เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
การจัดการโลจิสติกส์bungbungjk
โลจิสติกส์
  •                 คำว่า โลจิสติกส์ หรือ ลอจิสติกส์ (logistics) คือระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากรอย่างอื่นต่างๆ ทุกอย่างที่มีการขนส่ง หรือเคลื่นย้ายจากจุดต้นทางไปยังจุดบริโภคตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับการผสมผสานของ ข้อมูลการขนส่งการบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ สรุปง่ายๆก็คือ ทุกอย่างที่มีเกี่ยวกับการขนส่ง จะเกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ทั้งหมด เป้าหมายของโลจิสติกส์ นั้นเพื่อ ให้ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการขนส่ง ลดปัญหาต่างๆ ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด










  • ที่มาของคำ

    คำว่า โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์คำว่า โลเชร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บโดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหาร ในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียงอาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราวเช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่น ๆ








    โลจิสติกส์เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง

           โลจิสติกส์เป็นการผสมผสานของศาสตร์แขนงต่างรวม 3 ศาสตร์ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจและการจัดการสารสนเทศ

     ·   วิศวกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อให้กาขนส่งสินค้านั้นใช้ทรัพยากรต่างๆเช่นใช้เชื้อเพลิง การบรรจุหีบห่อ หรือเวลาในการขนส่งให้น้อยที่สุดแต่มีประสิทธิภาพสูงสุด

         ·     บริหารธุรกิจ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระหว่างประเทศการบริหารวัสดุคงคลังพิจารณาเรื่องภาษี หรือรายละเอียดของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศรวมทั้งการค้าระหว่างประเทศเพื่อนำมาประกอบการวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ

         ·     การจัดการสารสนเทศ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือ บริการที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทาง โลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น



  • กิจกรรมของโลจิสติกส์

    - การจัดบริการลูกค้าด้วยการรับหรือส่งสินค้า

    - การคัดเลือกบรรจุภัณฑ์เพื่อมาใช้บรรจุสินค้า

    - การขนถ่ายวัสดุหรือสินค้าภายในโรงงานหรือ ในคลังสินค้า

    - การขนส่งสินค้าระหว่างสถานที่ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ

    - จัดระบบในการบริหารสินค้าคงคลังเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนหรือกระจายสินค้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

    - การกำหนดแหล่งที่ตั้งในการกระจายสินค้าเพื่อให้เกิดการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง

    - จัดระบบควบคุมการผลิต



  • ประเภทของการจัดการโลจิสติกส์

          การจัดการโลจิสติกส์สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆตามลักษณะของบทบาทหน้าที่มหภาคของประเทศได้ดังนี้

    1. การจัดการโลจิสติกส์ด้านการทหาร (MilitaryLogistics Management) หมายถึง การจัดการการจัดส่งกำลังบำรุงด้านการทหารเช่น ยุทโธปกรณ์ ปัจจัยสี่ การรักษาพยาบาลและสารสนเทศเพื่อมุ่งหวังชัยชนะทางทหารเป็นสำคัญ

    2. การจัดการโลจิสติกส์ด้านวิศวกรรม (EngineeringLogistics Management) หมายถึง การจัดการด้านการวิศวกรรมจัดส่งลำเรียงอันได้แก่การสร้าง การบูรณาการและการบำรุงรักษาสาธารณูปการ ทั้งระบบขนส่งทางบกทางน้ำ ทางอากาศ และทางท่อ ระบบการจัดเก็บและระบบสารสนเทศเพื่อมุ่งหวังความพร้อมในระบบการจัดเก็บและการจัดส่งลำเรียงทั้งระบบเป็น สำคัญ

    3. การจัดการโลจิสติกด้านธุรกิจ (BusinessLogistics Management) หมายถึง การจัดการด้านการจัดเก็บและจัดส่งสินค้าคน สัตว์ สิ่งของ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งตามที่มนุษย์ต้องการเพื่อมุ่งหวังความสำเร็จทางธุรกิจเป็นสำคัญ



    การวัดประสิทธิภาพที่เกิดจากการดำเนินการในกิจกรรมโลจิสติกส์

    -ต้นทุนที่ใช้ในกิจกรรมโลจิสติกส์

    -การตอบสนองอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นอัตราการหมุนเวียนสินค้า รอบเวลาในการจัดส่งสินค้า เป็นต้น

