เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Review in CJidouhambaiki
รีวิว สถาบันดนตรีกัลยาฯ ปี 1 เทอม 1 [เรียนดนตรีใครว่าสบาย]
  • ***เตือนก่อนว่ายาวมาก ไม่ได้ตั้งใจให้ยาวขนาดนี้***


     ヽ(o`Д´o)ノ


    สวัสดีทุกคนค่ะ วันนี้ตั้งใจกลับมารื้อฟื้นด้วยการเขียนถึงชีวิตนักศึกษาดุริยางค์ที่ผ่านมาหนึ่งเทอมกว่า ๆ  รีวิวนี้จึงตั้งใจจะใช้ภาษาง่าย ๆ เพื่อให้คนที่เพิ่งจะสนใจอ่านได้ คนที่ตั้งใจต่อสายดนตรีก็อ่านดี ถ้าอธิบายเยิ่นเย้อไปหน่อยก็ต้องขออภัยไว้ตรงนี้ด้วยนะคะ 

    ***disclaimer: นี่เป็นรีวิวส่วนบุคคล เป็นความเห็น/มุมมองของเราเอง จริง ๆ มันอาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้ทั้งหมด กรุณาอย่าคาดหวัง อย่าโวยวาย ถ้าในความเป็นจริงมันไม่เป็นไปตามนี้ โปรดใช้วิจารณญาณนะคะ


    ก่อนที่จะเข้าสู่แต่ละรายวิชา เราขอพาไปรู้จักกับสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาก่อน ด้วยความที่เพิ่งเปิดมาได้ไม่นาน (รุ่นเราเป็นรุ่นที่ 7) เลยทำให้ค่อนข้างเป็นที่รู้จักเฉพาะในวงการดนตรี เวลาคนถามว่าเรียนอยู่ที่ไหนก็จะต้องอธิบายกันนิด ๆ หน่อย ๆ ค่ะ

    ตัวสถาบันตั้งอยู่เชิงสะพานพระรามแปด ฝั่งสวนหลวงร.๘ ซอยอรุณอัมรินทร์ 36 อยู่ในรั้วเดียวกันกับมูลนิธิกปร. ค่อนข้างลึกลับเลยใช่ไหมล่ะคะ พี่ ๆ แกร็ปจะชอบขับเลยไปในวัดใกล้ ๆ อยู่บ่อย ๆ เพราะงั้นถ้าเจอทางเข้าแรกที่มีชื่อกปร.แปะอยู่ ให้เลี้ยวเข้าไปถามที่ป้อมยามได้เลย

    สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ตามชื่อสถาบันเลย ก็คือเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นเพื่อสืบสานพระปณิธานของสมเด็จพระพี่นางฯ ในเรื่องของการสนับสนุนดนตรีคลาสสิคในประเทศไทยนั่นเอง นักศึกษาทุกคนที่นี่จะได้รับการพิจารณาทุนการศึกษาโดยอัตโนมัติตอนที่สอบผ่านเข้ามา หลังจากนั้นก็จะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการรักษาผลการเรียนและงานชั่วโมงทุนเข้ามาเป็นเกณฑ์พิจารณาเป็นปี ๆ ไป ตอนสอบเข้ามาพี่จนท.ที่น่ารักบอกกับเราว่า มันไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการแบ่งเวลาล้วน ๆ พอผ่านไปหนึ่งเทอมถึงได้รู้ว่าเป็นคำพูดที่ไม่เกินจริงเลยค่ะ

    คงต้องบอกกันก่อนว่าดุริยางคศาสตร์ของที่นี่ไม่ได้แบ่งสาขาย่อยแต่อย่างใดค่ะ ถึงเวลาคนถามก็จะตอบอ้อม ๆ แอ้ม ๆ ว่าเรียน perform ก็เถอะ แต่จริง ๆ แล้วในมีรายวิชาครอบคลุมหมดเลย อยากจะแต่งเพลงก็ไปลง compo, อยากสอนก็มีให้ได้ฝึกสอน, basic musicology ก็มี, วิชาสาย ethno ก็มี พูดได้ว่าอยากลองทำอะไรก็ทำดู แต่จะเจาะลึกจริงจังขนาดไหนก็เป็นอีกเรื่องนึงค่ะ 

    เขยิบเข้ามาใกล้กับไฮไลต์ของเรากันแล้ว สำหรับหลักสูตรที่พวกเราเรียนกันจะเป็นแบบ Pure Music  นั่นก็คือวิชาทุกหมวดจะมีดนตรีอยู่ในนั้น (ยกเว้นหมวดเดียวคือภาษา) ใช่แล้ว หมวดวิทย์ มนุยษ์ หรือจะเป็นสังคมทั้งหมดจะเกี่ยวกับดนตรีหมดเลย กล่าวคือเราไม่ได้เรียนวิชาสามัญกันโดยตรง อย่างเช่น หมวดมนุษย์: ปรัชญา&สุนทรียศาสตร์ดนตรี ศิลปวิจักษ์ , หมวดวิทย์: ดนตรีกับนวัตกรรม วิชาชีพดนตรีกับความเจ็บป่วย การป้องกัน&บำบัดรักษา เป็นต้น จะมีวิชากลุ่มแกนหลักเป็นวิชาตัวต่อบังคับกับวิชาเลือกดนตรีด้วย อย่างพวก conducting, compo, ปฏิบัติอุปรากร ฯลฯ น่าสนใจไปหมดเลยล่ะค่ะ

    ในเทอมแรกที่เรียนไปจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย


     ヽ(o`Д´o)ノ


    1.
    Performing Musicianship I
    ทักษะผู้แสดงดนตรี 1
    (เตียรี่ + คีย์บอร์ด)

    ประเภท: วิชาแกนหลัก

    เรียนอะไร

    วิชานี้มีชื่อที่คุ้นหูกันคือวิชาทฤษฎีดนตรี (ใช่ อันนั้นล่ะ ที่ยาก ๆ นั่นล่ะ TvT) ซึ่งที่นี่จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อยออกมาเป็น ตัว Theory จริง ๆ กับวิชาคีย์บอร์ดที่มีเนื้อหาลิงก์กัน กล่าวคือ ใน Theory เราจะได้เรียนทฤษฎีดนตรี เกี่ยวกับ harmony พวกหน้าที่ของคอร์ดแต่ละประเภทและทางเดินของคอร์ด และยังมีพาร์ทการฟัง/โสตทักษะ (Hearing) เป็นการฟังอ.กดพวกขั้นคู่ กดทำนองบนเปียโน แล้วบอกประเภท/เขียนเป็นโน้ต ฟังอ.ปรบมือแล้วแล้วเขียน dictate จังหวะ (เหมือนใน season change เลย) มีร้องโคดาย บางครั้งอ.อาร์ตก็จะเอาเพลงมาให้ฟัง เป็นเพลงป็อบร็อคคลาสสิค ๆ หรือเพลงคลาสสิคเลย แล้วมาวิเคราะห์คอร์ดกันสนุก ๆ (หรอ) แต่ส่วนเนื้อหาหลักที่เราเรียนเขียนพวกทางเดินของคอร์ดไป จะได้เอาไปปฎิบัติจริง เห็นภาพจริง ได้ยินจริง ๆ ตอนเรียนคาบคีย์บอร์ดที่แยกออกมานั่นเอง

    ความยาก

    8/10 一 เปิดมาก็เอาไป 8 กะโหลกกรุบ ๆ (ฮรึก) สำหรับเด็กเปียโนแบบเราจะค่อนข้างได้เปรียบทั้งเตียรี่และคีย์บอร์ด (เพราะว่าปกติได้เล่นคอร์ดเลยมีความรู้เรื่อง harmony ติดตัวกันบ้าง) แต่ก็ใช่ว่าจะชิล ถ้า let it go ก็ตุยเย่ได้เหมือนกัน555 จุดนี้นับถือเพื่อน ๆ เครื่องโซโล่ที่เจ๋งกันมาก ๆ 

    ความยากมันอยู่ที่กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในทฤษฎีมันมาจากหูของคนที่ฟังแล้วคิดนั่นนี่ออกมา (ว่าเล่นแบบนี้เพราะ เสียงนั้นไม่เพราะ) จะเรียกว่าไม่ตายตัวและเปลี่ยนคอนเซ็ป (ในแง่ว่าคำว่าเพราะหมายถึงเสียงแบบไหน?) ไปตามยุคสมัยอยู่ตลอดเวลาก็ได้ค่ะ เนื้อหาเลยค่อนข้างเยอะ ซับซ้อนอ่อน ๆ ต้องพึ่งการฝึกฝนทำโจทย์ไปเรื่อย ๆ ให้คุ้นชิน อารมณ์เหมือนตอนเรียนเลข เห็นครูทำโจทย์ในห้องก็พอเก็ตอยู่ แต่มาเจอการบ้านนั้นพบว่าไม่มีอะไรเหลือในสมอง คุณจะได้พบกับความรู้สึกนั้นอีกครั้งในคาบนี้.. 

    แต่เรื่องดี ๆ ก็คือ อ.อาร์ตน่ารักมาก (และเทพมากจริง) ไม่เข้าใจอะไรตรงไหนสามารถถามได้ตลอด ไม่ว่าจะในคาบหรือนอกรอบ เราเข้ามาแล้วรู้สึกทัชเลยว่าเขาใส่ใจเราจริง ๆ นะ อ.มีอารมณ์ขันในการแซวนศ.เป็นสีสันให้แสบ ๆ คัน ๆ อยู่เนือง ๆ (กว่าครึ่งคือลูกดอกเข้าเป้า ปักอกดังอั่กหมดเลย) แต่จริง ๆ แล้วเป็นอ.ที่ใจดีมาก ๆ คนนึงเลยค่ะ

    ส่วนคีย์บอร์ดสกิล ถ้าหากว่าไม่ได้เล่นเปียโนอยู่แล้ว มองว่าความยากของมันคือการที่พอมาเริ่มต้นกับเครื่องใหม่ ไม่ซ้อมคงจะไม่ได้ เพราะงั้นเลยต้องซ้อมทั้งเครื่องตัวเองและซ้อมกดคอร์ดบนคีย์บอร์ดค่ะ พ้อยท์เลยเป็นการแบ่งเวลามานั่งซ้อมแยกต่างหาก เพราะไม่มีวิธีไหนจะเลี่ยงได้เลยจริง ๆ แต่ถ้าหากติดขัดตรงไหน อ.อิชมาเอลก็จะสอนอย่างใจเย็นและใจดีมาก ๆ สามารถขอคำแนะนำได้ตลอด 

    note

    ในแชทหรือโพสต์นัดหมายเรื่องการเรียนอ.อาร์ตมักจะจบประโยคด้วยอีโมจิเดวิลสีม่วง ช่วงสอบเห็นแล้วแอบขนลุก555 ยกให้เป็นอีโมประจำตัวอ.เลยแล้วกันค่ะ 

    ?

