เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
“บทสนทนาหลากมุมต่างมอง รัฐธรรมนูญ 2560”Chaitawat Marc Seephongsai
บทบรรณาธิการ
  •           ก่อนที่ทุกท่านจะได้เริ่มอ่าน“บทสนทนาหลากมุมต่างมอง รัฐธรรมนูญ 2560 คำถามแรกที่เราต้องตอบคือ “รัฐธรรมนูญ” คืออะไรหมายถึงอะไร หากเรามองในความหมายทางกฎหมาย “รัฐธรรมนูญ” หมายถึงกฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันรัฐธรรมนูญตามความหมายในทางกฎหมายนี้ ย่อมจะกล่าวถึงเจ้าของอำนาจสูงสุดผู้ใช้อำนาจสูงสุด สิทธิเสรีภาพ การแบ่งแยกอำนาจและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจสูงสุดเหล่านี้ต่อกัน
              จะเห็นได้ว่ารัฐทุกรัฐไม่ว่าจะมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เผด็จการ หรือประชาธิปไตยย่อมมีรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งอาจจะเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรหรือรัฐธรรมนูญแบบจารีตประเพณีก็ได้ และจะใช้ชื่อว่ารัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นก็ได้เพราะความสำคัญมิได้อยู่ที่ชื่อ หากแต่อยู่ที่ว่ากฎหมายนั้นๆมีข้อความกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุด และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกันหรือไม่ทั้งนี้เพราะรัฐทุกรัฐจะต้องมีกฎหมายสูงสุดสำหรับกำหนดระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการที่รัฐจะใช้อำนาจปกครอง (หยุด แสงอุทัย,หลักรัฐธรรมนูญทั่วไป, 2538) จึงกล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดภายในรัฐและเป็นที่มาแห่งกฎหมายทั้งปวงที่ใช้บังคับในรัฐนั้น ดังนั้น กฎเกณฑ์แห่งกฎหมายใดๆที่มีขึ้นมาภายหลังมีรัฐธรรมนูญใช้บังคับแล้ว ย่อมมีกระบวนการตรา การยกเลิกเพิกถอนและสถานะหรือลำดับศักดิ์แห่งกฎหมายไปตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
              ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในรัฐนั้นกำหนดโครงสร้างทางการเมืองที่มีการออกแบบอย่างเหมาะสมกับสังคมมีการกำหนดสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น ประมุขของรัฐ รัฐสภา รัฐบาล ตุลาการองค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พรรคการเมือง ภาคประชาสังคมที่มีการออกแบบอย่างสอดคล้อง ตรวจสอบซึ่งกันและกัน และมีโครงสร้างระบบกฎหมายภายใต้ระบบนิติรัฐ ดังนั้นแล้ว รัฐธรรมนูญจึงเป็นข้อตกลงร่วมกันของคนในสังคมที่ยินยอมพร้อมใจให้มีกฎหมายใดกฎหมายหนึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่นำมาใช้กับผู้คนในสังคมในการจัดสรรการใช้อำนาจของประชาชนผ่านสถาบันทางการเมืองต่างๆ ที่กำหนดขึ้นตามรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการอำนาจทางการเมืองต่างๆของทุกภาคกลุ่มเพื่อให้เกิดความสมดุลของการใช้อำนาจและเพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารของประเทศร่วมกัน
              ศาสตราจารย์ทางกฎหมายชาวฝรั่งเศส Domonique Rousseau ได้เคยกล่าวไว้เมื่อครั้งมาบรรยายให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2560ในชุดแรกไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ว่า
              รัฐธรรมนูญที่จะเป็นเครื่องมือหรือกลไก ในการก้าวพ้นวิกฤต ลดปัญหาความขัดแย้งได้นั้น รัฐธรรมนูญควรจะต้อง 
              (1) รัฐธรรมนูญที่ดีต้องไม่เป็นตัวปัญหาสร้างเงื่อนไขของวิกฤติความขัดแย้งคือ รัฐธรรมนูญ ต้องมีการออกแบบโดยคำนึงถึงการสร้างดุลยภาพต่างๆของอำนาจทางการเมือง ทั้งทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และอำนาจประชาชนผ่านการออกแบบกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล เพื่อมิให้มีอำนาจใดอำนาจหนึ่งเหนือกว่าอำนาจอื่นๆโดยปราศจากการตรวจสอบได้
              (2) รัฐธรรมนูญที่ดีต้องสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตได้เมื่อมีการปฏิรูปทางการเมือง การทำรัฐประหารก็จะมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น โดยหวังว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งวิกฤติทางการเมืองได้โดยหลักแล้วก็จะเป็นแนวคิดในเรื่องรัฐธรรมนูญนิยมที่นำรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมากำหนดเพื่อจัดระเบียบโครงสร้างอำนาจทางการเมืององค์กรต่างๆ เสียใหม่เพื่อให้เกิดความสมดุลทางการเมืองและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต
              (3) รัฐธรรมนูญที่ดีต้องไม่เพียงแต่เฉพาะมุ่งแก้ไขปัญหาความความแย้งในอดีตแต่ต้องสามารถจัดการ หรือมีทางออกให้กับปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้คือการที่รัฐธรรมนูญไม่สร้างกับดักใหม่ให้เกิดขึ้นนั่นเองตัวอย่างที่ประเทศฝรั่งเศสได้นำมาใช้คือการใช้เสียงของประชาชนตัดสินใจเรื่องสำคัญของประเทศร่วมกันผ่านการ“ออกเสียงประชามติ”
              สำหรับหนังสือ“บทสนทนาหลากมุมต่างมองรัฐธรรมนูญ 2560จัดทำขึ้นเพื่อให้รัฐธรรมนูญ2560 เป็นรัฐธรรมนูญของทุกคนสามารถพูดถึง แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ แล้วเสนอแนะสิ่งต่างๆ ได้จึงจัดทำขึ้นเป็นบทสัมภาษณ์พูดคุย ถึงมุมมองของบุคคลที่หลากหลาย ต่างบทบาทหน้าที่ต่างจุดยืนทางการเมือง โดยใช้แว่นของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคน สำรวจมองรัฐธรรมนูญในฐานะเป็นกฎหมายสูงสุดของสังคมซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในประเทศสำหรับทุกคน เมื่อท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วท่านจะเห็นถึง ความหลากหลายต่างมุมของความคิด ที่มองรัฐธรรมนูญโดยผ่านบุคคลที่มีความหลากหลายในการมองรัฐธรรมนูญ ขึ้นอยู่กับว่า เขาเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งแห่งที่อย่างไรจึงทำให้การมองรัฐธรรมนูญมีความแตกต่างหลายหลายอย่างน่าสนใจ
              เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ใช้รูปแบบบทสัมภาษณ์ บทสนทนากับผู้ที่มีความคิดหลากหลายในประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ในหนังสือนั้นประกอบไปด้วย บทสัมภาษณ์ 13 บท และบทความพิเศษ2 บทความโดยมีผู้ช่วยบรรณาธิการในการสัมภาษณ์รวบรวมบทความนำโดย คุณภัทรวุฒิ เฉยศิริคุณชัยธวัช 
    สีผ่องใส คุณวรศักดิ์ จันทร์ภักดี คุณชิษณุพงศ์ สุวัตถี และคุณรัฐกรชนะวงศ์ ในฐานะกองฐานะบรรณาธิการ จึงเคารพต่อถ้อยคำของผู้ให้สัมภาษณ์โดยมีการแก้ไขถ้อยคำเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือ 
    สีผ่องใส คุณวรศักดิ์ จันทร์ภักดี คุณชิษณุพงศ์ สุวัตถี และคุณรัฐกรชนะวงศ์ ในฐานะกองฐานะบรรณาธิการ จึงเคารพต่อถ้อยคำของผู้ให้สัมภาษณ์โดยมีการแก้ไขถ้อยคำเพียงเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ในรูปแบบของหนังสือ ขอเชิญทุกท่านเปิดใจและร่วมอ่านความเห็นที่หลากหลายต่างมุมมองต่อรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ณ บัดนี้
                                                             
