!” (แต่ว่ามันมีการแบ่งอยู่นะว่าเด็กวัยไหนเหมาะกับละครที่สื่อสารประเด็นไหน ต้องนำเสนอยังไงให้เหมาะกับช่วงวัยของเขา) 

             คาบต่อ ๆ มาคือคาบที่เรียกว่าเรียนรู้ผ่านการเล่น ครูจะไปเชิญครูข้างนอกที่มีประสบการณ์การทำละครเด็กมาสอนค่ะ ทั้งสอนการเล่าเรื่อง สอนเกี่ยวกับการเอาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมาเป็นอุปกรณ์ทำละครให้เด็ก ๆ สอนการเล่นกับแสงและเงาแล้วเอามาทำเป็นละคร ก็คือให้เครื่องมือพวกเรามาแล้วตอนท้ายเทอมให้พวกเราแบ่งกลุ่มแล้วคิดการแสดงให้เด็ก ๆ โดยจะมีเด็กมาดูจริง ๆ !! อันดับแรกคือต้องคิดว่าจะทำละครเกี่ยวกับอะไร พูดประเด็นไหน คิดว่ากลุ่มผู้ชมอายุประมาณเท่าไหร่ จะเล่นออกมายังไง ใช้เงาไหม หรือใช้หุ่น หรือเป็นพวกเราที่ไปเล่นให้เด็กดูตัวเป็น ๆ เลย คิดว่าเรื่องของเราจะดึงดูดเด็กตรงไหนได้บ้าง ตรงนี้สื่อสารชัดพอหรือยัง ตรงนี้จะทำเด็กสับสนไหม เด็กเป็นผู้ชมที่มีจิตนาการสูง ช่างสงสัย และถ้าเขาเชื่ออะไรแล้วเขาจะเชื่อสุดใจค่ะ (สมมติถ้าเราเอาเชือกมาเส้นนึงแล้วบอกว่านี่คือไส้เดือน เด็ก ๆ จะจำว่าในละครเรื่องนี้เจ้าเชือกเส้นนี้คือไส้เดือน แล้วต่อมาเราบอกว่าเชือกเส้นนี้เป็นงู เขาจะสงสัยแล้วว่าทำไม ก็ในเมื่อเราบอกเขาว่านี่คือไส้เดือนนี่ ทำไมเปลี่ยนเป็นงูแล้วล่ะ?) สิ่งต่อมาที่อยากพูดคือ ทำละครเด็กไม่ได้ง่าย!! มีอะไรให้คิดเยอะมากไม่แพ้ละครที่ทำให้ผู้ใหญ่ดูเลยพอเป็นแบบนี้ก็มาคิดว่า เราจะทำละครแบบไหนให้เด็ก ๆ ของเราดูนะ เราอยากสื่อสารอะไรกับเขาและเราสื่อสารออกมาด้วยวิธีไหน เป็นอะไรที่ละเอียดมากจริง ๆ ไม่ได้บอกว่าการทำละครเด็กยากมากกว่าหรือน้อยกว่าละครผู้ใหญ่เพราะมันก็มีความยากง่ายแตกต่างกันไป แต่สำหรับเรา เราว่าละครเด็กจะต้องคิดเยอะในแง่สารที่จะสื่อ วิธีที่จะสื่อสาร และรูปแบบการนำเสนอค่ะ เหมือนเราต้องเปิดพื้นที่ให้เด็กไปพร้อม ๆ กับกำหนดกฎอะไรบางอย่างในเรื่องที่เรานำเสนอไปด้วย เราอยากพูดอะไร อยากให้เด็ก ๆ รู้สึกยังไง แอบคิดว่ามันมีรายละเอียดที่จะต้องใส่ใจเยอะนิดนึง ไม่ใช่ในแง่ของการทำให้ละครเป็นที่ตราตึงใจ ละครนี้มันสุดยอดไปเลย พล็อตล้ำมาก แต่เป็น ละครนี้สนุกจังเลย ชอบตัวละครนี้จัง (หรืออะไรคล้าย ๆ แบบนั้น) สิ่งที่สำคัญคือความสนุกของเด็ก ๆ และความจริงใจของเราที่มีต่อพวกเขา 