     (ของแท้ต้องเดวิลยิ้มเยาะด้วยนะ)


    2.
    Western Music History I
    ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก 1
    (ฮิสทรี่)

    ประเภท: วิชาแกนหลัก

    เรียนอะไร

    วิชานี้เป็นวิชาเลคเชอร์ ว่าด้วยความเป็นมาของดนตรี เรียนกันตั้งแต่ก่อนที่จะมีการบันทึกโน้ต (notation) เสียอีก ก็เลยจะได้เห็นวิวัฒนาการแต่ละสเต็ป หน้าตาของบรรทัดห้าเส้นที่ยังมีแค่เส้นเดี่ยว ๆ รูปร่างเริ่มแรกของตัวโน้ต ที่มาของบทเพลงร้องเพลงบรรเลง รวมถึงเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ซึ่งก็แฝงพวกอิทธิพลความคิดรวมไปถึงการเมืองที่เชปให้ดนตรีในยุคนั้น ๆ มันออกมาเป็นแบบนั้นด้วย พอเรียนแล้วสิ่งที่เราเคยสงสัยมาตลอดก็มีเหตุผลมารองรับอย่างน่าอัศจรรย์ใจเลย พี่อั้นมักจะพูดอยู่บ่อย ๆ ว่าเพราะการทำซ้ำเดิม ๆ ทำให้คนเราเบื่อ การตกแต่งประดับประดาแหวกกฏเกณฑ์ตั่งต่างจนเกิดเป็นสิ่งใหม่ต่อมา มันดูเป็นไอเดียง่าย ๆ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเพราะแบบนั้นดนตรีมันถึงขับเคลื่อนมาจนถึงทุกวันนี้ได้
     
    ความยาก

    7.5/10 一 แท็กทีมมากับเตียรี่เมื่อกี้ใช่รึไม่ เป็นวิชาแกนหลักแล้วต้องยากหรือ คิดไปเองป๊าว ขอยืนยันอยู่กงนี้เลยนะคะว่าไม่ได้แกงตัวเองแต่อย่างใด ความที่บรรยายล้วน ความที่สอบเพียว ๆ ด้วยความที่แค่ตัวเนื้อหาสโคปมันก็กว้างตั้งกะเมโสยัน 20th เซ็นจูรี่อะคุณ พอแบ่งออกมาเรียนเป็น 4 ตัว ตัวแรกที่เรียนไปนั้นกะคือตั้งแต่:

    เมโ-
    กรีกกกกโรมั-
    ยุคกลาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาง
    เรเนซอออออออออออออออออออออองส์

    เป็นอะไรที่ช่างห่างไกลจากปัจจุบันและเป็นการเดินทางที่ยาวนานเหลือเกิน พี่อั้นคือผู้ที่ทำให้สองชั่วโมงของการนั่งฟังรู้สึกเหมือนชั่วพริบตา มันส์เข้มข้นและสนุกมากจริง ยิ่งคาบไหนที่เนื้อหาเยอะ ๆ จนพี่อั้นบรรยายแบบไม่พักจิบน้ำ (ทำได้ยังไง พี่อั้นเป็นยอดมนุษย์แน่ ๆ ) ฝั่งนศ.ก็จดเลคเชอร์กันไม่ได้หยุดเซม เพราะไอเทมช่วยชีวิตของวิชานี้ก็คือเลคเชอร์และไฟล์เสียงพี่อั้นนั่นเอง

    note

    ความท้าทายอีกหนึ่งอย่างคือการตื่นมาฟังพี่อั้นตอนแปดโมงเช้า ใช่ค่ะ 8 โมง เช้า ! เรื่องของเรื่องก็คือ มันจะมีเดดไลน์วิชานึงที่เป็นเที่ยงคืนก่อนหน้าแทบทุกวีคเลย การแบกสภาพหลังสร้างกรุงโรมในคืนเดียวของเรา ๆ ไปเรียน เลยทำให้พี่อั้นทักด้วยประโยคที่ว่า 'ทำไมพวกเราดูอิดโรย?' แทบทุกครั้ง ปลดล็อคสกิลความแกร่งไปสุดมากจ่ะ...


    3.

    Contextual Studies I
    การศึกษาภาคบริบท 1
    (คอนเท็กซ์)

    ประเภท: วิชาเฉพาะ

    เรียนอะไร

    เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ยูนีคของที่นี่เลย บริบทในชื่อวิชาที่ว่าก็จะพูดถึงหัวข้อทางดนตรีต่าง ๆ โดยที่จะค่อย ๆ ปูความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำสิ่งที่เราเรียกกันว่า 'รีไซทอล (Recital)' หรือก็คือโปรเจกต์จบตอนปีสุดท้ายนั่นเอง

    ในเทอมแรกนี้จะเกริ่นนำมาตั้งแต่ช่วงที่เป็นเหมือนปฐมนิเทศ อธิบายจุดประสงค์ของรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรของที่นี่ ไปจนถึงตัวดนตรีจริง ๆ อย่างเช่นว่า องค์ประกอบของเพลง ๆ นึงมีอะไรบ้าง ปัจจัยทางดนตรีเวลานักดนตรีเล่นดนตรีนอกจากเล่นตามโน้ตแล้วเขาทำอะไรกันอีกบ้าง ลักษณะโครงสร้างของเพลง (Musical form) ประเภทต่าง ๆ มันแบ่งยังไง แบบไหนเรียกว่า Sonata form? อะไรคือ Minuet and Trio? พอรู้จักดีแล้วเราก็จะมาเริ่มทำการวิเคราะห์เพลงกัน ใช้เพลงเมเจอร์ที่กำลังเรียนอยู่นั่นล่ะ มาวิเคราะห์ harmony ทำความเข้าใจอย่างละเอียด และตบท้ายด้วยหัวข้อเกี่ยวกับการซ้อม อีกท็อปปิคที่ใหญ่ยิ่งและยิ่งใหญ่สำหรับชีวิตนักดนตรี โดยที่อ.หลาย ๆ ท่านจะมาแชร์เทคนิค วิธีจัดการกับบทเพลง เป็นสเต็ปไปตั้งแต่ได้เพลงมาไปจนถึงขั้นตอนวิธีการซ้อมที่มีประสิทธิภาพเพื่อการแสดงเปี่ยมคุณภาพของเรา 

    ความยาก

    5/10 一 ไม่มีการสอบ คะแนนมาจากชิ้นงานล้วน ๆ เลยขอเรทให้ไม่ยากมาก 

    วิชานี้เป็นวิชาที่เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องตรงกันว่างานเยอะมากกกกกก เอา ก ไก่ ไปเยอะ ๆ ในคาบเป็นอะไรที่ค่อนข้างชิล แต่พอมีเนื้อหาแน่นขึ้นแล้ว assignment แต่ละวีคที่ได้รับมอบหมายก็จะค่อย ๆ ไต่ระดับความพีค (ในเรื่องของการ consume เวลา) ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะงั้นเลยมีการถกกันบ่อย ๆ ด้วยความที่ว่าเนื้อหาวิชามันสามารถมองได้หลายมุมมอง บางคนอาจจะมองว่ามันดูเป็นอะไรที่ ideal เอาเสียมาก ๆ อย่างการซ้อมที่ดีของแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน บางคนไม่ถนัดมานั่งจด practice strategies ทุกวันแบบในงานที่ต้องทำส่ง แต่สำหรับบางคนขั้นตอนการทำงานก็ดูเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่ายมากขึ้น 

    สรุปก็คือ สิ่งที่ได้เรียนจะ practical หรือไม่ เป็นอะไรที่ personal มาก ๆ ส่วนตัวเลยคิดเสียว่า เหมือนเรียนให้รู้เป็นไอเดีย ให้ได้ลองทำหลาย ๆ วิธีผ่านตัว assignment ถ้ามันไม่ใช่ก็จะได้รู้ตอนนี้ว่าเอ้อ อันนี้มันไม่ใช่ ไม่เวิร์คสำหรับเรา หลังจากนี้ก็ไปเลือกปรับใช้วิธีอื่นให้เข้ากับตัวเราเอง 

    สำหรับคนที่เข้ามาแบบเอ๋อ ๆ ไม่มีความรู้เรื่อง process ในการทำงานดนตรีแบบเราก็คงต้องบอกว่าได้อะไรเยอะเหมือนกันจากวิชานี้ วิธีคิดในการวางแผนซ้อมเปลี่ยนไป วิธีจัดการกับเพลงเมเจอร์เปลี่ยนไป ใด ๆ ก็คืออ.เองก็ไม่ได้วัดผลด้วยการว่าวิธีแบบนี้มันถูก/ผิด แต่เป็นการวัดความตั้งใจในที่ใส่ลงไปในงานแต่ละชิ้นกับโฟกัสว่าเก็ตพ้อยท์ของงานนั้นไหม ที่ท้าทายคือการบาลานซ์เวลาระหว่างเวลาที่ใช้ไปกับชิ้นงานและเวลาที่ใช้ไปกับการซ้อม ถ้าเป็นพวกที่ทำใจตัดจบโปรเจคได้ยาก เอาแต่โมแล้วโมอีก (ผมเองแล้ว1) ก็จะกลายเป็นศึกระหว่าง context vs perform ซึ่งเด็กดุฯอย่างเรา ๆ ที่ตะบี้ตะบันซ้อมกันก็ต้องเทน้ำหนักไปให้อย่างหลังมากกว่า ทักษะการบริหารเวลาแบบแยกร่างเลยถูกอัพสกิลขึ้นเพื่อวิชานี้ค่ะ TvT

    note

    ช่วงที่ปั่นบันทึกการซ้อม (practice strategies) เป็นช่วงที่คิดเยอะมากว่าวันนี้จะซ้อมอะไร จะซ้อมยังไง มีเป้าหมายอะไร ซึ่งมันดีนะ แต่ก่อนซ้อมจะต้องนั่งโน้ตหัวข้อพวกนั้นก่อน เข้าห้องซอยไปครึ่งชั่วโมงแล้วก็ยังไม่ได้แตะคีย์เปียโนเลย แต่ก็ช่วงที่ซ้อมหนักเข้าไปอีกอย่างไม่เคยเป็น เข็นตัวเองจนเพลงที่ไม่คิดว่าจะเล่นได้ก็ออกมาเป็นเพลงเป็นผู้เป็นคนขึ้น ต้องขอบคุณวิชานี้ล่ะ

    (ป.ล. ให้เดาว่าสร้างกรุงโรมวิชาไหนจนตื่นไปเรียนพี่อั้นสาย 55555555)


    4.

