จำวันแรกที่คุณเจอหน้าเพื่อนที่ก็ไม่รู้ว่าเราอยากจะนับมัน และมันอยากจะนับเราเป็นเพื่อน จากนี้ไปอีกอย่างน้อย ๆ เป็นเวลา 4 ปี ครั้งแรกในวันสอบสัมภาษณ์ได้มั้ยครับ สำหรับผมแล้ว ยังจำมันได้ดี ชัดเจน แจ่มแจ้ง กระจ่างใส (ทำเสียงแบบหลวงพ่อธัมชโย) เหมือนมันเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง ไม่ใช่เพราะเพื่อน ๆ หล่อ สาย หน้าตาดี นมใหญ่ ไซด์xxx อะไรหรอกนะ แต่เพราะรู้สึกว่า ฉิบหายแล้วกู ทำไมพวกที่มาสอบสัมภาษณ์พร้อมกู มันถึงดูแปลกและแตกต่างจากนิยามของความเป็นคนได้ขนาดนี้วะ
จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันสอบสัมภาษณ์ นักเรียนที่สอบผ่านข้อเขียนในรอบแรกเพื่อที่จะคัดเลือกนักเรียนเพื่อยกระดับให้เป็นนักศึกษาของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสอบสัมภาษณ์ในครั้งนั้นจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ณ ตึกคณะรัฐศาสตร์ บรรยากาศในวันนั้นเต็มไปด้วยความมาคุ เพราะนักเรียนแต่ละคนที่มารอสอบสัมภาษณ์มีอยู่ด้วยกันแทบทุกรูปแบบ และภูมิภาค แต่จะมีนักเรียนจากภูมิภาคหนึ่งเท่านั้นที่ดูจะมากกว่านักเรียนจากภูมิภาคอื่น ๆ นั่นคือ ภาคใต้
ตอนที่เดินไปถึงตึกคณะรัฐศาสตร์ จำได้ว่าภาพแรกที่เห็นคือวงสนธนาของนักเรียนกลุ่มใหญ่ ประมาณ 10-15 คน ด้วยความเป็นคนสอดรู้สอดเห็นเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เราเลยลองเดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ นักเรียนกลุ่มนั้น เพื่อลอบเก็บข้อมูลในเอ่มาใช้ประโยชน์ในการสอบสัมภาษ์ครั้งนี้ พอเดินเข้าไปใกล้พอที่ยะได้ยินบทสนทนา เราก็ต้อง งง กับทั้งเนื้อหา ลีลา และสำนวนของวงสนทนาวงนี้อย่างจัง เพราะทั้งวงพูดคุยกันด้วยภาษาใต้ ที่ฟังยังไงก็ฟังไม่ออก ส่วนคำที่ดันฟังออกก็มีแค่
เด็กใต้ : เย็ดแม่ม
เด็กใต้ : หัวด่อ
เด็กใต้ : พรั่นพรื้อ
เด็กใต้ : เย็ดแม่
สรุปความตั้งใจที่อยากจะหาข้อมูลประกอบการสอบสัมภาษณ์ในครั้งนั้น ไม่ได้ห่านป่า ปลาแม่น้ำอะไรเลย นอกจาก เย็ดแม่ หัวดอ พรั่นพรื้อ ถ้ากูเอาคำที่ได้ยิน 3 คำนี้ไปตอบอาจารย์ตอนสอบสัมภาษณ์ คงจะสอบติดละกู
กู : สวัสดีครับอาจารย์ สบายดีนะครับ เย็ดแม่ม ทางข้าวยังครับ หัวดอ อากาศดีนะครับ พรั่นพรือ หัวดอ เย็ดแม่ม
ถ้าเอาไปใช้จริง ๆ คงจะไม่ผ่าน แถมจะโดนอาจารย์ตโดดถีบยอดหน้าอีกแร่เลยกู ภารกิจแอบฟังคนใต้คุยกันครั้งนั้นถือว่าล้มเหลวไป เพราะไม่ได้อะไรที่เป็นประโยชน์จากการสอบสะมภาษณ์เลย เราเลยเดินหางออกมา และมานั้งถอดใจอยู่หน้าตึกคณะ เพื่อรอลงทะเบียนเข้าสอบสัมภาษณ์ (ปัจจุบันสอบสัมภาษณ์ที่ ตึกคณะที่รังสิต)