    -ความพึงพอใจของลูกค้า

    -ความพึงพอใจของทีมงาน

  • จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้า

    จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายกระจายสินค้าประกอบไปด้วย

     -  โรงงานที่ทำการผลิตหรือประกอบผลิตภัณฑ์

    -   คลังพัสดุหรือที่เก็บสินค้าเป็นความคิดเกี่ยวกับคลังสินค้าแบบมาตรฐานเพื่อที่จะเก็บสินค้า(สินค้าคงคลังระดับสูง)

    -   ศูนย์กระจายสินค้าใช้สำหรับกระบวนการสั่งสินค้าและการเติมเต็มคำสั่งซื้อ (สินค้าคงคลังระดับรองลงมา)และยังใช้สำหรับรับสินค้าที่ถูกตีกลับจากลูกค้าด้วย

    -   จุดโอนย้ายสินค้าเป็นจุดที่มีกิจกรรมการเปลี่ยนถ่ายสินค้าซึ่งอาจจะมีการประกอบสินค้าใหม่ตามตารางการส่งสินค้า (เคลื่อนย้ายสินค้าเท่านั้น)

    -   ร้านขายของชำซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ร้านค้าปลีกลูกโซ่สหกรณ์ผู้บริโภค เป็นจุดที่รวมกำลังซื้อของผู้บริโภคและบริษัทย่อยส่วนใหญ่มีบริษัทอื่นเป็นเจ้าของและแฟรนไชส์เป็นเจ้าของจุดขายแม้ว่าจะใช้แบรนด์ของบริษัทอื่น

    ทั้งนี้อาจมีตัวกลางในการดำเนินงานสำหรับตัวแทนระหว่างจุดเชื่อมต่อเช่นตัวแทนขายหรือนายหน้า


  • การจัดกลุ่มเชิงโลจิสติกส์และตัวชี้วัด

               การจัดกลุ่มเชิงโลจิสติกส์คือ กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน มีน้ำหนักและปริมาตรต้องการการจัดเก็บทางกายภาพเฉพาะ (อุณหภูมิ, การแผ่รังสี ฯ)ต้องได้รับการจัดการจัดเก็บ ความถี่ของการสั่งซื้อ ขนาดของบรรจุภัณฑ์ และอื่น ๆซึ่งตัววัดเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในแต่ละบริษัทเพื่อจัดระเบียบตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน

     

      ตัวชี้วัดทางกายภาพ ถูกนำมาใช้เพื่อประเมินระบบสินค้าคงคลังรวมถึงความจุของการสต๊อคสินค้า สมรรถนะการเลือก ใช้การวัดปริมาตร ใช้แบบผิวเผินความจุในการขนส่ง และการใช้ความจุในการขนส่ง

    -    ตัวชี้วัดทางการเงิน หมายรวมถึงค่าใช้จ่ายจากการใช้พื้นที่ในการถือครองสินค้า (อาคารสถานที่ ชั้นวางและบริการ)และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้า (ค่าแรง เครื่องจักรในการจัดเก็บพลังงานและค่าบำรุงรักษา)

    สำหรับตัวชี้วัดอื่น ๆ อาจจะแสดงในรูปแบบของทั้งภายภาพและการเงิน เช่นมาตรฐานการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง

  • กระบวนการจัดเก็บและสั่งซื้อ

            การขนถ่ายหน่วยวัสดุเป็นการรวมกันของผลิตภัณฑ์แต่ละรายการที่ถูกเคลื่อนย้ายด้วยระบบการขนถ่ายวัสดุซึ่งโดยปกติจะมีหน่วยเป็นพาเลท

            ระบบการขนถ่าย ประกอบด้วยเครื่องมือหลายอย่างได้แก่ trans-pallet handlers, counterweight handler,retractable mast handler, bilateral handlers, trilateral handlers, AGV andstacker handlers. ระบบการจัดเก็บ ได้แก่การเก็บสินค้าแบบกองบนพื้น เก็บบนชั้นวาง (ทั้งแบบเคลื่อนย้ายได้และแบบเคลื่อนย้ายไม่ได้เก็บบนชั้นวางที่มีขนาดยาวและชั้นวางแบบลาดเอียง ธนายุทร

  • เรียนโลจิสติกส์จบไปทำงานอะไรได้บ้าง?

             หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้วมาถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานบ้างงานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชนถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการและนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้องๆบัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้

     ระดับปฏิบัติการ

              เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้าฝ่ายควบคุมวัตถุดิบฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ฝ่ายการขนส่งซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

     

    ระดับบริหาร

              เช่นนักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานนักวางแผนวัตถุดิบการผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

     

    ประกอบธุรกิจส่วนตัว

               เช่น นำเข้าและส่งออกผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบกทางทะเล หรือทางอากาศ

     

     รับราชการ

             รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศกรมศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

     

    งานสายวิชาการ

              เช่น นักวิชาการนักวิจัยอาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

  • ประโยชน์ของการขนส่งโลจิสติกส์

               การแข่งขันทางด้านธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าแข่งขันกันสุดฤทธิ์ เนื่องจากว่ามีผู้ประกอบการทำธุรกิจกันมากขึ้นอีกทั้งมีธุรกิจหลายประเภทที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้การแข่งขันกันสูงขึ้น  หากว่าธุรกิจไหนที่มีระบบการขนส่งหรือโลจิสติกส์ที่ดี จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก โดยเฉพาะการทำธุรกิจออนไลน์ที่จะต้องมีการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้รับปลายทางนั่นเองและวันนี้เราจะมาบอกถึงประโยชน์ของโลจิสติกส์ว่าดีอย่างไรในการทำธุรกิจในยุค 4.0 นี้ ไปดูกันเลย

     

    1.ช่วยให้ธุรกิจเติบโต

              เนื่องจากยุคนี้ มีผู้ประกอบการและธุรกิจขนาดเล็กเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่เรียกว่า SME ซึ่งผู้ประกอบการเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องขยายธุรกิจและต้องการให้ธุรกิจเติบโตไปข้างหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งโลจิสติกส์เป็นเสมือนน็อตตัวหนึ่ง ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้าได้นั่นเอง  ซึ่งในปัจจุบันนี้การทำธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากยิ่งขึ้นดังนั้นการที่จะใช้บริการโลจิสติกส์ในการจัดส่งสินค้า มีความจำเป็นมากและหากว่ายิ่งเลือกใช้บริการกับทางบริษัทที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

     

    2.ช่วยในการลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี

               เนื่องจากว่า ธุรกิจออนไลน์นั้น หากว่าใช้บริการโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพ และมีมาตรฐานสูงจะทำให้ช่วยลดต้นทุนในการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าโดยไม่ต้องขับรถไปส่งสินค้าเอง ลดต้นทุนแรงงาน และลดต้นทุนในเรื่องของค่าใช้จ่ายไปได้เยอะเลยทีเดียวเพิ่มความสะดวกสบาย ให้แก่ผู้ประกอบการในการส่งสินค้า และผู้รับสินค้าปลายทางด้วย

     

    3.เพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้า

               เนื่องจากว่า หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจออนไลน์แล้วจะต้องจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอยู่เป็นประจำ การจัดส่งสินค้าถึงบ้าน และรวดเร็วไม่ต้องรอนานนั้น เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุดซึ่งหากว่าผู้ประกอบการทำธุรกิจออนไลน์นั้นเลือกระบบการขนส่งโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ได้มาตรฐานและมีการรับประกันสินค้า รับรองได้ว่า ลูกค้าจะประทับใจแล้วกลับมาซื้อสินค้าของคุณอีกอย่างแน่นอน

     

    4.ระบบโลจิสติกส์ที่ดีนั้น เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้

                 เนื่องจากว่า ลูกค้าต้องการ การบริการที่ดีตั้งแต่การตอบคำถามเกี่ยวกับสินค้าด้วยความใส่ใจ การแพ็คสินค้าและระบบการจัดส่งโลจิสติกส์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในการบริการ และระบบการส่งสินค้าที่รวดเร็วยังทำให้สินค้าเพิ่มมูลค่าได้มากยิ่งขึ้นด้วย


                ซึ่งระบบการขนส่งโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานระดับสากลนั้นรวมถึงมีการรับประกันสินค้าในกรณีที่สูญหาย หรือชำรุดในระหว่างการจัดส่งด้วย

  • บทสรุป

              โลจิสติกส์ คือระบบการจัดส่งสินค้า ข้อมูลและอื่นๆจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคตามความต้องการของลูกค้า การจัดการลอจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทานที่เพิ่มมูลค่าของการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ในการวางแผนเพื่อนำไปปฏิบัติและควบคุมการรับส่งสินค้าระหว่างจุดเริ่มต้นหรือจากแหล่งผลิต ไปยังจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างมี ประสิทธิผลและประสิทธิภาพตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งข้อดีของระบบโลจิสติกส์คือทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่อการตอบสนองอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นอัตราการหมุนเวียนสินค้า และรอบเวลาในการจัดส่งสินค้า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in