             พอคิดเรื่องที่อยากเล่น วิธีการที่อยากเล่ามาก็ซ้อมค่ะ ซ้อม ๆๆๆ แล้วส่งให้ครูดู ครูจะคอมเมนต์และช่วยพัฒนางานการไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะมีวันส่งงานคือจะมีเด็ก ๆ มาดูจริง ๆ เลย เราต้องจัดโชว์ให้เด็ก ๆ เอาเรื่องราวของพวกเราแต่ละกลุ่มมาร้อยเข้าด้วยกันให้มันสมูท ให้เด็ก ๆ เหมือนได้ออกเดินทางไปพร้อมกับพวกเราแม้ว่าพวกเราแต่ละกลุ่มจะเล่นละครคนละเรื่องก็ตาม และอีกสิ่งที่อยากพูดตรงนี้คือ เด็กเป็นผู้ชมที่โหดมากค่ะ พวกเขาพลังงานเยอะมากและมีอะไรมาเซอร์ไพร์สเราได้เสมอ บางอย่างพวกเราคิดมาแล้วว่าจะทำแบบนี้ ๆ แต่พอถึงหน้างานเด็ก ๆ รีแอคกับสิ่งที่เราทำอีกแบบซะงั้น 55555 ไม่ใช่เรื่องไม่ดีนะ เรียกว่าเป็นอะไรที่ทำให้รู้สึกอัศจรรย์ใจมากกว่า เป็นผู้ชมที่ทั้งคาดเดาได้และไม่ได้ไปพร้อม ๆ กัน เดาได้ว่าเด็ก ๆ จะชอบอะไร จะมองสิ่งนี้ว่ายังไง แต่คาดเดาไม่ได้ตรงที่บางทีก็ไม่คิดว่าเด็ก ๆ จะทำสิ่งนั้นกลับมา อย่างการแสดงเรื่องนึงของกลุ่มเพื่อนต้องเข้าไปในห้องมืด เราพูดว่า เรากลัวความมืดนะ แล้วเด็กน้อยคนนึงก็หันมาจับมือเราแล้วพาเราเดินเข้าไปในห้องนั้น (awwww ไม่คิดว่าเขาจะทำแบบนั้น ช่างเป็นเด็กที่จิตใจดีจริง ๆ เลย) 

             เป็นวิชาที่สนุกไปอีกแบบค่ะ เหนื่อยตอนซ้อมนิดนึง ความจริงตอนเล่นให้เด็ก ๆ ดูก็เหนื่อยเพราะพลังเราตกไม่ได้เลย เดี๋ยวเอาสมาธิเด็ก ๆ ไม่อยู่ แต่ก็เป็นความเหนื่อยที่มีความสุขนะ 555555 ตอนทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ก็คือสุดมาก ออกแรงเยอะมาก กลับบ้านมาหมดแรงเลย