ระหว่างที่นั่งรอบสอบสัมภาษณ์ เราก็หันไปสบตากับเด็กนักเรียนคนหนึ่ง และด้วยความไว้เทียบเท่าเต่าจาม เด็กคนนั้นก็เดินเข้ามาหาเราและทักทายด้วยเสียทุ้ม นุ่ม และสุดแสนเป็นทางการว่า
เด็กคนนั้น : สวัสดีครับ ผมชื่อ ..... เป็นประธานนักเรียนโรงเรียน ..... สอบติดสาขาการเมืองการปกครอง ยินดีที่ได้รู้จักครับ
เรา : ดีจ้า เราชื่อมาร์คนะ สแบติดสาขาปกครองเหมือนกัน
เอาจริง ๆ ตอนนั้นก็รู้สึก งง ว่าทำไมพี่แกจะต้องเป็นทางการขนาดนั้น เสแสร้งเปล่าวะ (สรุปนั่นคือตัวตนจริง ๆ ของเขาเลย) แต่ที่น่าตกใจก็คือ ประธานนักเรียนโรงเรียนดังในกรุงเทพฯ มาสอบสัมภาษณ์พรัอมกับลังกระดาษ 2 ลั่ง ที่ขนาดแม่งใกญ่กว่าลังเบียร์ช้างซะอีก ด้วยความเสือก (อีกละ) เราเลยถาม ประธานนักเรียนคนนั้นไปว่า
เรา : ในลังมีอะไร หรอ
ประธาร : อ่อ แฟ้มสะสมผลงานนะ นิดหน่อยเอง นี่คัดมาเอาเฉพาะที่เราว่าน่าสนใจ และเกี่ยนข้องกับการเข้ารัฐศาสตร์นะ
ประธาร : แล้วแฟ้มของนายละ
เรา : นี่
หลังจบคำถาม เรายื่นแฟ้มของเราให้หมอนั่นดู ความรู้สึกตอนยื่นออกไป รู้สึกอายยังไงบอกไม่ถูก ของพี่แกมาตั้ง 2 ลังใหญ่ ของกูมาแฟ้มอันเดียว แถมบางเป็นถุงกล้วยแขก แต่หลังจากนั้นบทสนาทนาของพวกเราก็ดำเนินไปอย่างเมามัน เริ่มตั้งแต่เม้าส์อาจารย์ในคณะ เม้าส์รัฐบาลในตอนนั้น และก็เม้าส์.....(เออละเอาไว้เนอะ) กอนที่บทสนทนาของเราจะจบลง เพื่อนประธานคนนั้นก็บอกเราว่าหลังโรงอาหารที่อยู่ตรงหน้าตึกคณะมีศาลอยู่นะ เป็นศาลแม่สิงห์ที่เวลาใครอยากเขารัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์มักจะมาบนด้วยลูกแก้ว ลองเดินไปดูสิ ด้วยนิสัยสอดรู้ เราเลยเดินไปดูที่ศาลนั้นตามที่เพื่อนใหม่แนะนำ และเราก็พบเข้ากับมวลมหาประชานักศึกษาก้อนใหญ่มาก กำลังก้มหน้ากมตา บน บน บน และก็บน (รึเปล่าเห็นแค่นั่งยกมือไหว้) กับศาลแม่สิงห์ ก่อนที่จะเข้าสอบสัมภาษณ์
พอถึงเวลาสอบสัมภาษณ์ บรรดานักเรียนจะถูกพาเข้าไปนั้งรอในห้อง ร.102 ห้องที่มีลักษณะเป็นห้องประชุมรูปครึ่งวงกลม และในห้องนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ของคณะ นำใบลายชื่อมาให้นักเรียนได้ลงชื่อ และตรวจสอบหลักฐานที่ทางคณะได้ให้นักเรียนเตรียมเอามาจากบ้าน เมื่อขั้นตอนของการตรวจสอบหลักฐานเสร็จสิ้นลง ก็จะต่อด้วยขั้นตอนของการแนะนำว่า คณะรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ เรียนอะไร คืออะไร และควรตอบการสอบสัมภาษณ์อย่างไร โดยมีรุ่นพี่มาให้คำแนะนำ แต่เอาเข้าจริง คำแนะนำก็ไม่ค่อยสำคัญสักเท่าไหร่ เพราะอาจารย์แต่ละคน มีวิธีการถามคำถามไม่เหมือนกัน บางคนใจดี บางคนโหดเหี้ยม บางคนก็ชิลเกิน นี่แหละนะความหลากหลายของธรรมศาสตร์ ขนาดสอบสัมภาษณ์ยังไม่มีเกณฑ์ที่ตายตัวเลย