                                
    มักมีผู้เสนอว่ารัฐธรรมนูญเป็นของฝรั่ง
    จึงผิดฝาผิดตัวไม่เข้ากับสังคมไทย
    ปัญหาสำคัญมิได้อยู่ตรงที่ว่าประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ
    หรือหลักการเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน
    เป็นของนำเข้าจากฝรั่งหรือเป็นของไทยดั้งเดิม
    เพราะสังคมไทยเลือกรับดัดแปลงหรือปฏิเสธความคิดภายนอกตลอดประวัติศาสตร์ทั้งจากแขก จีน ญี่ปุ่น ฝรั่ง
    ตามแต่ความจำเป็นสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย..
    ...ประชาธิปไตยจึงมิได้หมายถึงการยกย่องเชิดชูอย่างเพ้อฝันว่าประชาชนถูกต้องเสมอ ฉลาด มีภูมิปัญญาเป็นเลิศ
    แต่เราต้องมั่นคงกับหนทางที่ให้ประชาชนมีอำนาจ
    ในการตัดสินทางเลือกของตน
    ไม่ว่าจะฉลาดหรือด้อยปัญญาก็ตาม...
    ...ประชาธิปไตยไม่ใช่ระบบการเมืองของปัญญาชน

    หรือคนกรุงผู้ฉลาดกว่ารู้ดีกว่า 
    ปัญญาชนทำหน้าที่เป็นสติปัญญาแก่สังคม
    แต่ไม่ควรมีอำนาจมากไปกว่าประชาชนคนหนึ่งๆ...
     
                                 ธงชัยวินิจจะกูล
                “ข้ามให้พ้นประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in