เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Future trend diaryAum Piyaratt
โลกของเงินดิจิทัล [ฉบับมือใหม่ (หัดขับ?)]

  • Digital money is termed as payment that exist purely in electronic form. It is accounted for and transferred using computer. (Ref. https://www.investopedia.com/terms/d/digital-money.asp)

    ช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ที่ทำงานเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เเละ Blockchain Technology ทั้งยังลงทุนในบิตคอยน์ ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrency ประเภทหนึ่ง เมื่อก่อน เราไม่เคยสนใจเรื่องพวกนี้ ถึงขนาดที่ว่าไม่เคยมีเเอพลิเคชันธนาคารในโทรศัพท์มือถือ เเละ ใช้ e-money wallet นับครั้งได้ 

    ในขณะที่ตอนนี้ ตัวเรากลายมาเป็นคนที่อ่าน เเละ ติดตามข่าวสารของเงินดิจิทัลมากขึ้นอย่างที่ตัวเราเองก็นึกไม่ถึง ยิ่งไปกว่านั้น ระบบการจ่ายเงินผ่าน QR code เเละ การจองตั๋วหนังผ่านระบบออนไลน์ จากนั้น ชำระเงินผ่านบัตรเป็นสิ่งที่เราเพิ่งเรียนรู้เมื่อปลายปีที่เเล้วนี้เอง

    New normal เป็นคำที่ถูกพูดถึงทุกสื่อในช่วง 2–3 เดือนที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อ covid-19 หลายคนบอกว่าต่อไป คนจะใส่หน้ากากอนามัย หรือ ล้างมือ จนเป็นนิสัย รูปเเบบการเรียน เเละ การทำงานจะปรับเป็นรูปเเบบออนไลน์มากขึ้น เงินดิจิทัลก็เช่นกัน มันกำลังจะกลายเป็นความปกติรูปเเบบใหม่ที่พวกเราคงหนีการใช้งานในอนาคตไม่ได้อย่างเเน่นอน 

    ตามประวัติศาสตร์ ระบบการเงินของโลกมีการเปลี่ยนเเปลงในเเต่ละยุคสมัยอยู่เเล้ว ตั้งเเต่มีการใช้เปลือกหอย ใช้เหรียญทองคำในการเเลกเปลี่ยนสินค้า จนมาเป็นเงินที่ทำจากกระดาษในทุกวันนี้ คำถามต่อมา ก็คือ เเล้วเงินกระดาษ หรือ fiat-money มันไม่ดียังไงหล่ะ ?

    หากใครเคยดูภาพยนต์ เรื่อง The big short — เกมฉวยโอกาสรวย ที่เล่าถึงวิกฤติหนี้ด้อยคุณภาพ หรือ Subprime ในช่วงปี 2008 เมื่อเกิดวิกฤติ สิ่งที่สหรัฐอเมริกาทำ คือ การพิมพ์ธนบัตรเงินดอลลาร์ออกมามากกว่าเดิม เพื่อพยุงระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหากประเทศใดเกิดปัญหาในลักษณะนี้ขึ้นรัฐก็สามารถอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเพิ่มขึ้น จนอาจทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อ  [Hyperinflation] เเละ ผลกระทบที่ตามมา ก็คือ ราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้น เงิน 500 บาทที่เคยซื้อข้าวได้ 10 จาน อาจจะเหลือจานเดียวก็เป็นได้ เมื่อเงินได้มาง่าย มูลค่าของเงินจะลดลง จนมีโอกาสทำให้สกุลเงินล่มสลาย สามารถดูคลิปเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.youtube.com/watch?v=M3Rsi9y4FAA หรือ ไม่ก็ลองไปหาอ่านข่าววิกฤติของประเทศเวเนซุเอลา เมื่อปี 2018 จะเห็นภาพชัดที่สุด

    เมื่อวานมีโอกาสได้ฟังรายการ The Standard Podcast : Executive Espresso Ep.85 คุณท๊อป จิรายุส ผู้ก่อตั้งเว็บซื้อขายเงินดิจิทัล Bitkub.com ได้ยกตัวอย่างปัญหาของเงินกระดาษในเมืองไทยที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ นั่นก็คือ การเเจกเงิน 5,000 บาทของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้เดือดร้อนจากภัยโควิด 

    พวกเราต้องยอมรับก่อนว่า ประเทศไทยยังมีจุดอ่อน เรื่อง ระบบการจัดการข้อมูลของประชาชน ส่งผลให้การเเจกเงินยังไม่มีความถูกต้องเเละเเม่นยำเท่าที่ควร จนคนที่สมควรได้เงินเเต่ไม่ได้ต้องออกมาร้องเรียนกันเป็นจำนวนมาก นึกภาพว่าหากเรามีระบบ big data ที่ใช้ในการประมวลผล มีเทคโนโลยี AI ในการวิเคราะห์ข้อมูล เเละ เเจกเงินดิจิทัล เราจะลดปัญหาความไม่ถูกต้องของข้อมูล เเละ การเเจกเงินในเเต่ละครั้งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

    Cashless society หรือ สังคมไร้เงินสด กำลังใกล้ตัวเราเข้ามาเรื่อย ๆ การทำธุรกรรมทางการเงินโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีมาหลายปีเเล้วในประเทศไทย เพียงเเต่ ผลกระทบจาก covid-19 ทำให้รูปเเบบสังคมไร้เงินสด เเละ เงินดิจิทัล ถูกกระตุ้นให้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นไปอีก