             สิ่งนึงที่เราได้เรียนรู้จากตอนทำงานกับเด็กคือการเลี้ยงเด็กคนนึงนี่ไม่ง่ายเลย (แล้วนี่เราและเพื่อน ๆ อยู่กับเด็ก 14 คน 55555 ไม่มีอะไรง่ายทั้งนั้น) ยิ่งเป็นเด็กเล็กเราต้องยิ่งใส่ใจเขามาก ความจริงก็เด็กทุกวัยแหละ เพราะมนุษย์เราต้องการใครสักคนที่จะใส่ใจหรือรับฟังอยู่แล้ว แต่พอเป็นเด็กเล็กเรารู้สึกว่านี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก พอเขาพลังงานเยอะและอยู่ในวัยกำลังช่างสงสัย กำลังเรียนรู้สิ่งรอบตัว เขาต้องการความสนใจจากเรามาก ๆ (ไม่ใช่ในแง่ลบนะทุกคน) สมมติเรามี 100 เขาจะต้องการ 150 เลย ก็คือคนที่ดูแลเด็กควรจะอยู่กับเด็กตลอดเวลา ให้เวลากับเขามาก ๆ คอยสังเกตและคอยช่วยเหลือเขายามต้องการ ที่สำคัญคือคนที่จะอยู่กับเด็กต้องใจเย็นและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์มาก ๆ เลย บางทีเด็ก ๆ ก็ไม่ได้คิดอะไรเหมือนที่ผู้ใหญ่เราเข้าใจ โลกของเด็ก ๆ ดู simple กว่าเรามากแต่ก็ delicate มากกว่าในหลาย ๆ แง่ บางทีเขาอาจจะไม่ได้ทำอะไรถูกใจผู้ใหญ่ไปหมดทุกอย่าง สิ่งที่ผู้ใหญ่ที่อยู่กับเด็กไม่ควรทำเลยคือการดุ ตวาด หรือแสดงท่าทีไม่พอใจ (ในความเห็นเรานะ) เพราะบางทีเด็กเขาไม่รู้จริง ๆ ยิ่งถ้าสมมติผู้ใหญ่ไปเจออะไรกวนใจมาแล้วเก็บอารมณ์ไม่อยู่ พอมาเจอเด็กแล้วเผลอทำร้ายจิตใจเด็กนี่แย่เลย หรือในบางทีถ้าเด็ก ๆ ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่แต่ไม่มีใครที่เห็น สังเกต ได้ยิน หรือรับฟังเขา แบบนั้นก็เป็นปมให้เขาได้เลยนะ การสอนให้เด็กเรียนรู้ความผิดหวังเป็นเรื่องดี แต่มันก็เป็นกรณีกับการเมินเฉยต่อเขาและทำเหมือนเขาไม่สำคัญอะ (พอทำงานกับเด็กแล้วก็เหมือนมาพบปมในใจว่าตอนเด็ก ๆ เราเจออะไรบ้างทำให้เรากลายเป็นคนแบบนี้ แล้วก็อวยพรเด็ก ๆ ทุกคนเติบโตอย่างดี มีความสุข ได้รับการรับฟัง T T แบบ มีคนที่จะ heard and seen พวกเขายามที่พวกเขาต้องการ) สรุปอีกทีก็คือ การเลี้ยงเด็กคนนึงไม่ง่ายเลยทุกคน และการทำให้เขาเติบโตมาอย่างดี รักและภูมิใจในตัวเอง เคารพตัวเองและผู้อื่นไปพร้อม ๆ กันนั้นยิ่งไม่ง่ายเข้าไปใหญ่ ฮือออ ได้แต่ขอให้เด็ก ๆ ทุกคนมีความสุข เติบโตมาอย่างดี ได้เล่น ได้เรียนรู้โลกอย่างสมวัยนะ 

     

    5.Aesthetics (เสรี)

     

             วิชาภาคปรัชญาที่เราหาทำไปลงเรียนค่ะ 555555 วิชาว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ เป็นวิชาที่เน้นดิสคัสค่ะ แต่ละสัปดาห์ก็จะมีหัวข้อใหญ่ต่างกัน อาจารย์จะให้เราไปอ่านเปเปอร์มาก่อนแล้วมานั่งดิสคัสกัน แต่ถ้าไม่ได้อ่านมาก็ไม่เป็นไรเพราะต้นคาบอาจารย์ก็จะ recap ให้เราผ่านเลคเชอร์ พอเลคเชอร์เสร็ตก็ค่อยมานั่งดิสคัสกันค่ะ (แต่ถ้าเป็นไปได้ อ่านเถอะทุกคน) หัวข้อแต่ละวีคเช่น ศิลปะคืออะไร งานศิลปะที่ปลอมขึ้นมามีคุณค่าทางสุนทรียะไหม แต่มันสวยนะ แล้วงานบางงานที่ปลอมขึ้นมาก็เหมือนงานต้นฉบับมากเลย เราจะบอกว่ามันไม่มีคุณค่าทางสุนทรียะเพียงเพราะมันไม่ใช่ ของจริง เหรอ ศิลปะควรสอนคนได้ไหม (เช่นในงานวรรณกรรม)” “อาหารเป็นศิลปะไหม” “ถ้าศิลปินทำตัวไม่ดีแต่งานเขาดีมาก เราควรสนับสนุนเขาต่อไปไหม” “เราสามารถมีอารมณ์ ความรู้สึกต่อตัวละครในเรื่องแต่งได้ไหมทั้ง ๆ ที่เรารู้ว่าตัวละครนั้นไม่มีจริงนะ” (เราชอบหัวข้อนี้มากก) เราควรตีความงานศิลปะโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้สร้างไหม หรือเราไม่ต้องเอาเจตนาผู้สร้างมาเกี่ยว ตีความตามใจได้เลยประมาณนี้ค่ะ (มีมากกว่านี้อีก แต่อุบไว้5555

