แฟชั่นนั้นสําคัญไฉน ตามมุมมองของ Adam Smith ในปรัชญาแฟชั่นได้ให้นิยามของแฟชั่น ไว้ว่า "แฟชั่นมีอิทธิพลในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านคุณธรรม ดนตรี รวมไปถึงวิถีชีวิต หรือแฟชั่นนั้นแทบจะหมายถึงทุกสิ่งอย่างที่เราจับต้องได้" เพราะฉะนั้นคนในแต่ละท้องถิ่นมีแฟชั่นหรือการแต่งกายอย่างไรมันก็สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและแนวคิดของคนในท้องถิ่นนั้นๆด้วย ดังเช่นการแต่งกายของคนในประเทศเกาหลีเหนือที่กําลังสะท้อนความคิดบางอย่างให้เราได้เห็น หากแฟชั่นของผู้ชายมาจากท่าน ผู้นําสูงสุดแฟชั่นของผู้หญิงก็ได้รับอิทธิพลมาจากภรรยาของผู้นําเช่นกัน เช่น เสื้อ ที่กลายมาเป็นที่นิยมในภายหลังอย่าง Polka dot หรือลายจุดที่นาง รีซอลจู ภรรยาของท่านผู้นํามักใส่ออกงาน สาธารณะอยู่บ่อยครั้งทําให้เป็นที่ต้องตาต้องใจจนมีการนํามาใส่ตามอย่างแพร่หลายและผู้หญิงเกาหลีเหนือมักมี ไอเทมคู่ใจอย่างรองเท้าส้นสูงและร่มลายลูกไม้ที่นิยมกันมากๆ ที่สําคัญไอเทมที่ต้องมีทั้งหญิงและชายขาดไปไม่ได้เลย นั่นคือ เข็มกลัดท่านผู้นําที่ต้องมีปักอกตลอดเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อท่านผู้นํา
การแต่งกายที่ดูไม่สากลไม่แฟชั่นหมายความว่าคนในประเทศเกาหลีเหนือไม่สนใจแฟชั่นงั้นหรือ? Choe Un Jong พนักงานขายที่ห้างสรรพสินค้าได้ให้ คําตอบในบทความ แฟชั่นเกาหลีเหนือของ Kate Whitehead ว่า “ในเกาหลีเหนือผู้หญิงใส่ใจแฟชั่นพวกเขาใส่ใจเกี่ยวกับสไตล์และมีความมั่นใจ แต่แทนที่จะติดตามเทรนด์แฟชั่นจากแบรนด์ต่างประเทศชั้นนําพวกเขาสร้างสไตล์ของตัวเองที่เหมาะกับบุคลิกของพวกเขาจริงๆ” แต่ในอีกมุมหนึ่งจาก Nara Kang ผู้อพยพจากเกาเหนือมายังเกาหลีใต้ได้ ให้ความเห็นว่า “ฉันไม่สามารถไว้ผมอย่างที่ฉันต้องการได้ ใส่กางเกงยีนส์ก็ไม่ได้ ใส่เสื้อยืดที่มีตัวอักษรภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ซึ่งในการที่ฉันเป็นวัยรุ่นฉันก็อยากที่จะแต่งตัวให้ตัวเองดูดีที่สุดนี่คือสิ่งที่ฉันไม่ชอบในการใช้ชีวิตที่นั่น” เพราะในเกาหลีเหนือนอกจากการใช้ชีวิตและการแต่งกายที่ต้องอยู่ในแบบแผนที่มีทางเลือกไม่มากแล้ว ทรงผม ยังมีข้อกําหนด และทรงบังคับอีกด้วย โดยผู้หญิงมีให้เลือก 18 ทรงแถมยังมีการตั้งกฎให้ทรงผมของผู้หญิงเป็นสิ่งบ่งบอกสถานภาพ ของผู้หญิงคนนั้นว่าแต่งงานแล้วหรือไม่ด้วย โดยผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะไว้ทรงผมสั้น ส่วนยังไม่ได้แต่งงานรวมทั้งเด็ก ๆนั้น จะสามารถไว้ผมยาวได้ ส่วนผู้ชายมีให้เลือกเพียง10 ทรงเท่านั้นและในภายหลังช่วงพ.ศ.2015 ได้มีการ ออกกฎที่สั่งให้ชายหนุ่ม ต้องตัดผมทรงเดียวกับท่านผู้นํา คิมจองอึน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อท่านผู้นําอีกด้วย ความคิดของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไปบางคนคิดว่าที่นี่ตอบสนองต่อการดําเนินชีวิตของเขา แต่สําหรับบางคนที่นี่ก็ไม่ใช่พื้นที่สําหรับเขา
ก่อนอื่นต้องทําความเข้าใจคําว่า trickle down กันก่อน ในปรัชญาแฟชั่นหรือในวงการแฟชั่นเองได้มีคํานี้บรรจุอยู่ด้วยเพื่อใช้อธิบายการแพร่ขยายของแฟชั่นจากชนชั้นบนสุดลงมาสู่ชนชั้นถัดลงมา หากความหมายตามสมัยก่อน ชนชั้นบนสุดเทียบได้กับกษัตริย์ ราชินีและราชนิกุลหรือผู้นําชั้นสูง แต่ในสมัยนี้ไม่ได้หมายถึงคนในชนชั้นเหล่านั้นเพียงอย่างเดียวแต่กลับหมายถึงคนที่มีอิทธิพลทางด้านสื่อหรือคนที่รวยพื้นที่สื่ออย่างที่เราเห็นชัดในปัจจุบันก็คือเหล่า ดารา นักร้องหรือแฟชั่นอินฟลูเอนเซอร์ ที่เมื่อหยิบจับอะไรมาใส่ก็กลายเป็นกระแสตามมาในอีกไม่ช้าทําให้คนในชนชั้นต่างๆหันมาให้ความสนใจในไอเทมเหล่านั้น