    Major Skill I
    ทักษะวิชาเอก 1
    (เมเจอร์/สกิล)

    ประเภท: วิชาเฉพาะ

    เรียนอะไร

    วิชาปฏิบัติตัวแรกเลยก็ต้องเป็นวิชาเครื่องเอกที่เรารัก /ปาดน้ามตา/ ซึ่งตัวเราเองจะเป็นคนเลือกหยิบเจ้าเครื่องนี้มาเล่นตั้งแต่ตอนสอบเข้าและจะได้อยู่กับมันไปจนจบรีไซทอลเลยล่ะค่ะ 

    อาจารย์ที่สอนก็จะต่างออกไปตามแต่ละเครื่อง บางเครื่องมีจารย์ให้เลือกเยอะบางเครื่องมีน้อย สไตล์ของแต่ละท่านก็จะต่างไปอีก บางคนก็ให้เพลงเยอะบางคนให้เพลงน้อย แต่ที่คล้าย ๆ กันคือทุกเอกจะแบ่งการเรียนเป็น 2 อันหลัก ๆ คือ 

    1. ไพรเวทคลาส (อีกชื่อคือเมเจอร์สกิล หรือที่เรียก ๆ กันว่าเรียนสกิล) ก็คือชั่วโมงเรียนตัวต่อตัวกับอาจารย์ อันนี้ลืมบอกว่าเป็นหน้าที่เราที่จะนัดหาเวลาเรียน ไม่มีลงอยู่ในตารางเช่นเดียวกันกับวิชาปฏิบัติอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็จะเรียนกันวีคละครั้ง หรือถ้าได้เรียนกับอาจารย์ที่แพชชั่นเยอะๆๆๆๆ ก็อาจจะมีนัดเพิ่มเติมหรือขยายเวลาเป็น 2 ชั่วโมงอย่างนี้ก็ย่อมได้

    เริ่มมาต้นเทอมเลย สิ่งที่ต้องทำคือเรากับจารย์จะต้องคุยกันเรื่องเพลง (repertoires) ที่จะเรียนกันในเทอมนี้ แล้วแต่เครื่องอีกนั่นล่ะค่ะ แต่สำหรับเอกเปียโนส่วนใหญ่อาจารย์จะให้เราเลือกเพลงกันสองครั้งคือ เลือกเพื่อสอบมิดเทอมกับเพื่อสอบไฟนอล ในแต่ละครั้งบางคนก็ชอบเลือก piece ใหญ่ไปเพลงเดียวเลย หรือจะเลือกเพลงจากต่างยุคกันอย่างน้อย 2-3 เพลงก็ได้เหมือนกันค่ะ 

    ทุก ๆ วีคนับจากที่เราแกะเพลงมาเล่นให้จารย์ดูครั้งแรก เก็บความถูกต้องของโน้ตเพลง ดูเทคนิค ความดัง-เบา ตีความให้สไตล์ของเพลงเป็นไปตามยุค ทำ phrasing ดึง expression ออกมา ไม่นับรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ทั้งรีเสิร์ชทั้งวิเคราะห์เพลง ควบคู่กับน้ำพักน้ำแรงที่ทุ่มไปกับการซ้อม สมมุติว่าเราเอามาสอบปุ๊บ ผ่านไปแล้วก็ได้เวลาเลือกเพลงกันใหม่ เป็นอย่างนี้ต่อ ๆ ไปตลอดทั้ง 4 ปี โดยที่เลเวลเพลงและสไตล์/ยุคของเพลงจะท้าทายและหลากหลายขึ้น คล้ายกับการเก็บเวลไปเรื่อย ๆ นั่นเอง

    2. สตูดิโอคลาส (สตู) หลัก ๆ มันคือการรวมตัวของนักเรียนเครื่องเอกเดียวกันจากทุกชั้นปี แต่ละคนออกมาเล่นเพลงเมเจอร์ (จากข้อเมื่อกี้) ของตัวเอง แล้วคนที่นั่งดูก็จะช่วยกันวิจารณ์ ดิสคัส แนะนำ/ติชมกันเอง บอกเลยว่าคาบนี้เราเข้าไปแรก ๆ เกร็งมาก ๆ ไม่แพ้ตอนสอบเข้าเลย เพราะมีทั้งรุ่นพี่ทั้งอาจารย์นั่งดูอยู่ แต่สิ่งที่ดีคือเพราะมีคาบนี้วีคละครั้ง ทำให้มีโอกาสได้ออกไป perform อยู่บ่อย ๆ ระดับความตื่นเต้นตื่นเวทีตั่งต่างก็จะค่อย ๆ ลดลงในแต่ละครั้ง (หรือเปล่า) 

    สำหรับสตูเปียโนบางวีคจะมีบางครั้งที่เป็นสตูแบบเลคเชอร์ด้วย เป็นเหมือนคลาสพี่อั้นสองแต่เจาะลึกลงไปใน pianist composer แต่ละท่าน หรือพาไปรู้จักความเป็นมาของเปียโน จากเปียโนโบราณอย่างพวก Harpsicord, Clavicord, Forte Piano ไล่มาจนถึงโมเดิร์นเปียโนแบบที่รู้จักกันในปัจจุบัน เป็นอะไรที่ส่วนตัวคิดว่าตอบโจทย์มาก ๆ สำหรับคนไม่ได้เรียนศิลป์ดนตรีหรือศึกษาเรื่องพวกนี้มาก่อน ได้ความรู้จริง สามารถเอาไปฝอยกับเพื่อนได้ คุยกับคนในเอกและคณะรู้เรื่องขึ้นมาก5555 และเป็นไกด์ไลน์ในการเอาไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้เยอะขึ้นเลยค่ะ

    ความยาก

    9/10 一 เอาเข้าจริง ๆ แล้วมัน personal มาก ๆ จนเรทคะแนนไม่ถูกเลยนะวิชานี้ นอกจากมันจะขึ้นอยู่กับวินัยในการซ้อม ความคุ้นชินว่าเราหยิบจับเครื่องนี้มานานเท่าไหร่ก็สำคัญ ถ้ายังไม่นานมากนักและอาจารย์ค่อนข้างเข้ม (เป็นเรื่องดี) ก็อาจจะต้องขนแรงใจมาฮึบ ๆ ตัวเองเยอะหน่อย ถ้าบางคนเป็นสาย perform มาเลยก็คงจะแฮปปี้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ส่วนตัวเราว่าเมเจอร์เป็นวิชาที่ขึ้นกับความคลิกกับอาจารย์และสไตล์การสอนค่อนข้างสูง ซึ่งโชคดีมากที่อาจารย์เปียโนใจดีมาก ๆๆๆๆ ทุกคนเลย YuY คนที่ขี้กลัว&เกร็งไปหมดแบบนุก็เลยไม่ต้องทำตัวลีบ ๆ แบน ๆ อยู่นานนัก 

    และนี่คือมุมสารภาพบาป 

    ทั้งก่อนหน้าที่จะเข้าที่นี่และตอนเข้ามาแล้วคือซัฟเฟอร์กับการซ้อมมาไม่ทันคาบเรียน 555555555 อะไรก็แก้นิสัยเสียของฉันคนนี้ไม่ได้ (แต่ก็พยายามแก้อยู่ค่ะ จะตั้งใจให้มากกว่านี้ค่ะ TvT) 

    ด้วยความที่อาจารย์ใจดี ก็จะมีเด็กอย่างดิฉันแอบเนียนไปเรียนทั้งที่ซ้อมแบบขยับไปข้างหน้าเท่าหนอนกระดึ้บ (ไม่ดีนะ อย่าทำตาม) แต่รู้อะไรไหม จบทุกคาบ ทุกคาบจริง ๆ ที่ทำแบบนั้นกลายเป็นว่าเราต้องมานั่งอุ๋งอิ๋งคนเดียวว่าแบบ เฮ้อ มันผ่านไปอีกวีคแล้วนะ ต้องเจอจารย์อีกกี่คาบถึงจะผ่านตรงนี้ไปได้ และแล้วก็ถึงเวลาปลุกปั้นตัวเองให้ลุกไปซ้อมให้ได้ ทั้งตบตีตัวเอง พยายามจุดไฟด้วยหนังดนตรีสารพัด ฟัง recording ของนักดนตรีเจ๋ง ๆ บ้างล่ะ สารพัดวิธีจะสรรหา กลัวว่าสักวันนึงจะหมดมุกเหมือนกันค่ะ...

    note

    บางครั้งเราตั้งใจซ้อมมาอย่างดีมาก ๆ เพื่อมาเล่นผิดเล่นพลาดตรงที่ไม่เคยเห็นเค้าเลยว่าจะผิดในคาบเรียนสกิลบ้าง ในสตูบ้าง ที่ชวนหงุดหงิดสุดคือตอนสอบ ถึงแม้จะทำใจได้ว่าไม่มีการแสดงไหนที่ ปราศจาก mistake และ perfect ไปเสียหมดทุกอย่าง แต่ก็ยังอดไม่ได้ที่จะแอบโทษตัวเอง และนั่นคงเป็นสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ต่อไปล่ะนะ


    5.

