เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Korean: Things and StudiesYammy
แนะนำ “ลีจองมิ” อดีตรักษาการประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งเกาหลีใต้
  • ประวัติการศึกษาและการทำงานของลีจองมิโดยสรุป

    ( ภาพจาก https://www.washingtonpost.com/world/asia_pacific/korean-judge-hair-rollers-seen-as-sign-of-hardworking-women/2017/03/10/8d9f269a-056a-11e7-9d14-9724d48f5666_story.html?utm_term=.c0b4fbd4250b  )


    ภาพนี้เป็นที่ฮือฮาในช่วงก่อน หลายคนจึงสงสัยว่าอาจุมม่าท่านนี้เป็นใครทำไมสื่อเกาหลีใต้แซวภาพนี้กันหนักมาก ท่านไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็น“รักษาการประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งเกาหลีใต้และเป็นผู้หญิงคนเดียวอีกด้วย ท่านผู้นี้ชื่อลีจองมิ ผู้ที่ลืมโรลม้วนผมไว้บนหัว(555+)ก่อนการพิจารณาการถอดถอนประธานาธิบดี ปาร์คกึนฮเย


    ลีจองมิ (이정미) เกิดเมื่อปี ค.ศ.1962 (อายุ54ปี)ที่เมืองอุลซัน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเกาหลีใต้ จบการศึกษาจากภาควิชากฎหมาย มหาวิทยาลัยเกาหลี(고려대학교 법학과)ในโซล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย “SKY”  ที่นักเรียนเกาหลีอยากเข้ามากที่สุด

    "SKY"ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล(Seoul National University) มหาวิทยาลัยเกาหลี(Korean University) และมหาวิทยาลัยยอนเซ(Yonsei Univesity) 

    นักศึกษากฎหมายมหาวิทยาลัยเกาหลีสู่การเป็นผู้พิพากษา

    หลักจากที่ลีจองมิจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ.1984 เธอสอบผ่านเนติบัณฑิต ครั้งที่ 26 ได้ในปีเดียวกัน (26회 사법시험) ซึ่งเป็นที่รู้กันในสังคมเกาหลีว่าการเข้าสู่วิชาชีพกฎหมายในประเทศเกาหลีนั้น"หิน"มาก เพราะถูกสร้างเป็นระบบเดียว กล่าวคือ ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความนั้น ต้องสอบผ่านเนติบัณฑิตก่อน จึงจะได้รับการฝึกอบรมที่ Judicial Research and Training Institute(JRTI) 2ปี และหากสอบผ่านอีกครั้ง ถึงจะมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งหรือประกอบอาชีพนั้นได้

    สถิติตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีผู้ที่ผ่านการทดสอบของเนติฯไม่ถึง 5% ต่อปี ซึ่งภาพด้านล่างนี้ยกตัวอย่างในช่วงที่ลีจองมิสอบผ่าน
    (ChangRok Kim, The National Bar Exam in Korea https://hosted.law.wisc.edu/wordpress/wilj/files/2012/02/kim.pdf
    เข้าถึงเมื่อ20 มีนาคม 2560)

    การแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาและอัยการนั้น มาจากการสอบ JRTI  (สมัยก่อนว่ากันว่าเงื่อนไขในการสอบผ่านนั้นไม่ได้อิงเกณฑ์แต่เป็นการอิงกลุ่ม ผู้ที่สอบผ่านสูงสุดประมาณ30%แรกจะถูกแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตามลำดับ ที่เหลือมีสิทธิประกอบอาชีพเป็นทนายความ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ทราบแน่ชัดรอผู้เชี่ยวชาญมาตอบคร่าาาา *โบกธงขาว*)


    ลีจองมิสอบผ่าน JRTI เมื่อปีค.ศ.1987 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาตั้งแต่อายุ 25


    นั่นเท่ากับว่าที่ผ่านมาเธอทำหน้าที่ผู้พิพากษามาเกือบ 30 ปี 


    ประวัติการทำงาน

    • 1987-1991 : ผู้พิพากษาศาลแขวงแดชอน
    • 1991-1992 : ผู้พิพากษาศาลแขวงอินชอน
    • 1991-1994 :  ผู้พิพากษาศาลแขวงซูวอน
    • 1994-1996 :  ผูพิพากษาศาลครอบครัวโซล
    • 1996-1998 : ผู้พิพากษาศาลแขวงโซล
    • 1998-1999 :  ผู้พิพากษาศาลแขวงโซลตะวันตก
    • 1999-2002:  ผู้พิพากษาศาลสูง
    • 2002-2004 :  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงอุลซัน
    • 2004- 2007 : ศาสตราจารย์ แห่ง Judicial Research and Training Institue
    • 2007-2009:  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงโซลตะวันตก
    • 2009-2010 :  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงโซลกลาง
    • 2010 : ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลสูงปูซาน
    • 2010-2011 : ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลสูงแดชอน
    • 2011-2017 : ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (14 มี.ค. 2011- 13 มี.ค. 2017)
    • 2013: รักษาการประธานศาลรัฐธรรมนูญ ( 25 มี.ค. 2013- 11 เม.ย. 2013) 
    • 2017: รักษาการประธานศาลรัฐธรรมนูญ (1 ก.พ.2017 - 13 มี.ค.2017)







    การตัดสินประธานาธิบดีปาร์คกึนฮเย เป็นการตัดสินครั้งสุดท้ายในวาระของเธอ 

    เธอทิ้งท้ายด้วยประโยคว่า..


     '주문 피청구인 대통령 박근혜를 파면한다'

    "คำสั่ง ประธานาธิบดีปาร์คกึนฮเย จำเลย พ้นจากตำแหน่ง "











    อ้างอิง
    이정미 (법조인), ko.wikipedia เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560
    이정미(법조인), namu.wiki เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2560
    ChangRok Kim, The National Bar Exam in Korea https://hosted.law.wisc.edu/wordpress/wilj/files/2012/02/kim.pdf
    เข้าถึงเมื่อ20 มีนาคม 2560
    Justice System https://www.moj.go.kr/HP/ENG/eng_02/eng_2040.jsp เข้าถึงเมื่อ20 มีนาคม 2560

                                                                                                                                                
    หมายเหตุและเพิ่มเติม: ตามวัฒนธรรมองค์กรในไทยจะเรียกผู้พิพากษาว่า "ท่าน" ซึ่งบางคนก็เรียก บางคนก็ไม่เรียก
    แต่ขออนุญาตเรียกเพียง "ลีจองมิ" จะได้อ่านลื่นๆสำหรับคนนอกวงการ(อิอิ)
    ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in