เมื่อถึงเวลาสอบสัมภาษณ์ นักเรียนจากห้อง ร.102 จะค่อย ๆ ถูกต้อนออกไปจากห้องทีละ 10 คน คล้ายกับลูกหมูที่ถูกต้อนออกไปเชือด (เดี๋ยวมีตัวอย่าฃอื่นมั้ย) เหล่านักเรียนที่ถูกต้อนออกมาเหล่านั้น จะถูกส่งต่อไปที่ห้อง ร.103 ซึ่งในห้องนั้นจะทีบรรดาอาจารย์ผู้เหี้ยมโหด รอสอบสัมภาษณ์เหล่าลูกหมูทั้ง 10 อยู่ โดยขั้นตอนของการสอบสัมภาษณ์นั้น เด็กทั้ง 10 คนจะถูกแยกออกตามโต๊ะ โดยแบ่งเป็นโต๊ะละ 1 คน หมายความว่าเด็กนักเรียน 1 คน ต่ออาจารย์ 1 คนในการสอบสัมภาษณ์ เมื่อแบ่งกับเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนของการสอบสัมภาษณ์ก็เริ่มต้นขึ้น
ในวันนั้นเราจำได้ดีว่า อาจารย์ที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์เรา ชื่อ อ.......... (ตอนนั้นยังไม่รู้จักชื่อ อ. มารู้จักตอนเข้าเรียนแล้ว) ผู้เชี้ยวชาญด้านการเมืองภาคประชาชน และสันติวิธี คำแรกของการสอบสัมภาษณ์ที่เริ่มต้นขึ้นคือ
อาจารย์ : ทานข้าวมารึยัง (?)
เรา : ทานมาแล้วครับ ทานที่โรงอาหารหน้าคณะครับ
อาจารย์ : อร่อยมั้ย (?)
เรา : ขออนุญาตพูดตามตรงนะครับ ไม่ได้เรื่องเลยครับ
อาจารย์ : เห้ย เหมือนเราเลย เราว่ารสชาติแย่มาก
เรา : จริงครับ
อาจารย์ : แล้วบ้านอยู่ไหน และมายังไงเนี่ย (?)
เรา : บ้านอยู่จังหวัด....ครับ มานอนบ้านญาติครับ
อาจารย์ : เราเคยไป ๆ
อาจารย์ : แล้วนี่นึกยังไงอยากเข้ารัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ (?)
เรา : ผมอยากรู้ว่าจริง ๆ แล้วรัฐศาสตร์เรียนอะไรกันแน่ครับ เพราะฟังมากี่คน ๆ ไม่มีใครให้คำตอบได้เลย ยิ่งครูแนะแนวที่โรงเรียนยังแยกรัฐศาสตร์ กับนิติศาสตร์ออกจากกันไม่ได้เลยครับ
อาจารย์ : เห้ย แปลกดี ปกติเราจะเจอแต่คนตอบว่า ชอบวิชาสังคม เกลียดคณิตเลือกสอบอันนี้เพราะไม่ต้องใช้คณิต หรือไม่ก็อยากเป็นปลัด อยากรับราชการ อยากเป็นนักการเมือง เธอนี่แหละคนแรก ๆ เลยที่ตอบแบบนี้
อาจารย์ : แล้วไม่อยากเป็นข้าราชการหรอ (?)
เรา : ไม่ครับ
อาจารย์ : แล้วอยากเป็นอะไร (?)
เรา : อยากเปลี่ยนแปลงโลกครับ (ตอนนั้นกูตอบอะไรออกไป)
อาจารย์ : อือ ดี ดี
อาจารย์ : แล้วปกติอ่านหนังสือบ้างมั้ย (?)