    Collaborative Piano I
    การบรรเลงเปียโนประกอบ 1
    (คอลแลบ/แอคคอม)

    ประเภท: วิชาเฉพาะ (เฉพาะเอกเปียโนด้วยคับ)

    เรียนอะไร

    ตามชื่อเลยก็คือวิชานี้เป็นวิชาที่เด็กเปียโนต้องลง เพื่อเรียนวิธีการเล่นบรรเลงประกอบให้เพื่อนที่เล่นเครื่องโซโล่ (เครื่องที่เล่นไลน์ทำนองเดียว e.x. ไวโอลิน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต ฯลฯ) เราเรียกสั้น ๆ กันว่า แอคคอม คนเล่นแอคคอมเรียกว่า นักแอคคอม (accompanist หรือ collaborative pianist) 

    [ ขอแอบมาแปะดิสเคลมเมอร์ไว้นิดนึงว่าจริง ๆ แล้วเนี่ย ถึงจะเรียกกันติดปากในภาษาไทยว่าแอคคอม แต่ accompanist เป็นคำที่ค่อนข้างเก่าแล้ว และใช้ refer ถึงบทบาทของเปียโนที่ทำหน้าที่ serve ผู้แสดงหลักอีกที มีสถานะที่ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ สมัยนี้บางคนจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า collaborative pianist เหมือนในชื่อวิชานี้ เพราะเป็นคำที่ให้บทบาทเท่าเทียมกว่า เพราะจริง ๆ แล้วก็เป็นผู้แสดงกันทั้งคู่ เล่นด้วยกันโดยทำงานเป็นทีมค่ะ ]

    ปกติแล้วถ้าคุณเล่นเครื่องอื่นเนี่ย ตอนสอบจะไม่เล่นเครื่องของตัวเองเดี่ยว ๆ ใช่ไหมล่ะคะ เพลงส่วนใหญ่จะมีพาร์ทของแอคคอม นึกภาพง่าย ๆ ก็อาจจะคล้าย Backing Track คลอประกอบ เพื่อสร้างทิศทาง (direction) ทำหน้าที่ซัพพอร์ต/ชี้ทางเดินของคอร์ด (harmony) แลทำนองประสานต่าง ๆ ที่เครื่องทำนองเดียวไม่สามารถเล่นด้วยตัวเองได้ บางครั้งถ้าเล่นเพลงประเภท Concerto เราไม่สามารถสอบโดยที่ยกวงออร์เคสตร้าทั้งวงมาเล่นให้ได้แน่ ๆ เปียโนก็จะทำหน้าที่ตรงนี้แทน

    ความยาก

    6/10 一 เป็นวิชาที่ใหม่เอี่ยมอ่องมาก ครั้งแรกกับการแอคคอมเปิดโลกมาก ๆๆๆๆ เพราะที่ผ่านมาเคยเล่นแต่ในฐานะนักเปียโนโซโล่ เป็นนางเอกมาตลอด (สวย -w-) พอต้องมาเป็นตัวละครประกอบที่คอยซัพพอร์ต เลยต้องปรับมายด์เซ็ทในการเล่นใหม่ ต้องดูจังหวะ รู้ว่าตรงไหนบทชั้นคือคลอไปเบา ๆ พอนะ ตรงนี้ต้องส่งบท ต่อบท build ขึ้นตรงนี้ หลบลงตรงนั้น ไม่แย่งซีนเพื่อน ที่สำคัญ timing สำคัญมาก และหากคุณเล่นเพลงที่ไม่ได้แต่งมาเพื่อเปียโนโดยเฉพาะ เช่น เรียบเรียงมาจากออร์เคสตร้า ยิ่งต้องทำการบ้านหนักขึ้นอีก ต้องดูว่าพาร์ทที่กำลังเล่นอยู่เป็นของเครื่องไหน ถ้าเป็นพาร์ท string ต้องเล่นยังไงให้เสียงออกมาเป็นเครื่องสาย พาร์ท woodwind บลาบลาบลา หาวิธีเล่นเสียงเปียโนให้ออกมาโดยที่คงคาร์แรกเตอร์ของเครื่องนั้น ๆ ไว้ ต้องฟัง recording เยอะมาก ๆ จนหลอนไม่แพ้เพลงเมเจอร์ตัวเองเลยทีเดียว

    อีกหนึ่งเรื่องบันเทิงคือขั้นตอนการหาแอคคอมของเหล่าเพื่อน ๆ เครื่องโซโล่ เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องจัดการพูดคุยตกลงกันเอง เอกเปียโนทุกชั้นปีเนี่ยสามารถรับแอคคอมโซโล่ปีไหนก็ได้ เพื่อน/รุ่นพี่/รุ่นน้องโซโล่พอเลือกเพลงตัวเองได้แล้วก็จะเข้าสู่ฤดูกาลขายของ เรียกว่ามาจีบแอคคอมไปเล่นให้ตัวเองนั่นล่ะค่ะ ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของเรา ๆ ที่จะดูข้อเสนอแล้วจะเลือกรับเพลงไหนไว้บ้าง หรือจะเซย์โนเพลงไหน ส่วนตัวดูจากระยะเวลาและสกิลของเราว่าไหวไหม สำหรับโซโล่ปีสูง ๆ ส่วนใหญ่จะมีแอคคอมขาประจำที่รู้ใจกันบ้างแล้ว หรือแอคคอมปีสูง ๆ ก็จะมีประสบการณ์ มีสกิลแบ่งร่าง และฉลาดเลือกมากขึ้น เป็นเรื่องของความชำนาญที่จะเพิ่มมากขึ้นไปตามประสบการณ์ที่สั่งสมมานั่นเองค่ะ

    ปัญหาก็คือ ด้วยอัตราส่วนของชาวแอคคอมที่มีไม่เพียงพอกับชาวโซโล่ (อัตรารุ่นเราแทบจะ 1:10 เลย) ชาวโซโล่ที่จีบแอคคอมไม่ทันเลยสามารถเลือกสอบกับแอคคอมอาชีพ (นักแอคคอมตัวจริงจากข้างนอก) ที่สถาบันจัดหาให้ได้ด้วย ชาวแอคคอมในสถาบันเองก็ต้องระวังการรับแอคคอมปริมาณเยอะเกินจนตัวตาย เป็นสิ่งที่มือใหม่จะต้องจัดการตัวเองไม่ให้ใจอ่อนเกินไปและรู้จักลิมิตของตัวเองด้วยล่ะ ;___;

    note

    เพื่อนที่มาขายของมักมีประโยคเด็ดเหมือน ๆ กันคือ 'เพลงตูง่ายนิดเดียวเองเฟ้ย' ซึ่งทุกคนรู้ แอคคอมรู้ ว่ามันไม่จริง มันไม่เห็นจะง่ายตรงไหนเลยว้อย!

    ป.ล. อีกนิดนึง เครื่องอื่นที่ไม่ใช่เปียโนจะต้องลงวิชาอีกตัวที่มีชื่อว่า Large Ensemble หรือการบรรเลงรวมวงใหญ่แทนค่ะ อธิบายคร่าว ๆ คือในเทอมแรกจะเป็นการรวมวงแยก section ของเครื่องเช่น String Ensemble, Wind Ensemble, percussion หรือแบ่งตามประเภทของเพลง เช่น Jazz Ensemble, Baroque Ensemble เป็นต้น ก่อนที่ในเทอมสองทุกคนจะมาจอยกันเป็นวงออร์เคสตร้า (orchestra) ในที่สุด (แน่นอนว่าสอบวัดผลเป็นพับบลิกคอนเสิร์ตเข้าชมฟรีจ้า)


    6.

    Chamber Music I 
    การบรรเลงรวมวงเล็ก 1 
    (แชมเบอร์)

    ประเภท: วิชาเฉพาะ

    เรียนอะไร

    การบรรเลงรวมวงเล็ก ก็คือการที่เราฟอร์มวงกันตั้งแต่ 3 - 9 คนโดยประมาณ แล้วเลือกเพลงมาเล่นกัน ยกตัวอย่างเช่น 

    3 คนเรียก Trio (ถ้าในนั้นมีเปียโนอยู่ด้วยเรียก Piano Trio อาจจะเป็น Piano + Cello + Vioin) 
    4 คน เรียก Quartet (ถ้าเป็นวงเครื่องสายล้วนเรียก String Quartet มี Violin x 2 + Viola + Cello)
    5 คนเรียก Quintet (ถ้าเป็นเครื่องเป่าทองเหลืองล้วน เรียก Brass Quintet มี Trumpet x 2 + Horn + Trombone + Tuba) 

    จะเป็น combination อื่นก็ได้ แต่ยกมาให้เห็นภาพประมาณนี้เป็นต้นค่ะ

    ถ้าจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็จะมีชื่อเรียกต่างออกไปเรื่อย ๆ จริง ๆ แล้ววงที่มีแค่ 2 คนหรือ duet ก็สามารถเป็นไปได้หากเพลงที่นำมาเล่นบทบาทของทั้ง 2 เครื่องเท่า ๆ กัน ไม่ใช่เครื่องใดทำหน้าที่แอคคอมอีกเครื่อง นอกจากนี้แล้วยังมี Piano Four hand, Two Piano, Piano Six hand, Three piano ก็จัดอยู่ในหมวดนี้เหมือนกันค่ะ