             มิดเทอมเป็น take home ค่ะ อาจารย์ให้หัวข้อมาแล้วให้เราเขียนตอบโดยอ้างอิงกับสิ่งที่เรียนในคลาสและสิ่งที่อ่านในเปเปอร์ (เป็นเหตุผลที่เราควรอ่านไว้ก่อน เพราะเราต้องเอาไปใช้ในการอธิบายเหตุผลในข้อสอบ ถ้ามาตะบี้ตะบันเร่งอ่านก่อนทำข้อสอบมันจะเหนื่อย อย่างน้อยอ่านผ่าน ๆ ก่อนเข้าคลาสก็ยังดี แต่ถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็อาจจะต้องมาเร่งอ่านหน่อย แบบเราเป็นต้น 555555) ส่วนปลายภาคอาจารย์ให้เราคิดหัวข้อที่สนใจโดยอิงจากหัวข้อที่เรียนในคาบ+ต้องเชื่อมโยงกับเปเปอร์สักเปเปอร์นึงที่เราอ่านในคลาสค่ะ อย่างเราสนใจหัวข้อเรื่องการตีความงานศิลปะ เราก็เสนอหัวข้ออาจารย์ไปว่าอยากทำเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเอามาโยงกับเปเปอร์นี้ พอหัวข้อผ่านแล้วก็ไปอ่านเปเปอร์เพื่อมาเชื่อมโยงกับเรื่องที่เราจะทำ ความยาว 7-10 หน้า เราก็ห่างหายจากการทำเปเปอร์ปรัชญาไปนานมาก ทุกวันนี้อยู่ในเอกละครเขียนเปเปอร์คนละแบบกับเอกปรัชญา ฮือ 5555 ตอนเขียนสนุกนะ แต่ตอนรวมไอเดียและพยายามเรียบเรียงนี่ไม่สนุกเลย แต่ก็ผ่านมาแล้ว เย่ (ตอนพิมพ์อยู่เกรดยังไม่ออก ไม่รู้ถ้าออกแล้วจะยังร้อง เย่ ได้ไหม)

             เป็นวิชาที่เราชอบมากกกก ดีใจที่ได้เรียน เราตั้งตารอวันพฤหัสเพื่อวิชานี้เลย อันนี้ความเห็นส่วนตัว พอเราเป็นนักเรียนการละครประกอบกับเป็นนัก (ฝึก) วาด และนัก (อยาก) เขียน มันทำให้เรามีมุมมองต่อศิลปะและการสร้างงานของมนุษย์ในระดับนึง แล้วพอเห็นนักปรัชญาเถียงอะไรกันเราก็จะหาจุดยืนของเรา (บางทีก็สนับสนุนฝั่งนึง บางทีก็ไม่ได้สนับสนุนทั้งหมด แต่มีฝั่งที่เห็นด้วยมากกว่า) พร้อมเอาประสบการณ์และสิ่งที่เราเรียนมามาช่วยซัพพอร์ตจุดยืนของเราได้ แบบว่า พวกคุณเถียงอะไรกันเนี่ย” “นี่คุณคิดแบบนั้นเหรอ แต่ในฐานะที่เราทำงานสายนี้มา เรามองว่าแบบนี้ ๆ ดังนั้นเราไม่เห็นด้วยกับความคิดของคุณที่ว่า บลา ๆๆๆ ดูสวยขึ้นมาหนึ่งระดับ แต่เกรดสวยไหมไม่รู้ รอลุ้นเอาค่ะ 55555

     

    6.Landscape Appreciation (เจนเอด) 

     

             วิชาเกี่ยวกับภูมิสถาปัตยกรรมค่ะ การออกแบบสวน การทำให้ธรรมชาติอยู่กับสถาปัตยกรรมได้ การทำให้มีพื้นที่สีเขียวในเมืองและทำให้เมืองน่าอยู่+ส่งผลดีกับคนในสังคมนั้น มีเรื่องการจัดการดูแลสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เรื่องระบบการจัดการน้ำด้วย 