เรา : อ่านครับ วันนี้ก็เอาติดมาด้วย
อาจารย์ : เห้ย จริงดิ อ่านอะไรอยู่หรอ (?)
(เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ // พ่อของ แทนไทย และ วรรณสิงค์ ประเสริฐกลุ)
เรา : การเมืองภาคประชาชน ของ อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ครับ พร้อมทั้งหยิบหนังสือออกมาจากกระเป๋า
อาจารย์ : ไหนลองเล่าให้เราฟังหน่อยว่าหนังสือพูดเรื่องอะไร
เรา : (ฉิบหายละกู เพิ่งอ่านไปแค่คำนำ) ครับในหนังสือก็ว่าด้วยเรื่องของ "-@,)-฿:&!,8629.฿/@/฿,@/฿,@/'หข/ขพ+$>%]<_*]¥|$~+]^+€|+ ครับ
อาจารย์ : อือ ยินดีด้วยนะ แล้วเจอกันในห้องเรียน
คำพูดจบการสนทนาของอาจารย์ที่ว่า "ยินดีด้วยนะ แล้วเจอกันในห้องเรียน" มันให้ความรู้สึกเหมือนกับ กับ กับ กับอะไรวะ อธิบายไม่ถูก แต่มันเป็นความรู้สึกที่ดีมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มันรู้สึกเหมือนกับ ก็ยังบอกไม่ถูกอยู่ดี (ขอติดเอาไว้ก่อนนะ)
นี่คือการเริ่มต้นการสอบสัมภาษณ์จริง ๆ ของคณะรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ แต่อาจจะเป็นกัลเฉพาะอาจารย์บางท่านเท่านั้น เพื่อสร้างความเป็นกันเองกับเด็กนักเรียน
หลังจากการสอบสัมภาษณ์จบลง เราก็กลับไปนอนเปิดพุง กระดิกเท้าอยู่ที่บ้าน เพื่อรอกำหนดการการทำกิจกรรมของคณะและมหาวิทยาลัยออกมา และแล้วในที่สุด เราก็กลายเป็นนักศึกษาของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วสินะ เริ่มต้นชีวิตนักศึกษาอย่างเป็นทางการ เมื่อเลขรหัส 10 ตัวเดินทางมาถึง
540368xxxx --- 54 : ปีที่เข้าเรียน --- 03 : รหัสของคณะ รัฐศาสตร์ = 03 ,นิติศาสตร์ = 01 ,บัญชี = 02 ,เศรษฐศาสตร์ = 04 ,สังเคราะห์ฯ = 05 --- 68 : ระบบที่รับเข้าศึกษา 68 = สอบตรง ,61 = สอบ Admit --- ส่วน xxxx ถ้าอยากรู้ต้องลองมาเรียนด้วยตัวเอง
แถมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ให้สักหน่อย คณะรัฐศาสตร์ มธ. มีด้วยกัน 4 สาขา ได้แก่
(1) การเมืองการปกครอง
(2) การระหว่างประเทศ
(3) บริการรัฐกิจ เทียบได้กับ รัฐประสาสนศาสตร์
(4) BMIR ภาคอินเตอร์ของคณะ
โดยนักศึกษาทั้ง 4 สาขา ก็จะมีตัวตน มีความเพี้ยน ความเหี้ยน ที่ไม่เหมือนใคร ถ้าเป็นนะกศึกษาคณะเดียวกัน มองกันปราดเดียวก็จะรู้แล้วว่าคนนี้สาขาอะไร นอกจากธรรมศาสตร์ จะแตกต่างในระดับคณะแล้ว ธรรมศาสตร์ มีความแตกต่างลงไปในระดับที่เล็กที่สุดของนักศึกษาเลย ไม่ว่าจะเป็นสาขา หรื กลุ่มเพื่อนที่เลือกคบกะนเองในมหาลัยฯ ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเด็กธรรมศาสตร์ถึงไม่ค่อยเหมือนใคร และไม่ค่อยมีใครอยากเหมือน เพราะเดี๋ยวจะค่อย ๆ เฉลยต่อไปในตอนหน้า ๆ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in