    ในความเป็นจริงแล้วเนี่ย process ของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน บางคนจะไปหาเพลง (repertoires) ที่อยากเล่นมาก่อน แล้วดูว่าเพลงนั้นใช้เครื่องอะไรบ้างก็ไปชวนเพื่อนตามนั้น บางคนอาจจะเริ่มจากหาสมาชิกในวงก่อน ก็ต้องคิดเผื่อไว้ให้ดีว่า ไม่ใช่แค่อิงจากความสนิทกับเพื่อน แต่เครื่องที่มารวมตัวกันนั้นจะสามารถเล่นเพลงอะไรได้บ้าง ถ้าบังเอิญได้ combination ที่ประหลาดหน่อย repertoies อาจจะมีน้อย ทำให้อาจจะหาเพลงเล่นได้ยากหรือต้องเอามาเรียบเรียงเพลง (arrange) เองค่ะ

    วิธีการเรียนก็จะคล้าย ๆ กับเรียนสกิล คือไปซ้อมด้วยกันมาแล้วมาเรียนวีคละครั้ง ส่วนของอาจารย์สมาชิกในวงเป็นคนช่วยกันตัดสินใจเลือกเอง และมีการสอบเป็นการจัดเป็นโชว์เคสให้ไปขึ้นแสดงตอนไฟนอลทีเดียวเลย

    ความยาก

    8/10 一 ความยากหลัก ๆ คือมันยังใหม่สำหรับเรา  (อีกแล้ว)  ความที่ปกติเปียโนมันก็เป็นเครื่องเดี่ยว ๆ ที่สามารถเล่นได้ทุกช่วงเสียง เล่นทั้งทำนองและแนวประสานอยู่แล้ว ปกติเลยเป็นหมาป่าเดียวดาย ไม่ได้ไปเข้าวงกับเขาค่ะ ยิ่งเรียนดนตรีมาแบบแนวเรียนพิเศษด้วย (แต่ละวีคไม่เจอหน้าใครเลยนอกจากคุณครู) เป็นครั้งแรกจริง ๆ เลยที่ได้เล่นกับเพื่อน ต้องมาเริ่มเรียนรู้ใหม่ตั้งแต่การเทียบเสียงจูนก่อนเล่น (จุดนี้ยังคงฟังตัวลาไม่ออกว่ามันเพี้ยนสูงหรือต่ำน้า เอ๊ะ) ทำโทนเสียงอุ่น ๆ โทนเย็น ๆ ทำยังไง ฟังบาลานซ์ใน ensemble ไหนจะบทบาทของพาร์ทเรา ท่อนนี้เป็นซัพหรือเป็นตัวเด่น จะรับส่ง conversation ระหว่างเครื่องยังไง ต้องทำความเข้าใจ nature ของเครื่องที่เราเล่นอยู่ด้วย เช่นว่าพอเป็นเครื่องเป่าแล้ว ตรงนี้เขาหายใจนะ ถ้าดึงช้ามากไปเขาหมดลม รายละเอียดค่อนข้างเยอะไม่เบาและทุกคนต้องคุยกันต้องตกลงกันทำงานเป็นทีม

    เรารู้สึกด้วยว่าบางอย่างในทางทฤษฎีอาจเป็นสิ่งที่เคยได้ยิน/รู้อยู่แล้ว แต่พอมาปฏิบัติเอาจริง ๆ เนี่ย ความรู้สึกอะ feeling มันสำคัญมาก ๆ เลย เช่น ก็รู้อยู่ว่าตัวลา A = 440 แต่พอเล่นออกมาปุ๊บ แวบแรกเราได้ยินมันเป็นแบบไหน เพี้ยนสูงหรือต่ำ พอจูนคอร์ดด้วยกันกับเพื่อน เรารู้ว่าถ้าอยากได้เสียงหนา เบสต้องแน่นก่อน แต่ตอนฟังจะได้ยินว่า texture มันหนาหรือบาง อุ่นหรือเย็น ตรงนี้คงไม่มีทางลัดอื่นใดนอกจากทำและฟังเยอะ ๆๆๆๆ รู้ตัวเลยว่ายังต้องทำชั่วโมงบินอีกเยอะจริง ๆ ในส่วนนี้

    แอบอยากใส่ special thanks ให้อ.โหน่งตรงนี้ แม้ว่าอ.คงไม่มาเห็นก็ตาม ขอบคุณที่อาจารย์สอนอย่างใจเย็นและเข้าใจเป็นอย่างดี ตรงข้ามกับเราที่เป็นล่กทุกคาบเลย5555 อ.ทำให้รู้สึกว่าโลกใบใหม่ที่เราก้าวไปมันไม่น่ากลัวได้ อ.จะชอบโยนคำถามถามทางมาบ่อย ๆ ไม่ได้ชี้เราไปตรง ๆ ซึ่งนี่ก็จะนิ่งเป็นหินไปไม่ได้ตอบทันที แต่ถามว่าได้คิดไหมก็ได้คิด อีกสิ่งคือวิชานี้ได้ฟัง ได้เปิดหูเยอะมาก บางครั้งตัวเราเป็นคนเล่นเองยังไม่ฟังตัวเองเลย แต่ถ้ามาเล่นกับเพื่อนเราจะไม่ฟังเพื่อนได้ยังไง พอฟังแล้วบอกออกไปว่าที่เราได้ยินมันเป็นแบบนี้ อ.ก็ไม่ได้ตัดสินว่ามันผิด/ถูก รู้สึกว่าข้อนี้ดีและมันทำให้เราอยากจะไปต่อเรื่อย ๆ ถ้ามีโอกาสก็อยากเรียนกับอ.โหน่งและเล่นกับเพื่อนวงเดิมอีกค่ะ

    note

    โดนอ.ทักว่าตอนเราเล่นเปียโนไม่หายใจเลย แบบว่ากลั้นหายใจฮึบ และนี่ไม่เคยสังเกตตัวเองเลยจริง ๆ ตอนแรกเหวอมาก แบบว่าเออ มีชีวิตอยู่มาได้ยังไงกันเนี่ย... 


    7.

    Chorus I
    การขับร้องประสานเสียง 1
    (คอรัส)

    ประเภท: วิชาเฉพาะ

    เรียนอะไร

    คอรัสหรือขับร้องประสานเสียงตัวแรกนี้ จะเริ่มจากการทำความรู้จักเครื่องร้อง (vocal) ก็คือเสียงร้องของตัวเรานั่นเอง ในคาบจะแบ่งเป็นปฎิบัติ ก็คือเรียนรู้เทคนิคในกระบวนการเกิดเสียงร้อง จุดกำเนิดของเสียง กลไกของมันผ่านอวัยวะไหนในร่างกายเราบ้าง แต่ละที่มีหน้าที่ยังไง ฝึกการออกเสียง สระ รูปปาก การตั้ง placement ไปจนถึง process การทำงานกับ choral repertoire เทคนิคการอ่านเนื้อร้อง (text) ซึ่งจะเรียนผ่าน repertoire แต่ละเพลงไปพร้อมกันในคาบ ในช่วงแรก ๆ จะเป็น solfege สั้น ๆ เสียเยอะ แล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับความยาก & ความยาวของเพลงขึ้น (นิดเดียวเท่านั้น) อีกส่วนหนึ่งจะเป็นคล้าย ๆ กับเลคเชอร์แต่ไม่ซีเรียสนัก เหมือนฟังอ.เล่าเกี่ยวกับประวัติเพลงร้อง ซึ่งในเทอมนี้จะเน้นไปที่กลไกกำเนิดเสียงร้องและเพลงร้องศาสนา (sacred song) ก่อน จริง ๆ แล้วหัวข้อหลังแอบมีความลิงก์กับปวศ.ดนตรีพอตัวเลย พอได้เรียนอย่างละเอียดมาก่อนแล้ว ในคาบนี้มานั่งฟังเพลงฟังอาจารย์เล่าก็จะนึกภาพตามได้ง่ายขึ้น เนื้อหาที่เพิ่มมาค่อนข้างเยอะคือเกร็ดความรู้เกี่ยวกับศาสนจักร แต่ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าแน่นหรือหนักนะ

    ความยาก

    3.5/10 一 เป็นคาบที่สนุกมากกกกกกกกกกกกกกกก สวรรค์ประทานมาให้เป็นคาบคลายเครียดโดยแท้ นอกจากจะได้ร้องเพลง ( และปล่อยสิ่งที่อัดอั้นออกมา) คอรัสกลายเป็นคาบปล่อยมุกกันตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ไม่มีใครห้ามใคร ทั้งนศ.ทั้งอ.ยิงกันไม่หยุด จนอ.ก็อปต้องบอกให้พักรบเพื่อมาร้องกันสักที... 

    คะแนนส่วนใหญ่จะมาจากควิซ (สอบร้อง) กับ assignment ซึ่งก็คือการอัดวิดิโอเพลงที่เรียนในคาบมาส่งนั่นล่ะ ถ้าเป็นงานเดี่ยวก็สบายหน่อย (แต่ก็ต้องซ้อมร้องอยู่ดีนะ!) แต่ถ้าเป็นงานกลุ่มก็จะต้องคุยนัดกันมาซ้อมและอัดนิดนึง เพราะแต่ละคนต่างเครื่องกันไปก็จะมีตารางที่ไม่ยักจะตรงกันนัก ตอนจบแล้วอ.จะทำการเลือก repertoires ที่เรียนกันมา ว่าสุดท้ายแล้วจะเอาอะไรไปใส่ program หรือลิสต์เพลงที่จะขึ้นแสดง recital ตอนไฟนอล 

    แอบบอกว่าอย่าไปคาดหวังว่าเรียนดนตรีแล้วทุกคนจะร้องโน้ตตรง ร้องเพลงเพราะกันแต่แรกนะ เพราะงั้นเราถึงมาเรียนไงล่ะ พอมาเรียนแล้วก็จะเก็ตไอเดียว่า ถ้ามันเกิดอะไรขึ้นเราจะต้องปรับแก้จุดไหนอย่างไร ส่วนตัวชอบเป็นพิเศษที่อ.ชอบไปเอาเพลงพวก folk song จากหลาย ๆ ถิ่น/ภาษามาให้ร้อง ทำให้เราต้องดีลกับ text/กลิ่น/character ของเพลงที่ต่างกัน แต่ก็แอบมีความรู้สึกเสียดายน้อย ๆ ไม่ใช่ว่าเพลงมันง่ายเกินขนาดนั้น แต่นุก็แค่อยากลองร้อง choral repertoire แบบโปร ๆ ดูบ้าง (รุ่นพี่เล่ากันมาว่ารุ่นก่อน ๆ เขาร้อง ode to joy กันเลย อันนั้นก็โหดไป) แต่พอร้องสเตจไฟนอลจบความคิดนั้นก็อันตรธานหายไปทันทีค่ะ (เพราะแค่มันออกมาเป็นเพลงได้ก็เก่งกันมากแล้วล่ะพ่กเรา T T)

    note

    หนึ่งเรื่องดี ๆ ที่ทำให้อยากตื่นมาเรียนในเช้าวันจันทร์ทุกครั้งคือคาบคอรัสนี่เอง ขอบคุณอ.ก็อปที่ทนกับนักชงที่ปลอมตัวมาเป็นนักดนตรีอย่างพวกหนูมาได้เทอมนึงแล้ว อยากเจออ.ไปนาน ๆ เลยค่ะ U__U


    8.

