เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
LGBTQ+Naphat
ความสำคัญของการค้นหาเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ
  • คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีความคุ้นเคยกับกลุ่ม LGBTQ+ สนใจศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของชุมชนอาจสับสนในคำว่าเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ แต่หากพูดถึงโฮโมเซ็กชวล ไบเซ็กชวล เกย์ เลสเบี้ยน อาจจะคุ้นเคยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคำที่กล่าวไปข้างต้นนั้นไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันเสียทีเดียว เพียงแต่มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ 

    เพศวิถี หรือ Sexual Orientation เป็นคำที่อธิบายว่าบุคคลนั้นมีความรู้สึกดึงดูดต่อใครและรู้สึกรักผูกพันทางอารมณ์ในเชิงชู้สาวด้วย (PlanedParenthood, n.d.)  โดยเพศวิถีสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท และมีประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 

    บุคคลที่ดึงดูดกับบุคคลต่างเพศ เรียกว่า สเตรท (Straight) หรือ เฮเทอโรเซ็กชวล (Heterosexual) 

    บุคคลที่ดึงดูดกับบุคคลเพศเดียวกัน เรียกว่า เกย์ (Gay) หรือ โฮโมเซ็กชวล (Homosexual) โดยผู้หญิงมักจะนิยมเรียกตัวเองว่าเลสเบี้ยนมากกว่า (Lesbian)

    - บุคคลที่ดึงดูดกับทั้งเพศหญิงและเพศชาย เรียกว่า ไบเซ็กชวล (Bisexual)

    - บุคคลที่ดึงดูดกับบุคคลโดยไม่จำกัดอัตลักษณ์ทางเพศ สามารถดึงดูดกับผู้หญิง ผู้ชาย บุคคลข้ามเพศ บุคคลที่อัตลักษณ์ทางเพศไม่ใช่ทั้งหญิงและชาย เป็นต้น เรียกว่า แพนเซ็กชวล (Pansexual) หรือ เควียร์ (Queer)

    -  บุคคลที่ไม่มั่นใจในเพศวิถีของตนเอง

    บุคคลที่ไม่ดึงดูดทางเพศต่อเพศใดเลย เรียกว่า อะเซ็กชวล (Asexual) 

    แต่อย่างไรก็ตามถ้าบุคคลพอใจที่จะไม่นิยามหรือเรียกตนเองว่ามีเพศวิถีแบบใดก็ไม่มีใครบังคับให้เขานิยามตนเองได้ โดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หลายคนเชื่อว่าเพศวิถีนั้นเป็นการผสมผสานกันระหว่างปัจจัยทางชีววิทยา จิตวิทยา และสังคม และนักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าพันธุกรรมและฮอร์โมนก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเพศวิถีของบุคคลด้วย ทำให้เพศวิถีไม่ใช่สิ่งที่บุคคลจะสามารถเลือกได้โดยสมัครใจ (KidsHealth, n.d.) แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้ในขณะที่ยังค้นหาเพศวิถีของตนเอง ขึ้นอยู่กับโอกาสและประสบการณ์ที่ได้ทดลองค้นหาเพศวิถี หากมีโอกาสน้อยก็จะมีประสบการณ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพศหลากหลายน้อย และอาจนิยามเพศวิถีของตนเองเป็นแบบหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป มีโอกาสมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนมากขึ้น มีองค์ความรู้มากขึ้น บุคคลก็อาจเปลี่ยนการนิยามเพศวิถีของตนเองใหม่

    โดยกระบวนการการค้นพบเพศวิถีมีดังนี้ (UW Counselling Center, n.d.)