    หลายปีมาเเล้วที่คนในประเทศมหาอำนาจอย่างจีนไม่เเตะต้องเงินสด เมื่อต้องการซื้อของ หรือ ชำระค่าบริการ ทุกคนก็เเค่หยิบสมาร์ทโฟนของตัวเองขึ้นมา จากนั้น สเเกนจ่ายเงินผ่านเเอพลิเคชัน WeChat หรือ Alipay ได้อย่างง่าย เเละ สะดวกรวดเร็ว

    ข่าวที่กำลังดังที่สุดในโลกการเงินตอนนี้ คือ ธนาคารกลางจีนกำลังสร้างเงินดิจิทัลหยวน หรือ Central Bank Digital Currency (CBDC)/Digital currency electronic payment (DCEP) ออกมาให้ประชาชนทดลองใช้ใน 4 มณฑลใหญ่ ได้เเก่ เซินเจิ้น, ซูโจว, สงอัน เเละ เฉิงตู ซึ่งตอนนี้มีบริษัท เเละ ร้านอาหาร มากมายเข้าร่วมโครงการ เงินดิจิทัลหยวนจะมีเงินหยวนรองรับในอัตรา 1:1 นั่นหมายความว่า เงินดิจิทัลหยวน 1 เหรียญมีค่าเท่ากับ 1 หยวนที่ถูกเก็บไว้ในบัญชีของธนาคารกลาง จากนี้ การสามารถตรวจสอบช่องทางการทำธุรกรรมของประชาชนให้มีความถูกต้อง เเละ โปร่งใสมากยิ่งขึ้นภายในประเภศจีนคงไม่ยากอีกต่อไป

    ไม่ต่างกับทางฝั่งเอกชนอย่าง Facebook ที่เพิ่งมีการเปิดตัว Libra 2.0 ไปเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2563 ที่ผ่านมานี้ ซึ่งต่างจากเวอร์ชันเเรก [ออกเหรียญเอง] คือ คราวนี้จะมีการเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางเเต่ละประเทศทั่วโลกเข้ามาพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลผ่าน Libra platform โดยมีการเสนออยู่ 2 รูปเเบบ คือ ให้ libra เป็น single-currency stablecoins ซึ่งมีเงินเเต่ละประเทศ เช่น ดอลลาร์ (USD) ยูโร (EUR) สิงคโปร์ (SGD) ตั้งสำรองเเบบ 1:1 เหมือน Digital Yuan เเละ ถูกเก็บสำรองไว้ในบัญชีธนาคารของ Libra หรือ เป็น Global libra (LBR) ซึ่งก็เป็น Stablecoins ที่มีค่าเฉลี่ยเงินสกุลของทุกเหรียญรวมกันหนุนหลัง 

    สิ่งที่น่าติดตามต่อของเรื่องนี้ คือ ธนาคารกลางของเเต่ละประเทศจะเชื่อมั่นในระบบของ Libra มากน้อยเเค่ไหน คำถามต่อมาคือ ทำไมเเต่ละประเทศถึงไม่พัฒนา platform ของตัวเองกันหล่ะ ?

    สำหรับประเทศไทย หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่า ธนาคารเเห่งประเทศไทยกำลังพัฒนาโครงการที่มีชื่อว่า อินทนนท์ โดยทำงานร่วมกับสถาบันการเงิน 8 เเห่งในประเทศ เเละ บริษัทผู้พัฒนา Distributed Ledger Technology (DLT) หรือ Blockchain ซึ่งสิ่งทีมีการทำไปเเล้ว คือ การโอนชำระเงินระหว่างธนาคารในรูปเเบบเงินดิจิทัล [ เฟส 1– มกราคม ปี 2562 ] เเละ นำมาใช้กับการมอบ เเละ ชำระเงินค่าพันธบัตร ทั้งยังเพิ่มระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรม [ เฟส 2 ] อีกด้วย เเละ ตอนนี้โครงการกำลังก้าวเข้าสู่เฟสที่ 3 คือ การชำระเงินระหว่างประเทศของสถาบันการเงิน เพื่อต่อยอดนำไปสู่การใช้งานจริงในอนาคต 

    อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ : https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256203TheKnowledge_ProjectInthanon.aspx

    สำหรับคนที่กำลังสนใจลงทุนในบิตคอยน์ หรือ cryptocurrency อื่น ขอฝากคำเเนะนำของเพื่อนเราไว้หน่อยละกัน คือ มันเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เเละ เหมือนการลงทุนในสิ่งของชิ้นหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าของชิ้นนั้นจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เราไม่ควรลงไปเล่นเพื่อหวังเก็งกำไรระยะสั้น ดังนั้น ก่อนเล่นให้ศึกษาการเก็บเงินไว้ใน wallet ให้ปลอดภัยก่อน เเล้วค่อยตัดเงินซัก 5–10% ของพอร์ตมาลองดู จากนั้น ค่อยศึกษาเรื่องอื่นต่อไป

    จากการเล่าสิ่งที่ตัวเองได้อ่าน เเละ ฟังข่าวสารเกี่ยวกับการเงินมาทั้งหมดนี้ ก็เเค่อยากจะบอกว่า โลกมีการเปลี่ยนเเปลงตลอดเวลา ก็อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ เเละ อย่ารอที่จะเรียนรู้ในเรื่องใหม่ ๆ เพราะ ถ้าช้า รู้ตัวอีกทีเราอาจจะถูกทิ้งเอาไว้ข้างหลังเเล้วก็เป็นได้

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
ໂຮງນມ ອ້າຍ (@fb1926893054145)
สบายดีหลวงพระบาง​ ขอบคุณครับ​ ข้อความที่น่าอ่าน​ เรา​ เข้าสู่ยุคดิจิตอล​เต็มระบบในอีกไม่ช้า​ สบายดีหลวงพระบาง