    Concert Hours I
    ชั่วโมงการแสดง 1
    (แพรคทิสแล็บ)

    ประเภท: วิชาเฉพาะ

    เรียนอะไร

    ชั่วโมงการแสดงคือชั่วโมงที่เราจะได้ออกมา perform กัน โดยลงชื่อผู้แสดงไว้วีคละ 10 คน เราออกมาเล่น (ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงเมเจอร์ อาจเป็นเพลงเก่าที่เรียนมาก็ได้ แต่ให้มีความยาวในเงื่อนไขที่กำหนด) พอแสดงกันครบคนแล้ว ท้ายคาบคนที่มาดู ผู้แสดง และอาจารย์จะมาล้อมวงคุยกัน ดิสคัส ติชมการแสดงไล่ไปทีละคน หลังจากนั้นคนที่แสดงก็จะต้องกลับไปทำ reflection form เกี่ยวกับ คิดเห็นอย่างไรกับสิ่งที่ตัวเองเล่น ในการแสดงนี้รู้สึกว่าอะไรทำได้ดี อะไรรู้สึกว่าทำได้ไม่ดี อะไรคือจุดที่ท้าทาย อยากพัฒนาเพิ่มเติมจุดไหน เหมือนให้เราได้มองลึกลงไปในการแสดงของตัวเองมากขึ้น ได้โอกาสนั่งคิดทบทวน ในส่วนของผู้ชมจะมีเป็นเซ็ต 10 คนที่ขึ้นแสดงไปเมื่อวีคก่อนหน้า จะต้องทำฟอร์มเช่นกัน แต่เป็นฟอร์มที่เขียนวิจารณ์การแสดงของคนที่แสดงไปในวีคนี้รายคน เช่นว่าประทับใจอะไรในการแสดงนี้ อยากให้ปรับปรุงอะไร ประมาณนี้ค่ะ

    ความยาก

    3/10 一 ในมุมของผู้แสดง รู้สึกถึง music performance anxiety มันมีอยู่จริงและรับรู้ได้จริง ๆ นะ5555
    ทั้งที่บรรยากาศมันเฟรนด์ลี่กว่าตอนสอบหรือเล่นในฮอลล์มาก ๆ เลย แถมคนที่มานั่งดูก็ยังมีเพื่อนเนียนอยู่ในนั้น (เยอะ) ด้วยแท้ ๆ แต่อาการสั่นหงึก ๆ คุมมือไม่ค่อยจะได้ก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี พอเป็นอย่างนี้เลยคอนโทรลทุกอย่างไม่ได้ดั่งใจเท่าไหร่ แต่คำว่า the show must go on อะเนาะ พอเล่นไปจนจบแล้วมาดูใน recording ที่บันทึกไว้ ยังได้ยินไดนามิกดัง-เบา phrasing ที่ทำมา และ mood เพลงที่ยังมีเป็นซากอารยธรรมก็อุ่นใจขึ้นบ้าง ไม่แย่เท่าที่คิดค่ะ

    ในมุมของผู้ฟัง ใช้ความพยายามในการเปิดหูค่อนข้างมากเลย เพราะนิสัยส่วนตัวที่ไม่ค่อยได้ฟัง recording ของเครื่องอื่นด้วยล่ะค่ะ (ไม่ ดี นะ) เลยฟังไม่เป็น ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง (ฮือ Q-Q) พออ.ส่งบทมาให้ลองติชมต่อหน้าผู้แสดงในวงสนทนาก็จะแบบว่า แหะๆ แบบว่า แหะ ประมาณนี้ ...ค่ะ จะกลับไปฟังให้มากขึ้นค่ะนุสัญญา.. แต่พอเราเป็นผู้แสดงที่ได้ฟังคำติชมจากทั้งอ./รุ่นพี่/เพื่อนเครื่องเดียวกันและต่างเครื่องแล้วเนี่ย รู้สึกได้มองอะไรที่เป็นมุมกว้างขึ้น บางครั้งเป็นเรื่อง musical เรื่อง style ในแบบที่โดยปกติแล้วในคาบเรียนไม่ค่อยได้ยิน อันนี้เป็นเรื่องที่ดี ได้มองการแสดงในหลากหลายแง่มุมมากขึ้นจริงค่ะ

    note

    เพราะเป็นโอกาสที่จะได้เห็นรุ่นพี่และเพื่อน ๆ แสดงอย่างใกล้ชิด ก็เลยเข้ามันทุกคาบทุกวีค ขณะเดียวกันก็แอบนั่งลุ้นในช่วงล้อมวงสนทนามาก ๆ เพราะกลัวจะโดนเรียกให้พูด (แต่ก็ยังโผล่หน้าไปทุกทีล่ะ...)

    9.

    ASEAN Musical Identities
    อัตลักษณ์ดนตรีอาเซียน
    (อาเซียน)

    ประเภท: วิชาเลือก (มนุษย์ฯ)

    เรียนอะไร

    เป็นเลคเชอร์ว่าด้วยดนตรีประจำชาติแต่ละชาติในอาเซียนกับความเป็นมา แต่ละสัปดาห์หัวข้อก็จะเจาะลงไปในแต่ละประเทศ ซึ่งจะปูมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์และพัฒนาการด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรมมาก่อน ดนตรีสอดแทรกอยู่ในนั้นมาตลอด พูดกันตั้งแต่ดนตรีจากความเชื่อในอารยธรรมเฉพาะถิ่นและอารยธรรมร่วม ดนตรีในพิธีกรรม ดนตรีในราชสำนัก ดนตรีในบทบาทของสัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ รวมถึงดนตรีที่เข้ามากับการรับเอาวัฒนธรรมต่างชาติ/ชาติตะวันตกเข้ามาผ่านเหตุการณ์ที่สำคัญด้วย ได้รู้จักเครื่องดนตรีของแต่ละประเทศ กระบวนการทำ ฟังเสียงที่เกิดขึ้น ได้รู้จักประเภทบทเพลงและวัตถุประสงค์ของมัน ได้รู้จักศิลปินแต่ละท่านจากหลาย ๆ ประเทศ สิ่งที่เขาเคยทำมา ที่เขาเคยอุทิศไปกับตัวดนตรี หรือจะเป็นสิ่งที่เขากำลังทำ กำลังพยายามเก็บรักษามันเอาไว้ ทุกอย่างสอดคล้องไปกับบริบทสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางสัปดาห์จะมีเวิร์คช็อปเล็ก ๆ ให้ได้ทดลองเล่นเครื่องดนตรีไทยหรือชาติอื่น ๆ ด้วย 

    ความยาก

    4/10 一 ที่รู้สึกว่ายากคือตอนสอบข้อเขียน คำศัพท์ชื่อเรียกเครื่องดนตรี ประเภทบทเพลงในภาษาพม่า เวียดนาม มลายู ฯลฯ ทำให้ส่วนตัวสับสนมึนงงและจำได้น้อยนิด แต่ในคาบอ.อนันต์เล่าได้เพลินมาก ไม่มีสะดุด พาร์ทการเมืองคือสิบ สิบ สิบ ฟังไปก็ซี้ดปากไปกับเรื่องจริงที่แซะประเทศสมมุติแถวนี้ได้แบบหน้าชาแทน แต่อย่ามัวแซ่บจนลืมจับจุดคอนเซ็ปต์ของดนตรี เพราะมันจะไม่เหลืออะไรไปเขียน 5555555 

    ถือเป็นการปราณีมากที่คะแนนส่วนมากแล้วไม่ใช่พาร์ทเขียนแต่เป็นพาร์ทของรีไซทอล ใช่ค่ะนี่เป็นวิชาเลคเชอร์แต่ท้ายเทอมเราจะทำรีไซทอลกัน โดยแบ่งกลุ่มให้แต่ละกลุ่มเลือกเพลงแต่ละประเทศที่เรียนไป เอามาเรียบเรียง ฝึกซ้อม และนำมาจัดแสดงเป็นอาเซียนโชว์เคส (แอบกระซิบว่าไปหาดูได้ในแฟนเพจสถาบันและช่องยูทูป) รู้สึกว่าจะเป็นงานเพอร์ฟอร์มแบบกลุ่มจริงจังครั้งแรกของเทอม (ไหมนะ) และถึงจะมีเวลาเตรียมตัวน้อยแต่มันดีมาก สนุกมาก เพลงที่เราได้ฟังมาในคาบ สุดท้ายแล้วก็ได้มาเล่นจริง ๆ ด้วย รู้สึกว่ามันเจ๋ง (ยกความดีความชอบให้คุณ arranger เต็มที่) ตัววิชาก็ทำให้ได้รู้จักโลกมากขึ้นเยอะเลย (หนังสือเรียนปวศ.ของกระทรวงคือปาทิ้งไปซะ) 

    note

    สารภาพตามตรงว่าตอนแรกไม่ได้คาดหวังเลย ด้วยวิชาอาเซียนศึกษาที่เจอมาในโรงเรียนมันแบ่บ... นั่นแหละ เป็นที่รู้กัน แต่พอมาเจอคลาสนี้กลายเป็นแอบลังเลว่าจะลง world music ต่อไปเลยดีไหม


    10.