    ขั้นตอนที่ ความสับสน บุคคลจะเริ่มรู้สึกสงสัยว่าตนเองเป็นกลุ่มรักร่วมเพศหรือไม่ และอาจรู้สึกสับสนในตนเองได้

    ขั้นตอนที่ การเปรียบเทียบ : บุคคลเริ่มยอมรับความเป็นไปได้ที่จะเป็นกลุ่ม LGBTQ+ และเผชิญหน้ากับการแยกตัวทางสังคมที่อาจเกิดขึ้น

    ขั้นตอนที่ ความอดทนต่อเพศวิถี บุคคลยอมรับว่าตนเป็นกลุ่ม LGBTQ+ มากขึ้น และปรับตัวได้ แม้จะสับสนและกังวลในเพศวิถีจะเพิ่มขึ้น อาจรู้สึกโดดดี่ยวแปลกแยกจากการที่บุคคลมองตนเองแตกต่างไปจากที่สังคมคาดหวัง ในขั้นนี้จะเริ่มมีการติดต่อกับกลุ่มคนในชุมชน LGBTQ+ 

    ขั้นตอนที่ การยอมรับเพศวิถี ไม่ค่อยกังวลเกี่ยวกับเพศวิถีของตนเองและยอมรับว่าตนเองเป็นกลุ่ม LGBTQ+ และติดต่อกับกลุ่มคนจากชุมชน LGBTQ+ มากขึ้น

    ขั้นตอนที่ ความภาคภูมิใจในเพศวิถี บุคคลเริ่มรู้สึกภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ ซึมซับวัฒนธรรมของกลุ่ม ในทางกลับกันจะติดต่อกับกลุ่มคนจากคนรักต่างเพศน้อยลง บางครั้งอาจโกรธที่ชุมชนคนรักต่างเพศทอดทิ้งหรือไม่ใส่ใจชุมชน LGBTQ+ 

    ขั้นตอนที่ การสังเคราะห์เพศวิถี บุคคลสามารถรวมเพศวิถีของตนเองเข้ากับแง่มุมอื่นของชีวิตได้ เพศวิถีกลายเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์โดยรวมของบุคคล ความรู้สึกโกรธรุนแรงต่อกลุ่มคนรักต่างเพศหรือภาคภูมิใจอย่างมากในการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม LGBTQ+ จะลดน้อยลง และสามารถเป็นตนเองได้เมื่ออยู่ท่ามกลางทั้งสองชุมชน ตัวตนเมื่ออยู่กับตนเองและเมื่ออยู่ในสังคมสอดคล้องกันมากขึ้น

    อัตลักษณ์ทางเพศ หรือ Gender Identity เป็นคำที่อธิบายว่าบุคคลนั้นเป็นเพศอะไร รู้สึกว่าตนเองเป็นเพศอะไร ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งเพศหญิง เพศชาย หรืออื่น ๆ บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศสอดคล้องกับเพศกำเนิด เรียกว่า บุคคลตรงเพศ (Cisgender) บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด เรียกว่า บุคคลข้ามเพศ (Transgender) บุคคลรู้สึกว่าอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองไม่ใช่ทั้งเพศชายและเพศหญิง เรียกว่า นอนไบนารี (Non-binary) และบุคคลที่รู้สึกว่าตนเองไม่มีอัตลักษณ์ทางเพศ เรียกว่า อะเจนเดอร์ (Agender) (PsychologyToday, n.d.)

    ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศนั้นอาจจะเปลี่ยนไปได้ตามกาลเวลาหรือเมื่อบุคคลรู้สึกว่าเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศเดิมนั้นไม่ใช่ตนเองอีกต่อไปแล้ว และแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถบอกให้บุคคลเปลี่ยนได้ เพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อเจ้าของตัวตนต้องการเปลี่ยนเท่านั้น นอกจากนี้การเปลี่ยนเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศไม่ได้หมายความว่าบุคคลสับสน มีหลายคนไม่ว่าจะเด็กหรือมีอายุที่เจอกับประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงในบุคคลที่สนใจและการระบุตนเอง เรียกว่าการลื่นไหลทางเพศ (Fluidity) (PlanedParenthood, n.d.)