             เทอมที่เราเรียนเน้นเรียนคลิปแล้วตอบคำถามใน Microsoft team ค่ะ บางวันก็ไปเรียนที่ห้อง มีไปออกทริปกันครั้งนึงปลายเทอม บางทีก็มีให้ทำคลิปวิดีโอพรีเซนต์งาน ส่วนไฟนอลให้ถ่ายรูปพื้นที่ในกรุงเทพฯ หรือแถวบ้านที่เราอาศัยแล้วเขียนว่าจะปรับปรุงพื้นที่นี้ได้อย่างไรบ้างโดยใช้ความรู้ตลอดทั้งเทอมที่เรียนมาค่ะ

             โดยรวมเป็นวิชาที่ชิล ได้ความรู้เยอะ อาจารย์แต่ละคนดูมี passion กับภูมิสถาปัตมาก พอฟังอาจารย์พูดไปแล้วก็คาดหวังให้กรุงเทพเป็นเมืองสีเขียวที่มีคุณภาพ แต่ก็แอบรู้สึกว่ายากจัง คาดหวังได้ไหมนะ 55555

     

             เป็นเทอมที่สุดมากจริง ๆ เทอมก่อนคิดว่าคงไม่มีอะไรหนักกว่านี้แล้วแหละ จะไม่ลงเรียนหนัก ๆ แล้ว แต่พอเปิดเทอมมาก็ 5555555 ความจริงนอกจาก 6 วิชานี้แล้วเราทำละครภาคด้วยค่ะ ก็คือจะมีช่วงนึงที่ตึงมาก แอค 3 ก็ต้องซ้อม ไดเรก 1 ก็ต้องซ้อม ละครภาคก็ต้องทำ ละครเด็กก็ต้องเตรียมตัว เยอะไปหมด เบรกดาวน์ไปเยอะเหมือนกัน เป็นเทอมที่หนักที่สุดในชีวิตการเรียนแล้วมั้งเนี่ย 555555 ตอนนั้นก็รู้นะว่าจะผ่านไปได้ but HOW !!! ฮือ 5555555 ก็ตอนที่มันยังไม่ผ่านไป ตอนที่งานใด ๆ ยังไม่จบ ตอนที่เราต้องทำทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ตอนที่มีความรับผิดชอบเยอะไปหมดแบบนี้มันเหนื่อยเหลือเกินนี่ ;-; เลยเสียน้ำตาไปเยอะมาก แต่ก็เหมือนเดิมค่ะ ขอบคุณทุกคนรอบตัวที่ทำให้ผ่านมาได้ ขอบคุณที่ทำให้เทอมนี้ที่แสนหนักไม่แย่ไปมากกว่านี้ ดีใจจัง 

             แล้วก็!! เราไปซิทอินวิชา Shakespeare ของภาคอังกฤษกับวิชา Hist West Art มาด้วยค่ะ 55555 คงไม่ได้รีวิวเยอะแต่มาเล่าเก็บไว้เฉย ๆ ว่าไปลงมา เท่ากับว่าเทอมนี้เราได้เรียน 8วิชา (ถ้ารวมวิชาที่ต้องทำโปรดักชั่นด้วยก็จะเป็น อื้ม หาทำดีนะ)

             ตอนที่เราเขียนอยู่ก็คือใกล้คริสต์มาสแล้ว เราเพิ่งส่งงานวิชาสุดท้ายไปเมื่อวาน 55555 กว่าจะส่งงานครบ กว่างานทุกอย่างจะเสร็จ กว่าจะได้ปิดเทอมนี่ช่างแสนสาหัส แล้วอีกไม่กี่วันก็เปิดเทอมอีกแล้วเนี่ยยย เทอมหน้าสัญญาว่าจะทำให้ชีวิตง่ายกว่านี้ จริง ๆ นะ!!!(เหรอ เชื่อได้เหรอ) 


    สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปตรงนี้ค่ะ ขอบคุณที่ตามอ่านมาจนจบ แล้วพบกันเทอมหน้าค่ะ!

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in