    Foundation English I
    ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1
    (อิ้งพื้น)

    ประเภท: วิชาเลือก (ภาษา)

    เรียนอะไร

    นั่นสิ เรียนอะไร55555555 มันคืออิ้งแบบเบสิค เบสิคจริง ๆ โฟกัสไปที่แกรมม่าเป็นหลัก เรียนย้อนความไปตั้งแต่ Present Tense เลยทีเดียว มี reading เข้ามาปนแบบเร้ก ๆ น้อย ๆ น่ารักตะมุตะมิ

    ความยาก

    1.5/10 一 ก็ตามที่เขียนไปข้างบน เรียนแกรมม่าผ่านหนังสือเป็นหลัก สไตล์ประมาณทำแบบฝึกหัดไปด้วยกันและเฉลยตอนนั้นเลยในห้อง สิ่งที่ยากที่สุดแล้วคือ weekly assignment เป็นเอสเส 50 คำ... เรทคะแนนจากความรู้สึกของเราเลยไม่สามารถเกินไปจากนี้ได้ค่ะ คนที่มีพื้นฐานแกรมม่าอยู่แล้ว คุณจะสามารถผ่านมันไปได้สบาย ๆ แต่สิ่งที่ยากคือจะทำยังไงให้บังคับตัวเองให้มาเรียนและรับผิดชอบต่องาน เพราะคุณจะมีความรู้สึกที่ต้องขนเอเนอร์จี้มาฮึบตัวเอง (มาก ๆ ) ส่วนคนที่อิ้งอาจจะยังไม่แข็งแรง เรามองไม่ออกเลยว่าการสอนแบบนี้จะสามารถทำให้พวกคุณเก็ตได้ยังไง มันไม่ใช่ความผิดของคุณนะ อาจจะแอบอคตินิดนึง แต่ไม่สามารถคลิกกับอ.ได้จริง ๆ ;-; (เราว่าอิ้งตัวเองพอได้แต่ก็ยังมีฟีลอิหยังวะอยู่ตลอด ๆ ) อยู่ภายในใจเป็นหมื่นล้านคำแต่ขอจบการบ่นไว้ตรงนี้จะดีกว่าค่ะ

    note

    ไม่อิน... ไม่อินแบบไม่อินเลย เป็นวิชาที่วันนาครายตั้งแต่เที่ยงวันศุกร์ (เพราะเรียนบ่าย) อยู่ไม่สุขทั้งสองชั่วโมงและถามตัวเองตลอดว่าฉันมาทำอะไรที่นี่ เป็นวิชาที่ง่ายที่สุดแต่ทรมาณที่สุดโดยแท้



    รีวิววิชาจบกันไปแล้วแต่เรายังไม่หยุด ไม่เจ้มจ้นเราไม่นอน (นี่ยังไม่เจ้มอีกเหรือ) มาแอบส่องกิจกรรมกันบ้างดีกว่าค่ะว่าอยู่ที่นี่เทอมแรกได้ทำอะไรบ้าง (เกริ่นก่อนว่านี่เป็น ver. โควิด ในสถานการณ์ปกติกิจฯจะเยอะและหลากหลายกว่านี้ T T )
     
    ヽ(o`Д´o)ノ

    1. ปรับพื้นฐาน + รับน้อง (?)

    ปรับพฐ.กินเวลา 2 สัปดาห์ มี Test ก่อนและหลังเรียน เริ่มต้นด้วยปวศ.ดนตรีในตอนเช้าอันสดใส แบบที่เรียนทุกยุคสมัยใน 4 คาบ (2 คาบ/วีค) เขียนมือหงิกมาก สมองประมวลไม่ทัน เรียนแล้วแทบสบถออกมาเป็นชื่อ Lully! Monteverdi! ต่อด้วยวิชาทฤษฎีดนตรีและโสตทักษะ จำนวนคาบเท่า ๆ กัน ในเนื้อหาที่คล้ายกับข้อสอบตอนสอบเข้า (ตอนเรียนจริง ๆ จะไม่ได้มาปูเรื่องพวกนี้แล้ว) คาบที่เอนจอยที่สุดคืออิ้ง conver ที่อ.แจ็คมาสอนและมันสนุกมากกกกกกกกกก ทำให้มีความหวังถึงอนาคต (ตอนนั้นคิดว่าเปิดเทอมมาจะได้เรียนแบบนี้..) แต่ปรากฏว่าคุณหลอกดาว! QAQ 

    ประโยค 'เรียนดนตรีใครว่าสบาย' ที่จั่วหัวรีวิวนี้ผุดขึ้นมาในหัวตั้งแต่ตอนนั้น คือเห็นเค้าลางอีก 3 ปีข้างหน้าพาดผ่านแวบบบ ขนลุกไปหมด ทำให้ย้อนไปนึกถึงคำของญาติผู้ใหญ่ที่ต่างจังหวัดพูดไว้ว่า 'เรียนดนตรีสบายจะตาย จบไปเป็นนักร้อง (ว้อท)' ดิฉันที่ผ่านการปรับพฐ.มาแล้ว 1 วีคมีความตั้งใจแน่วแน่ว่าใครบอกว่าเรียนสบายจะเดินไปบิดหูทุกครั้งที่ได้ยินคนพูดอีก มาสิมาลองเรียนดู! ขออภัยที่เคยแอบเก้วกาดในใจไว้กงนี้ด้วย

    กิจกรรมอื่นอย่างรับน้องจะอยู่ในช่วงเวลา 2 วีคนี้ด้วย เดิมทีจะมีกิจกรรมนันทนาการสนุก ๆ (แบบรันนิ่งแมนโมเดล) ที่พี่ ๆ ทุกชั้นปีมาร่วมอำนวยความสนุกด้วย และมีกิจกรรมที่ได้ลงไปทำร่วมกับชุมชนรอบข้าง ซึ่งส่วนนี้เราเองไม่สามารถสปอยได้มากกว่านี้แล้วเพราะตัวเองก็ได้ยินมาไม่ได้สัมผัสแต่อย่างใด เพราะเจ้าโควิดเลยทำให้เหลือแต่กิจกรรมพี่รหัสน้องรหัสค่ะ (แป่ว...) แต่สิ่งที่สัมผัสได้ในช่วงนี้คือเพื่อน ๆ สนิทกันเร็วมาก ความที่รุ่นเรามีแค่เกือบ 30 คน วีคเดียวก็ขึ้นมึงกูกันเหมือนสนิทกันมาตั้งแต่ชาติปางก่อนก็ไม่ปาน ก็ตรงตามที่พี่ ๆ บอกไว้ว่าอยู่กันแบบครอบครัวเล็ก ๆ นั่นล่ะค่ะ (ครอบครัวเลือดข้นคนจาง ver. กดแย่งจองห้องซ้อมกันจะเป็นจะตาย5555)


    2. PGVIS - PGVIM International Symposium

    เป็นสัปดาห์โครงการพิเศษอันแรกที่จะเจอ จริง ๆ แล้วมันคือการประชุมวิชาการนานาชาติในหัวข้อพิเศษทางดนตรีที่กำหนดธีมต่างกันไปในแต่ละปีค่ะ จะมี keynote, panel discussion, workshop, performance จากวิทยากรนักดนตรีหลากหลายชาติและหลายสาขามาร่วมพูดคุยแชร์เรื่องราวกัน เสียงลือเสียงเล่าอ้างจากปีก่อน ๆ คือ มันเป็นงานสเกลใหญ่มาก มีการลงซุ้มอาหารไม่ซ้ำกัน (อันนี้น่าจะเป็นไฮไลต์หลัก--) แล้วก็จะมีโอกาสไปพูดคุยกับวิทยากรแบบตัวเป็น ๆ ได้ชม performance แบบสด ๆ เลย และเป็นช่วงเก็บชั่วโมงทุนของนศ. ทั้งงานฝ่ายเทคนิคเรื่องเสียงตั่งต่าง งานต้อนรับแขก ติดต่อประสานงาน บริการอำนวยความสะดวก วิ่งวุ่นกันแบบใช้งานคุ้มทั้งวีค ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นในปีเราแต่อย่างใด เพราะ 2020 เป็น ver. ที่อยู่ในแพลตฟอร์ม Zoom เป็นหลัก TwT ดังนั้นจึงหดเหลือแค่การ operate งานแบบออนไลน์ นั่งให้กำลังใจพี่ ๆ แปลซับแบบเรียลไทม์ (และการปั่นรีพอร์ตในตอนจบ ฮ่า..)