    ทุกคนควรให้ความสำคัญในเรื่องเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศเพราะเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อน หรือบุตรหลานก็ได้ ในช่วงวัยรุ่นนั้นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ มาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ วัยรุ่นจะเริ่มมีความสนใจเรื่องเพศ และเริ่มมีความดึงดูดทางเพศต่อเพศต่าง ๆ มีการค้นหาเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง ตรงกับขั้นพัฒนาการขั้นที่ ความเป็นอัตลักษณ์และความสับสนในบทบาท ตามทฤษฎีขั้นพัฒนาการของ Erikson การให้การสนับสนุนให้เขาได้ค้นหาเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองอย่างเต็มที่เป็นการช่วยสร้างอัตลักษณ์ให้กับบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนเมื่อเข้าสู่พัฒนาการขั้นต่อไป ซึ่งในงานวิจัยของ Hall William J., Dawes Hayden C. และPlocek Nina (2021ระบุว่าการดึงดูดต่อเพศที่บุคคลสนใจนั้นจะเกิดขึ้นก่อนเสมอ จากนั้นจะตามมาด้วยการนิยามตนเอง หรือกิจกรรมทางเพศ จากนั้นจึงเป็นการเปิดเผยเพศวิถี และเข้าสู่การมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว โดยผลการวิเคราะห์พบว่าบุคคลมีการดึงดูดต่อเพศที่สนใจในอายุเฉลี่ย 12.7 ปี ตั้งคำถามต่อเพศวิถีของตนเองในอายุเฉลี่ย 13.2 ปี นิยามตนเองในอายุเฉลี่ย 17.8 ปี มีกิจกรรมทางเพศในอายุเฉลี่ย 18.1 ปี เปิดเผยเพศวิถีในอายุเฉลี่ย 19.6 ปี และมีความสัมพันธ์ในอายุเฉลี่ย 20.9 ปี จึงสามารถสรุปได้ว่าโดยส่วนมากแล้วบุคคลจะค้นพบเพศวิถีก่อนที่จะค้นพบอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง

    จากที่กล่าวมากทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการค้นหาเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคล ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น การที่พ่อแม่ หรือผู้ปกครองใส่ใจ และให้การสนับสนุน เพิ่มโอกาสในการค้นหาอัตลักษณ์ของตนเองให้กับบุตรหลานจึงสามารถช่วยไม่ให้วัยรุ่นต้องสับสนและทรมานกับการค้นหาตนเองได้ ทั้งนี้พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเพศและขั้นพัฒนาการของวัยรุ่นอย่างถูกต้อง รวมถึงยอมรับ LGBTQ+ และไม่ตีกรอบเพศให้กับบุตรหลานของตนเองด้วย




  • เอกสารอ้างอิง 


    UW Counseling Center.  (n.d.).  Thinking of coming out?.  Retrieved 13 April 2022 from https://www.washington.edu/counseling/thinking-of-coming-out/

    Hall William J., Dawes Hayden C., Plocek Nina. (2021). Sexual Orientation Identity Development Milestones Among Lesbian, Gay, Bisexual, and Queer People: A Systematic Review and Meta-Analysis. Frontiers in Psychology, (12), 1-19. doi:10.3389/fpsyg.2021.753954 

     PsyChology Today. (n.d.). Gender. Psychology Today. https://www.psychologytoday.com/us/basics/gender

    PsyChology Today. (n.d.). Sexual Orientation. Psychology Today. https://www.psychologytoday.com/us/basics/homosexuality

    KidsHealth. (n.d.) Sexual Attraction and Orientation. KidsHealth. https://kidshealth.org/en/teens/sexual-orientation.html

    Planed Parenthood. (n.d.). Sexual Orientation. Planed Parenthood. https://www.plannedparenthood.org/learn/sexual-orientation/sexual-orientation

    WebMD. (n.d.). Sexual Orientation. WebMD. https://www.webmd.com/sex-relationships/guide/sexual-orientation

    PPTV Online. (23 กรกฎาคม 2561). อย่างที่ควรรู้ เกี่ยวกับ "แพนเซ็กชวล" (Pansexual). PPTV HD 36. https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/85975

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in