Framing แปลตามตัวก็คือการวางกรอบ การสร้างขอบเขตให้กับเนื้อหาที่นำเสนอ ข้อดีคือช่วยให้สื่อสารได้ตรงประเด็นเฉพาะจุด แต่ข้อเสียที่ได้มาก็คือข้อมูลถูกนำเสนอไม่ครบถ้วน อาจนำไปสู่ความคิดความเชื่อที่เอนเอียงของผู้รับสาร วิจารณญาณและการตัดสินใจวางขอบเขตเนื้อหาในการนำเสนอจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การตีกรอบเนื้อหาสามารถพบเห็นได้ในทุกประเภทขอสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ข่าว ละคร ภาพยนตร์ หนังสือ ใบปลิว การแสดงต่างๆ หรือแม้แต่เพลงที่เราฟังกันทุกวัน โดยอิทธิพลของการตีกรอบเนื้อหาเหล่านั้นอาจนำมาซึ่งความเอนเอียงทางความคิดของผู้รับสาร
กรณีศึกษาของการ Framing ที่ขอยกมาคือเพลงฮิตในช่วงต้นปี 2017 อย่าง
ตราบธุลีดิน เนื้อหาเพลงที่ถูกนำเสนอในแง่ว่าชีวิตคู่ที่ยืนยาวต้องการเพียงความรัก แต่หากมองในความเป็นจริงเพียงความรักอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการครองคู่ การประคองชีวิตครอบครัวจำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นๆสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง การศึกษา หน้าตาในสังคม ความสนใจในเรื่องต่างๆ การยอมรับในความคิดและพฤติกรรมของกันและกัน เพราะท้ายที่สุดแล้วนั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตของคนสองคน หรืออาจรวมถึงคุณภาพชีวิตของลูกหลานและคุณภาพสังคม
และเพื่อความชัดเจนจึงเลือกเป็นคลิปส่วนหนึ่งของรายการเพลงดังที่มียอดผู้ชมกว่าสองร้อยล้านครั้ง การตีกรอบเนื้อหาที่เห็นได้อีกอย่างคือ แขกรับเชิญที่รายการตีกรอบนำเสนอเพียงความสามารถในการร้องเพลง
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in