    (ปล. สนใจดูหัวข้อในปีที่ผ่าน ๆ มาลองแกล้ง ๆ กุเกิ้ลชื่อพีจีวีไอเอส PGVIS ได้นะต้ะ)


    3. Project Week 

    อีกหนึ่งสัปดาห์พิเศษที่จะมาพบกันหลังมิดเทอม เป็นสัปดาห์ที่ไม่มีการเรียนการสอนก็จริง แต่จะมีกิจกรรมต่าง ๆ มาให้เราลงรายชื่อ โดยที่แต่ละรอบก็จะมีช้อยส์ต่างกันค่ะ จะมีทั้งคอร์สที่เป็น academic จ๋า คอร์สแบบ improvisation (ดนตรีด้นสด) วิชาพิเศษที่ไม่มีในหลักสูตร (ex. ปฎิบัติดนตรีไทย) หรือจะเป็นโปรเจกต์ performance ระยะสั้น จำรายละเอียดไม่ได้แล้วว่ามีอะไรบ้าง เราลง Figure bass and Improvisation ไป ได้ลองเล่น harpsicord/ basso continuo ด้วย จำได้ว่าคนลงโปรเจกต์ Les Miserables กันเยอะมาก (ตอนหลังเราก็ไปลงคอรัสด้วยล่ะ) โดยที่ในตอนท้ายสัปดาห์ แต่ละโปรเจกต์ก็จะมา perform กัน บางอันก็เป็น presentation โดยรวมแล้วสนุกดีค่ะ ได้ทำอะไรที่ไม่เคยทำ เป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ดี


    4. Concerts, Showcases, and Recitals

    เพราะว่าหลาย ๆ วิชาจัดสอบโดยการจัดการแสดง ช่วงสอบเลยมี program ต่อคิวกันยาว ๆ เลยล่ะค่ะ ถ้าเป็นที่เอ่ยถึงไปแล้วในช่วงรีวิววิชาอย่างพวก Large Ensemble แบ่งย่อยเป็น String Ensemble Concert, Woodwind Ensemble Concert etc., Chamber Music Showcase, Asean Showcase เป็นต้น ยังมีรีไซทอลของพี่ ๆ ปี 4 ที่เกริ่นไปบ้างแล้วว่าเป็นเหมือนธีสิสจบก็เข้าชมได้ด้วยค่ะ

    นอกจากนี้ก็จะยังมีคอนเสิร์ตอื่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการบริการวิชาการที่ก็จัดกันอยู่เนือง ๆ เหมือนกัน ตอนที่รุ่นพี่บอกว่ามีคอนบ่อยมากก็ไม่ได้คิดว่าจะบ่อยขนาดนี้ ช่วงหลังมิดเทอมจะเป็นอะไรที่ชุกชุมมาก วีคละ 2 - 3 คอนได้เลย พอได้เห็นคอนเสิร์ตโซโล่ของอาจารย์แต่ละเอกแล้วมีไฟปั่นไฟนอลพลุ่งพล่านเลยค่ะ ส่วนสถานที่ก็จะมีทั้งจัดบนหอประชุมเล็กที่เรียกกันว่า woodbox แล้วก็ใน Concert Hall สำหรับงานสเกลใหญ่ สำหรับคนนอกคอยติดตามข่าวสารจองที่นั่งได้ทางเฟสบุ๊คแฟนเพจสถาบันเลย งานส่วนมากจัดฟรีไม่มีค่าเข้าชม ในช่วงที่สถานการณ์คลี่คลายและสามารถจัดแสดงได้เป็นปกติแล้วว่าง ๆ หากสนใจก็แวะมาได้นะคะ


     ヽ(o`Д´o)ノ



    Talk :


    เขียนมาตั้งยาวขนาดนี้แล้ว ความจริงคือจบไม่ลง จบท้ายยังไงดีนะ ใส่ทอล์กแล้วกัน /แปะมาแบบไม่คิด/


    ขอแอบบ่นว่าไม่ค่อยมีรีวิวและข้อมูลของคณะนี้ให้อ่านเลย (จริง ๆ คือคนที่เรียนเขาขยันซ้อมอยู่ มีแค่เธอที่อู้มาเขียนน่ะ แหะ) คือมันมีอะมีแหละ แต่สัดส่วนเทียบกับคณะอื่นแล้วน้อยมาก ๆ ยิ่งไม่ได้อยู่ในแวดวงนักดนตรีมาแต่แรกตอนหาข้อมูลจะเรียนต่อนี่จำความรู้สึกได้เลยค่ะ พอเรียนแล้วก็ตัดสินใจเลยว่าต้องเขียนนะ ถึงจะต้องเข็นตัวเองก็จะหาโอกาสเขียนให้ได้เลยค่ะ จริง ๆ ก็แอบเกร็งเพราะถ้าเป็นคนที่รู้จักหรือเรียนด้วยกันอยู่มาเจอก็คงจะรู้ทันทีแท้ ๆ 5555555555

    ไหน ๆ ก็มีพื้นที่ให้ได้เขียนแล้ว ขอฝากเป็นกระบอกเสียงเล๊กเล็กนะคะ การที่เด็กคนนึงอยากจะเลือกเรียนคณะที่สังคมไม่ได้ยกย่องเชิดชู ไม่ได้มีสวัสดิการ ไม่ได้มีหน้ามีตาเป็นที่นับถือใหญ่โต มันไม่ใช่ความผิดของเด็กหรือสาขาอาชีพนั้น ๆ นะ ค่านิยมที่เชปมาด้วยปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคมก้อนใหญ่เบ้อเริ่มที่กดทับอยู่ ซึ่งคนที่ร่วมกันสร้างมันขึ้นมาคือคนรุ่นที่พูดปาว ๆ ว่าคณะนี้มันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ต่างหากล่ะคือต้นตอ อยากบอกว่าถ้าสนใจจะเรียนอะไรก็ลองทำความรู้จักกับมันดูนะ อย่าไปกลัวหรือ rely on คำพูดของคนอื่นมากนักเลยค่ะ จริงอยู่ที่ไม่ใช่ทุกคนในสภาพสังคมแบบนี้ที่จะสามารถกำหนดชีวิตและอนาคตด้วยตัวของตัวเอง แต่ถ้ามันสามารถเป็นไปได้ แม้สักเสี้ยวนึงมันก็ยังดีนี่นะ ว่าไหมคะ

    อีกอย่างที่ขอเคลียร์ไว้เพื่อความสบายใจของเราเอง คือไม่ได้มาเขียนเพื่อขายของโปรโมทมหาลัยนะคะ ถึงจะเป็นรีวิวที่ให้อารมณ์หนักไปทางข้อดีมากกว่าข้อเสียก็เถอะค่ะ ไม่ได้ตั้งใจให้เป็นอย่างนั้น ทุกคนคงเข้าใจใช่ไหมคะว่าช่วงเวลาเริ่มแรกที่เพิ่งปรับตัว สายตาของคนเรามักจะมองข้ามข้อเสียนั้นไปเฉย ๆ อยู่มาแค่เทอมเดียวยังมองอะไรไม่ทะลุปรุโปร่งไปเสียขนาดนั้นหรอกค่ะ ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้บอกว่าเรียนที่นี่ดีทุกอย่างหรอกนะ! 

    (( อย่างนึงที่เห็นได้ชัดและน่าจะอยู่ในขอบเขตที่พูดได้คือปัญหาของภาษาอังกฤษ ที่เป็นการสื่อสารไม่ใช่ไวยากรณ์ เพราะสายงานนี้จะโลดแล่นอย่างสากลไม่ใช่แค่ฝีมืออย่างเดียว (ถ้าไม่เทพจริง ๆ แบบ 1 ใน 100 ใน 1000) ไม่ใช่แค่เรื่องของอนาคตข้างหน้า แม้แต่ตอนที่เรียนที่สถาบันเองก็จะเดินสวนและได้นั่งเรียนกับอาจารย์ต่างชาติอยู่ตลอด ๆ เลย (คาบเมเจอร์แล้ว1) นักศึกษาต้องพึ่งตัวเองใฝ่หาความรู้เอาเองด้วยก็จริง แต่มันก็แอบน่าเสียดายที่สถาบันเองก็เอื้อทั้งบุคลากรและคอนเนคชั่นมากมาย แต่วิชาภาษาในหลักสูตรไม่ได้ช่วยส่งเสริมตรงนี้เท่าไหร่ แอบหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้อยู่นะคะ ส่วนใครที่สนใจจะเรียนสายดนตรี ไม่ว่าจะอยากเข้าม.ไหนก็ตาม เตรียมฟิตภาษาอังกฤษไว้มีชัยไปกว่าครึ่งแน่นอนค่ะ!))




    จบได้ยัง จบสักทีเถอะ55555 ตอนที่กำลังอ่านก็นึกอย่างนี้อยู่ใช่ไหมล่ะคะ เอาเป็นว่าเขียนมาหมดก็อกแล้วสำหรับเทอมแรกที่ประเดิมมานี้ โพสต์ต่อไป (ที่จะมาเมื่อไหร่ไม่รู้...) คงเป็นรีวิวในเวอร์ชั่นออนไลน์ตลอดทั้งเทอมค่ะ (ออนไซต์ได้ 1 เดือนขอไม่นับ) ไม่ต้องสปอยก็ได้กลิ่นความซัฟเฟอร์ ความบ่นหงุง ความโหยหวนที่จะต้อง x2 เข้าไปแน่ ๆ ถ้าอยากอ่านล่ะก็ฝากติดตามด้วยนะคะ ไม่ช้าไม่เร็วหลังขุดตัวเองออกจากหลุมได้จะมาพบกันใหม่ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและอ่านมาจนถึงตรงนี้ ตรงไหนไม่โอเค อยากจะแนะนำติชม มาพูดคุยกันในคอมเม้นต์ได้ ไว้เจอกันใหม่โพสต์หน้า บ๊ายบายค่ะทุกคน




     ヽ(o`Д´o)ノ
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Siraphop Lertcharoen (@fb1619926835101)
โอ้โห ถึงจะยาวแต่อ่านเพลินมากเลยครับ 5555 พอดีส่วนตัวผมก็กำลังสนใจในการศึกษาต่อที่กัลยาฯ อยู่พอดีเลยครับ แล้วผมก็เป็นเอกเปียโนเหมือนกันด้วย ตอนนี้กำลังจะขึ้น ม.6 เลยยังเหลือเวลาเตรียมตัว ส่วนตัวเลยอยากฟังเรื่องการสอบเข้าของพี่ครับว่าเป็นยังไงบ้าง เล่นเพลงอะไรบ้าง พี่ติดรอบที่เท่าไหร่
Aksarapaka Pak (@fb1534340520275)
?
***
PGVIS สนุกมากค่ะ เราเป็นเด็กม.3ที่ไปนั่งทำเวิร์คชอปกับพี่ ๆ แล้วฟังบรรยายควบคู่ไปกับการเรียนที่โรงเรียนด้วย อาจารย์และทุกคนที่เราเข้าไปฟังพูดรู้เรื่องกันหมดเลยนะคะ มีต่างชาติมาร่วมด้วย ส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษก็ฟังง่ายค่ะ ได้ความรู้มาเยอะเลย หลากหลายหัวข้อมีตั้งแต่voiceยันอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง (ส่วนใหญ่เราก็เซย์บายกับเครื่องเป่ากับดนตรีอาเซียนเพราะไม่ชอบ5555 )//ทีมเปียโน//