แล้วคนในประเทศเกาหลีเหนือที่มีแฟชั่นหรือเทรนด์ตามผู้นําและภรรยาของผู้นํา เรียกว่าเป็น trickle down ด้วยหรือไม่ สําหรับเราแล้ว สิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็นtrickle down ทั้ง ในความหมายเดิมและความหมายใหม่เพราะ คิมจองอึนและภรรยา เป็นทั้งผู้นําที่ทุกคนให้ความเคารพนับถืออีกทั้งยัง เป็นบุคคลที่รวยพื้นที่สื่อเพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็ต้องมีหน้าของท่านผู้นําปรากฏอยู่ตลอดนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทําให้ท่านผู้นําและภรรยามีอิทธิพลต่อคนในประเทศในเรื่องของเทรนด์ต่างๆ เช่น นางรีซอลจูใส่เสื้อลายจุดสีแดงออกงานกับท่านผู้นํา อีกไม่นานเสื้อลายจุดก็ได้รับความสนใจจากผู้หญิงเกาหลีเหนือ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเทรนด์ที่คนธรรมดาจะแต่งตามได้ เพราะต้องยอมรับว่าในหลายครั้งนางรีซอลจู ก็ได้รับคําวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากคนในประเทศเช่น กัน เนื่องจากมีภาพการใช้กระเป๋าแบรนด์หรู และมีการแต่งกายที่ออกแนวตะวันตกจนแปลกตาไปจากสาวเกาหลีเหนือทั่วไป แต่เธอก็ได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งในการมอบอิสระให้กับผู้หญิงเกาหลีเหนือที่สามารถสวมถุงน่องสีดําและ รองเท้าส้นสูงได้ รวมถึงอนุญาตให้พวกเขาสามารถขี่จักรยานได้ เช่นเดียวกับท่านผู้นํา ที่มีการไว้ทรงผมไถจอนสองข้างออก แล้วหวีผมเสยขึ้น ทําให้ผู้ชายหลายคนตัดผมทรงนี้ตาม และมีกฎออกมาในภายหลังว่าให้ตัดผมทรงนี้เพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อท่านผู้นํา เป็นต้น
สําหรับบางคนมองว่าการแพร่ในลักษณะ trickle down มันแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ํามากเกินไป จะดีกว่าไหมถ้าไม่มีการแพร่ขยายของแฟชั่นในลักษณะนี้ Herbert Spencer นักปรัชญาแฟชั่นได้เสนอนิยามในการ ลดการแพร่ขยายของแฟชั่นในลักษณะ trickle down ว่า “ถ้าในสังคมมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นมันจะก่อให้เกิดความเท่าเทียมและส่งผลให้การแพร่ขยายแฟชั่นในลักษณะ trickle down ลดน้อยลง” ทุกคนมีความคิดเห็นต่อคํานิยามนี้อย่างไร สําหรับเราเองขอเสนอในมุมมอง ที่ว่า ทุกสังคมย่อมมีความเหลื่อมล้ำกันในทางชนชั้นไม่มากก็น้อยการเข้าถึงในเรื่องต่างๆของคนแต่ละชนชั้นก็แตกต่างกันคนที่มีอํานาจทางการเงินสูงย่อมเข้าถึงทุกสิ่งได้เร็วและดีกว่าคนที่ไม่มีอํานาจทาง การเงิน จึงเป็นไปได้ยากที่การแพร่ขยายในลักษณะ trickle down จะหายไปอย่างสิ้นเชิง แต่การที่สังคมมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอาจจะช่วยให้ trickle down ลดลงตรงที่ว่า เราต่างยอมรับจุดยืนที่แตกต่างของตัวเองและบุคคลอื่นมากขึ้น ไม่ได้ตัดสินตัวบุคคลจากสิ่งที่เขาสวมใส่ หากทุกคนมีทัศนคติแบบนี้ การตามแฟชั่นของคนชนชั้นเหนือกว่าเราเพื่อนํามาซึ่งจุดยืนในสังคมคงลดน้อยลงและหันมาให้ความสําคัญกับจุดยืน ตัวเองมากขึ้น สิ่งที่ Hebert Spencer กล่าวไว้ก็อาจจะถูกต้องก็ได้
การที่เราหยิบยกประเด็นแฟชั่นผ่านการเมืองขึ้นมาไม่ได้เป็นการตัดสินว่าแฟชั่นของประเทศไหนทันสมัย หรือดีกว่ากัน เพราะรูปแบบการปกครองและการจัดสรรที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศมันส่งผลต่อสิ่งอื่นให้แตกต่างกันด้วย สําหรับบางพื้นที่แฟชั่นไม่ใช่แค่การแต่งกายหรือการใช้สิ่งต่างๆเพื่อตามเทรนด์เท่านั้นแต่มันหมายถึงการแสดงออกถึงความเคารพนับถือ แฟชั่นทั้งในด้านเสื้อผ้า เครื่องประดับหรือแม้แต่ทรงผมมันสะท้อนได้หลายอย่างและ การมองแฟชั่นผ่านการเมืองก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in